SHARE

คัดลอกแล้ว

ไฟเซอร์เจรจาองค์กรสิทธิบัตรยาร่วม (MPP) เตรียมแจกสูตรยา ‘แพ็กซ์โลวิด’ ให้ประเทศต่างๆ ผลิตเอง หวังช่วยประเทศยากจนสามารถเข้าถึงยาได้อย่างเท่าเทียม

วันที่ 6 พ.ย. 2564 องค์กรสิทธิบัตรยาร่วม (MPP) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์การสหประชาชาติ (UN) เปิดเผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า บริษัทไฟเซอร์ อิงค์ กำลังอยู่ระหว่างเจรจากับ MPP เกี่ยวกับการมอบสิทธิ์การผลิตยา ‘แพ็กซ์โลวิด’ (Paxlovid) ซึ่งเป็นยารักษาโรคโควิด-19 ให้กับบริษัทมีคุณสมบัติเหมาะสมในประเทศต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มประเทศยากจนสามารถเข้าถึงยาดังกล่าวได้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาของ MPP

ไฟเซอร์เปิดเผยเมื่อวานนี้ (4 พ.ย.) ว่า ยารักษาโควิด-19 ชนิดรับประทานของบริษัท มีผลการทดลองบ่งชี้ว่า สามารถการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงได้ถึง 89% สูงกว่า ‘ยาโมลนูพิราเวียร์’ ของเมอร์ค ที่มีประสิทธิภาพ 50% พร้อมระบุว่าจะรีบดำเนินการส่งผลการทดลองนี้ให้กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) เพื่อขออนุมัติการใช้ยาดังกล่าวเป็นกรณีฉุกเฉินโดยเร็วที่สุด

ยาดังกล่าว ซึ่งมีชื่อว่า ‘แพกซ์โลวิด’ (Paxlovid) ทำการทดลองในอาสาสมัครจำนวน 1,219 คน  พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับยาของไฟเซอร์ภายใน 3 วันหลังมีอาการ มีจำนวนเพียง 0.8% ที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล และไม่มีผู้ใดเสียชีวิต โดยอัตราดังกล่าวใกล้เคียงกับผู้ที่ได้รับยาภายใน 5 วันหลังมีอาการ ขณะที่ผู้ได้รับยาหลอกจำนวน 7% ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และบางคนเสียชีวิตในเวลาต่อมา

แอนนาลีซา แอนเดอร์สัน ผู้อำนวยการโครงการยารักษาโควิด-19 ของไฟเซอร์ กล่าวว่า .ผลการทดลองนี้เป็นข่าวที่มหัศจรรย์ที่สุด เรากำลังมองหาวิธีการที่จะมาป้องกันและรักษาแบบครบวงจร เรามีวัคซีน และตอนนี้เราก็มีโอกาสในการรักษาแล้ว” 

ด้านเดวิด โบลแวร์ นักวิทยาศาสตร์ด้านโรคติดเชื้อแห่งมหาวิทยาลัยมินนิโซตาระบุว่า “ผลลัพธ์ดังกล่าวค่อนข้างน่าประทับใจ ยาของไฟเซอร์มีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อให้ยาภายใน 3 วันหลังมีอาการ แต่ก็ยังมีประสิทธิภาพสูงอยู่เมื่อผู้ป่วยได้รับยาภายใน 5 วัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่ดีกว่าสำหรับการใช้งานในโลกจริง”

การเปิดเผยล่าสุดของไฟเซอร์นับเป็นอีกหนึ่งความหวังในการรักษาโรคโควิด-19 ด้วยยาเม็ดที่สามารถรับประทานเองที่บ้าน ซึ่งถูกมองว่าจะมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมวิกฤตการแพร่ระบาดทั่วโลก

ก่อนหน้านี้ เมอร์ค แอนด์ โค และ ริดจ์แบ็ก ไบโอเทราพิวติกส์ ได้ยื่นผลการทดลอง ‘โมลนูพิราเวียร์’ ยารักษาโควิด-19 ที่ทั้งสองบริษัทร่วมกันพัฒนา พบว่าสามารถลดความเสี่ยงจากการป่วยหนักหรือเสียชีวิตลงครึ่งหนึ่งในผู้ป่วยโควิดที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ อนุมัติใช้งานเป็นกรณีฉุกเฉิน

ขณะเดียวกัน เมอร์คยังได้ลงนามได้ลงนามข้อตกลงกับองค์การสิทธิบัตรยา (MPP) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้องค์การสหประชาชาติ (UN) เพื่อเปิดเผยสูตรการผลิตยาโมลนูพิราเวียร์ ให้แก่บริษัทยาใน 150 ประเทศรายได้ต่ำและรายได้ปานกลางทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกาและเอเชีย หลังจากที่หลายฝ่ายออกมาแสดงความกังวลว่า การประเทศร่ำรวยพากันสั่งจองยาจะทำให้ประเทศรายได้น้อยพลาดโอกาสในการเข้าถึงยา เช่นเดียวกับสถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้นกับวัคซีน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า