SHARE

คัดลอกแล้ว

เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คนที่ 1 เป็นประธานเปิดงาน “20 ปี ภาคีสร้างสุข : นวัตกรรมความสุขที่ยั่งยืน” เพื่อสานพลังภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ สร้างนวัตกรรมใหม่ สำหรับเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม วิถีชีวิต และสภาพแวดล้อมไปสู่สังคมสุขภาพวะที่ยั่งยืนในทศวรรษถัดไป เนื่องในโอกาสที่ สสส. อยู่เคียงข้างคนไทยมานานถึง 20 ปี

ซึ่งงานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 – 10 พฤศจิกายน 2564 ในรูปแบบไฮบริดที่ผสมผสานการประชุมในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ https://20th.thaihealth.or.th สอดคล้องกับชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ด้วยแนวคิดการจัดประชุมที่ดีต่อสุขภาพ (Healthy Meeting)

ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรองประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คนที่ 1 กล่าวว่า รู้สึกภาคภูมิใจในภารกิจของสสส. และภาคีเครือข่ายที่ได้เดินหน้าปฎิบัติหน้าที่เพื่อสร้างเสริมสุขภาพของคนไทยมาตลอด 20 ปี จนเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติและได้รับรางวัลเนลสันแมนเดลล่าด้านการสร้างเสริมสุขภาพประจำปี 2564 ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งตัวชี้วัดสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าสสส. จะพาทุกภาคส่วนก้าวข้ามสถานการณ์วิกฤตสุขภาพอย่างโควิด – 19 ไปได้

“ผมอยากให้สสส. และภาคีเครือข่ายภาคภูมิใจ และเดินหน้าขับเคลื่อนอุดมการณ์ต่อไปอย่างเต็มภาคภูมิ เพื่อสร้างเสริมสุขภาพให้กับประชาชนคนไทยอย่างนี้ต่อไป”

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสสส. เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา สสส. ได้พัฒนาแนวทางการทำงานใหม่ในการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพในสังคมไทย ที่ไม่ใช่แค่การสนับสนุนเงินทุนเพียงอย่างเดียว แต่ทำไปพร้อมกับการสั่งสมองค์ความรู้และการเชื่อมโยงวิทยาการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับภาคีกว่า 20,000 ภาคี ในโอกาส 20 ปีนี้จึงได้จัดงาน 20 ปี ภาคีสร้างสุขขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงบทบาทที่หลากหลายของทุกภาคส่วนในภาคีที่ได้สานพลัง สร้างทางออกใหม่ให้ปัญหาด้านระบบสุขภาพของประเทศไทย

ที่ผ่านมาสสส. ได้เรียนรู้จากบทเรียนที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากและได้สังเคราะห์บทเรียนเหล่านั้นออกมาในรูปแบบแผนการสร้างสุขภาพดีสี่มิติ (7 + 1) สำหรับ 10 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นทั้งเรื่องที่ต่อเนื่องมาและโจทย์ใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น อาทิ การควบคุมยาสูบ การควบคุมสุราและสิ่งเสพติด อาหารและสุขภาวะ กิจกรรมทางกาย ความปลอดภัยทางถนน สุขภาพจิต มลพิษจากสิ่งแวดล้อม และการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ โดยใช้เครื่องมือใหม่อย่างห่วงโซ่ผลลัพธ์ (Chain of Outcome: CoO)  คือมองย้อนกลับว่าพฤติกรรมสุขภาพดีสี่มิตินั้นมีอะไรเป็นตัวกำหนด ปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อตัวกำหนดนั้น และมาตรการในการสร้างเสริมสุขภาพใดที่ต้องขับเคลื่อนให้เกิดขึ้น ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและภาคี ผ่านสถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ (Thaihealth Academy) และกลไกการสนับสนุนรูปแบบใหม่ เช่น การสนับสนุนทุนร่วม (Co-investment) เพื่อให้เกิดกองทุนใหม่ เดินหน้าโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล เพื่อนำมาใช้กับสร้างสังคมสุขภาวะ เป็นต้น

“งานของเราไม่ใช่การบำบัดทุกข์แค่ชั่วขณะหรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อมที่จะทำให้สุขภาพของผู้คนในวงกว้างดีขึ้น ในรูปแบบการทำงานเชิงรุก กล่าวคือวิเคราะห์ปัญหาที่ต้องเผชิญ รวบรวมพลังภาคีหานวัตกรรมใหม่ และสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนตั้งแต่ต้นน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพ เพื่อสร้างโลกที่ดีกว่าให้กับลูกหลานของเราในอนาคต”

ด้านพญ.พูนาม เคตราปาล ซิงห์ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก (WHO – SEARO) แสดงความยินดีกับ สสส. ในโอกาสครบรอบ 20 ปีและการได้รับรางวัลเนลสันแมนเดลล่าว่า เป็นสิ่งที่สมควรได้รับเป็นอย่างยิ่ง เพราะผลงานตลอด 20 ปีที่ผ่านมาได้พิสูจน์แล้วว่ากระบวนการสร้างเสริมสุขภาพในประเทศไทยที่ผลักดันโดยสสส. และภาคีเครือข่ายนั้นเป็นต้นแบบที่โดดเด่นของภูมิภาค โดยเฉพาะการสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของทุกภาคส่วนในสังคม ซึ่งนับเป็นหัวใจสำคัญในการจัดการกับความท้าทายด้านสุขภาพของโลกยุคปัจจุบัน ทั้งเรื่องการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและการตอบสนองต่อสถานการณ์โควิด – 19 โดยแนวทางนี้สามารถนำไปสู่การยกระดับผลลัพธ์ทางสุขภาพของประชาชน ตลอดจนบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ได้

ทั้งนี้ ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย อาทิ การเสวนาเรื่อง งานสร้างเสริมสุขภาพยุคใหม่” จากผู้ทรงคุณวุฒิของสสส. ใจความว่า ในอดีตประเทศไทยต้องจำยอมให้มีบุหรี่นอกเข้ามาวางขายในประเทศ แต่ก็ได้สร้างกลไกขึ้นมาต่อสู้กับเรื่องบุหรี่ได้สำเร็จในรูปแบบของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับยาสูบปี 2535 อย่างไรก็ตามหลังกฎหมายออกมาได้หนึ่งปีพบว่ากลไกกฎหมายยังทำงานได้ไม่เต็มที่ จำเป็นต้องมีกลไกอื่นเข้ามาเสริม นั่นคือ ‘ระบบการคลังเพื่อสุขภาพ’ จึงทำให้เกิด สสส. ขึ้นในปี 2544

สสส. เกิดมาจากสามรากฐานความคิด ได้แก่ 1. นิยามขององค์การอนามัยอนามัยโลกที่กล่าวว่า สุขภาพหมายถึงการมีสุขภาวะสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม 2. การนำภาษีบาปมาสร้างสุขภาพตามหลักวิชาการ  และ 3. กฎบัตรออตตาวา ที่มุ่งเน้นการสร้างระบบนิเวศเพื่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพ โดยมีหน้าที่สร้างเสริมสุขภาพคนไทยแบบเชิงรุก ทั้งจุดประกาย ชี้แนะ ผลักดันนโยบายสาธารณะ และสนับสนุนหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้สุขภาพคนไทย

การเสวนาเรื่อง ภาพอนาคตการสร้างเสริมสุขภาพของไทย” โดยดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า เมกะเทรนด์และนวัตกรรมเปลี่ยนโลกที่จะส่งผลต่อสุขภาพของคนไทย และเป็นความท้าทายของสสส. ในอนาคต ได้แก่ 1. สังคมอายุยืน ที่คนไทยอายุเฉลี่ย 75 ปีขึ้นไป โดยผู้สูงอายุจะมีสุขภาพดีขึ้น แต่มีโรคไม่ติดต่อเพิ่มขึ้น เพราะมีพฤติกรรมหลายอย่างที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพ จำเป็นต้องมีการช่วยปรับโครงสร้างพื้นฐานให้เอื้ออำนวยมากขึ้น 2. การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่มีความแปรปรวน ดังนั้นควรปรับเมืองรองรับเพื่อโลกร้อน เช่น เพิ่มสัดส่วนพื้นที่สีเขียวในเมืองใหญ่ 3. นวัตกรรมเปลี่ยนโลก เพราะโลกยุคใหม่หลังโควิดจะมีเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าเปลี่ยนโลกเพิ่มขึ้น เช่น AI วินิจฉัยทางการแพทย์ IOT ดูแลสุขภาพ Telemedicine Smart Watch Big Data Analysis เป็นต้น ควรนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การนำเสนอภารกิจ 20 ปี เปลี่ยนประเทศไทยสู่สังคมสุขภาวะ เช่น การผลักดันนโยบายและการขยายสภาพแวดล้อมปลอดบุหรี่ การปรับเปลี่ยนค่านิยม ประเพณี วัฒนธรรมไร้แอลกอฮอล์ การสร้างความปลอดภัยทางถนน จุดกระแสกิจกรรมทางกาย สนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็งเพื่อจัดการปัญหาสุขภาพด้วยตนเอง เป็นต้น

การประกาศปฏิญญา สร้างเสริมสุขภาวะ ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ ประชาชนมีสุขภาพวะที่ดี โดยมิได้ทิ้งใครไว้ข้างหลังจากภาคีเครือข่ายทั่วประเทศไทย

รวมถึงกิจกรรม Active Learning ผ่านนิทรรศการแสดงผลงานนวัตกรรมสุขภาพ ทั้งในสถานที่จริงและในรูปแบบนิทรรศการเสมือน เช่น โต๊ะยืนประชุม เครื่องวัดความเค็ม เสาหลักนำทางจากยางพารา อุปกรณ์รองนั่งสำหรับขับถ่าย ผลิตภัณฑ์ลูกอมสมุนไพรหญ้าหมอน้อยที่มีสรรพคุณช่วยลดการสูบบุหรี่ ฉลากทางเลือกสุขภาพ กิจกรรมเล่นตามวัย ฯลฯ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า