SHARE

คัดลอกแล้ว

เพลง ‘อีกไม่นาน นานแค่ไหน’ หลักคิด Pop Culture ใช้ศิลปะดนตรีสื่อสารการเมืองสู่คนรุ่นใหม่ได้เสพบทเพลงร่วมสมัย

เพลงใหม่ล่าสุดจาก จาก Getsunova ที่ได้นักร้องจากวง Three Man Down มาเสริมทัพเสียงร้อง รวมถึงนำธรรมเทศนาจาก พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ มาสอดแทรกไว้เพื่อตอกย้ำความหมายของเพลง

เพลงนี้ความยาว 3.17 นาที ที่มาพร้อมภาพกราฟิกประกอบมิวสิกวิดีโอ ซึ่งเจ้าของบทเพลงตั้งใจชวนให้คนฟังคนดูขบคิดเนื้อหาเพลงที่เกี่ยวข้องบริบทสังคมไทยปัจจุบัน ว่าเหตุการณ์บ้านเมือง ณ ตอนนี้ เป็นอย่างไร แล้วคนที่เข้ามาฟังเพลงรู้สึกอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะไฮไลท์สำคัญ ที่หยิบยกคำธรรมเทศนา จาก พส.ไพรวัลย์ มาวางไว้ในเนื้อเพลงด้วย แน่นอนว่าเจ้าของบทเพลงตั้งใจนำเสนอในรูปแบบที่แตกต่างจากวงการเพลงไทยปัจจุบัน

ผศ.วรวุฒิ อ่อนน่วม อาจารย์ประจำวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ถอดความหมายและตีความบทเพลงนี้กับ workpointTODAY ว่าวิธีการสื่อสารที่สอดแทรกบริบทสังคม การเมือง เข้าไปในบทเพลงโดยที่โดยการใช้ดนตรีและศิลปะสร้างสรรค์เพื่อสื่อสารเรื่องการเมืองให้กับคนรุ่นใหม่ได้เสพบทเพลงร่วมสมัย นับเป็นวิถีแบบ Popular Culture หรือ วัฒนธรรมมวลชน

ผศ.วรวุฒิ กล่าวว่า ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า วาทกรรมคืออะไร ถ้าเข้าใจคำว่าวาทกรรมจะสามารถเข้าใจภาพรวมเพลงนี้ได้ วาทกรรมในทางวิชาการ คือ “ชุดความคิด ค่านิยม เรื่องราววิธีคิดของผู้คนที่อยากเสนอผ่านการเขียนก็ได้ ผ่านบทเพลงก็ได้ อะไรที่เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมา ภาพวาด เพลง ตัวอักษร การพูด งานเขียน ล้วนแล้วแต่เรียกว่าวาทกรรม”

 

⚫️ เจ้าของบทเพลงตั้งใจใช้ความคลุมเครือสื่อสารผ่านบทเพลง ‘อีกไม่นาน นานแค่ไหน’

ผศ.วรวุฒิ กล่าวว่า เวลานักแต่งเพลงจะสร้างเพลงสักเพลงขึ้นมาได้ แม้ว่าจะเกิดจากจินตนาการหรือมาจากความรู้สึก นึกคิดใดๆ ก็ล้วนถูกหล่อหลอมจากบริบทแวดล้อมที่นักแต่งเพลงคนนั้นกำลังเผชิญอยู่ หรือเขาอาจจะมีอุดมการณ์ ความมุ่งมาดปรารถนาในการสื่อสารเพลงนั้นต่อผู้อื่นอย่างไร เมื่อนักแต่งเพลงสามารถนำเสนอความคิดของตัวเองได้อย่างเสรี แน่นอนว่าเพลงจะสะท้อนวาทกรรมหรือชุดความคิดใดๆ ออกมาก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเพลงรัก เพลงสามารถเป็นได้ทุกๆ อย่าง สามารถใช้เป็นสื่อการสอน สามารถเป็นอะไรก็ได้ หรือแม้แต่จะใช้เพื่อเป็นการโจมตี ใช้ลดทอนค่านิยมก็ได้ เพลงคือประดิษฐกรรมชนิดหนึ่งสามารถสื่อสารชุดความคิด กรอบความคิดผู้คน ปรากฏการณ์ทางสังคมหรือค่านิยมต่างๆ

⚫️ สื่อสาร การเมือง ผ่านบทเพลง

จะเห็นได้ว่าเพลงสามารถสอดแทรกเข้าไปได้ในทุกวงการแม้กระทั่งการเมือง หนึ่งในนั้นคือ การโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) ล้วนเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างค่านิยมให้ผู้คน ย้อนกลับไปในสมัยอดีต จอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็ใช้หลักการนี้สร้างบทเพลงสื่อสารกับประชาชนในประเทศ เชื่อว่าถ้าผู้คนเปิดฟังบ่อยๆ ก็คิดจะเห็นตามที่ถูกสื่อสารออกไป ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารยุคเก่า เชื่อมโยงมาถึงปัจจุบันก็พบว่า รัฐบาลในยุค พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็มีการแต่งเพลง 7 – 8 บทเพลง ยกตัวอย่างเพลงที่คนร้องตามได้ คืนความสุขให้ประชาชน ‘เราจะทำตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน’ ถือเป็นการโฆษณาชวนเชื่อ โดยมีคีย์เวิร์ดวาทกรรมซุกซ่อนอยู่ จึงถูกใช้ในการสร้างเพลงอิงการเมืองหลายต่อหลายบทเพลงมาก ทั้งตรงไปตรงมาและทางอ้อมเยอะแยะมากมายออกมา
ทีนี้ถ้าพูดถึงวงการเพลงคนรุ่นใหม่ในไทย ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จะเห็นวิธีการทำเพลงคนรุ่นใหม่ ทั้งการแรป ไรม์ โดยใช้หลักคิดแบบ Pop Culture ใช้ศิลปะดนตรีเพื่อสื่อสารเรื่องการเมืองให้กับคนรุ่นใหม่ได้เสพบทเพลงร่วมสมัย แต่ด้วยธีการสื่อสารแบบตรงไปตรงมา หรือ แข็งกร้าว บางบทเพลงก็ถูกดำเนินคดีจากรัฐบาล เช่นเพลง ‘ประเทศกูมี’และบทเพลงอื่นๆ อีกมากพอสมควร

 

⚫️องค์ประกอบภาพเชื่อมโยงบทเพลง วิธีคิดใหม่

ถ้าแยกองค์ประกอบภาพประกอบกับเนื้อหาออกจากกัน ดูแต่เนื้อเพลงก็เหมือนเป็นการพูดคุยกัน ของคน 2 คน ชาย – หญิง “ว่าอีกนานไหมกว่าเธอจะทำให้ทุกอย่างมันดีขึ้น เธอสัญญาเอาไว้แต่ทำไม่ได้”
แต่เมื่อดูภาพประกอบเนื้อเพลงที่จงใจสื่อสารสถานการณ์บ้านเมือง ด้วยองค์ประกอบเนื้อหากราฟิก มิหนำซ้ำยังมี พส.ไพรวัลย์ ที่สอดแทรกเข้ามาอย่างแนบเนียน ด้วยเทศนาธรรมท่อนนี้

“สภาพ…ทนเพื่ออะไร มนุษย์หน่ะมันเกิดมาเพื่อเป็นคน มันไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็นหิน เอ่อถ้ามันเป็นสภาพของหินคือมันแข็งแกร่งใช่มั้ย มันแข็งแกร่ง มันทนทาน อะไรที่ทนไม่ได้อย่าทน ทนเพื่อใคร โดยเฉพาะทนเพื่อคนอื่น อย่าทน เกิดมาไม่ได้เพื่อเป็นสิ่งที่มีไว้สำหรับสร้างความพอใจให้กับคนอื่น อย่าหาทำ”

นั่นหมายถึงเนื้อเพลงไม่ได้พูดถึงชายหญิงคุยกันแล้ว แต่ภาพบอกชี้นำไปสู่ว่าใครกันนะที่พูดเรื่องว่า ‘อีกไม่นานสัญญาแล้วทำไมไม่ทำ’ ล้วนเป็นลีลาและวิธีการสื่อสารอย่างมีศิลปะ คือการไม่ระบุชื่อคน การไม่ชี้นำจนชัดเจนเกินไป การใช้ความคลุมเครือในการสื่อสารประกอบร่างบทเพลงนี้ขึ้นมา ซึ่งต่างจากเพลงอื่นที่ตรงไปตรงมา

– ขณะเดียวกันในภาพกราฟิกแสดงให้เห็นว่ามีมนุษย์ยุคหิน ในความหมายที่ถูกตีความออกมาคือ เป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่จะมีความรุ่งเรือง มีอารยธรรม ความก้าวหน้าความเจริญ

– ภาพก้อนหินขนาดใหญ่ที่อยู่ตรงกลางที่เชื่อว่าน่าจะได้แรงบันดาลใจมาจาก สโตนเฮนจ์ มีการจัดองค์ประกอบของก้อนหินก้อนนั้นคล้ายคลึงอนุสาวรีย์แห่งหนึ่งในประเทศไทย ซึ่งในทางการรับรู้เชิงภาพ ถ้าคุณอยู่ในประเทศไทยหรือต่อให้คุณอยู่ในประเทศที่รู้จักประเทศไทย คุณก็จะเชื่อมโยงไม่ยากว่ามันคืออะไร แต่ก็ไม่มีอะไรที่กำกับความหมายอย่างชัดเจน ใช้การสื่อสารคลุมเครือเพื่อการอาศัยการตีความแบบมีส่วนร่วมของผู้ชม

– เมื่อเพลงมีวลี หรือ วาทกรรมของผู้นำประเทศมาปรากฎพร้อมภาพที่มีสัญญะทับซ้อนกันอยู่ทำให้ถูกเชื่อมโยงได้โดยอัตโนมัติว่า อนุสารวรีย์ดังกล่าวกับสโตนเฮจน์ คือสิ่งที่มหัศจรรย์ของโลกในยุคดั้งเดิมปรากฎขึ้น อนุสาวรีย์จึงเป็นเรื่องการเมืองและความเป็นยุคหิน ถูกสร้างขึ้นให้เติมเต็มคนดูว่าคืออะไร

– ส่วนภาพพื้นหลังสื่อถึง การเปลี่ยนผ่าน กาลเวลาผ่านไป ฤดูร้อนก็แล้ว ฤดูหนาวก็แล้ว วงล้อเวลาก็หมุนเร็วขึ้นเปรียบเปรยแม้วันเวลาและจักรวาลจะผ่านไปนานขนาดไหนก็ยังพบว่ายังคงอยู่ที่เดิม มนุษย์หินก็ยังอยู่เหมือนเดิม ทำกิจกรรมเดิม ๆ เลยทำให้คนดูเข้าใจและตีความได้อย่างไม่ยาก

ผศ.วรวุฒิ กล่าวทิ้งท้ายไว้อย่างน่าสนใจว่า บทเพลงและกราฟิกถูกสร้างสรรค์ออกมาได้น่าสนใจ ใช้สุนทรียภาพทางการสื่อสาร อาศัยการตีความเชื่อมโยงภายใต้ความคลุมเครือ สอดรับบริบทเหตุการณ์ได้อย่างพอดี เพื่อสื่อสารถึงผู้รับสาร คนที่จะเข้าใจต้องมีจุดร่วมบริบทเดียวกัน บางคนอาจจะไม่เข้าใจก็ได้ แม้แต่คำสอนของ พส.ไพรวัลย์ ก็เข้าใจได้เรื่องมนุษย์กับการพัฒนาตนเอง พัฒนาสังคม

ในสถานการณ์ปัจจุบันจึงเป็นช่วงเวลาที่การแสดงออกความคิดเห็นมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด การแสดงออกเชิงสร้างสรรค์ด้วยงานศิลป์หรืองานสื่อสารสร้างสรรค์ที่มีสุนทรียภาพอาจเป็นแนวทางที่น่าสนใจ เพราะการใช้ปัญญาย่อมดีกว่าการใช้อารมณ์เป็นอาวุธห้ำหั่นกันแน่นอน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า