SHARE

คัดลอกแล้ว

องค์ประชุมครบ ที่ประชุมร่วมรัฐสภา รับหลักการ ร่างพ.ร.บ.การศึกษาฯ และ ร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ ที่ตกค้างมาจากสมัยประชุมที่แล้ว

วันที่ 9 พ.ย. 2564 ที่ประชุมร่วมรัฐสภา ลงมติรับหลักการร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการศึกษา 2 ฉบับคือ

  1. ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ….. ที่คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ ด้วยคะแนนเสียง 435 เสียง ไม่เห็นด้วย 30 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 1 เสียง พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน 49 คน แปรญัตติภายใน 15 วัน
  1. ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ…​ ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอ เห็นด้วย 532 เสียง ไม่เห็นด้วย 38 เสียง งดออกเสียง 2 ไม่ลงมติ 6 พร้อมตั้ง คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญฯ ขึ้นมาพิจารณาจำนวน 49 คน ใช้เวลาในการแปรญัตติ 15 วัน และนัดประชุมนัดแรก วันที่ 11 พ.ย. เวลา 14.00 น.

นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เสนอรายงานว่า ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวเป็นกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูป ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 54 ประกอบมาตรา 258 จ. ด้านการศึกษา (4) ให้รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่างๆ รวมถึงส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และจัดให้มีความร่วมมือระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนในการจัดการศึกษา โดยการสร้างโอกาสให้ผู้อยู่ในวัยเรียนให้เข้าถึงการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้อย่างทั่วถึง

สาระสำคัญของร่างกฎหมายดังกล่าว มีทั้งสิ้น 31 มาตรา และมีรายละเอียด อาทิ ให้ยกเลิก พ.ร.บ.ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551, กำหนดให้มีสถาบันพัฒนาหลักสูตรและการเรียนรู้,  เปลี่ยน สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้เป็น กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ, กำหนดให้ทุกจังหวัดนอกจากกทม.​จัดตั้งสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัด เพื่อกำกับ ดูแล และ สนับสนุน ของเจ้าหน้าที่ระดับต่างๆ และภาคีเครือข่าย ในการส่งเสริมและส่วนร่วมการเรียนรู้ ทั้งนี้ ได้กำหนดให้ข้าราชการและบุคลากรของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบฯ โอนย้ายเป็นกรมส่งเสริมการเรียนรู้ และให้เลขาธิการสำนักงานการศึกษานอกระบบฯ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า