Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของผู้คนมากขึ้น สถิติจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) เผยว่า หลายปีที่ผ่านมาคนไทยมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะในปี 2563 ตัวเลขการใช้งานอินเทอเน็ตของคนไทยเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 11 ชั่วโมง 25 นาที นี่จึงเป็นสัญญาณว่าเรากำลังเข้าสู่สังคมดิจิทัลอย่างเต็มตัว

แต่การเป็นสังคมดิจิทัลที่มีคุณภาพยังจำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจของผู้คน เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของกลุ่มผู้ไม่หวังดีที่พยายามจะใช้ช่องว่างทางความรู้มาหลอกลวง คุกคาม และสร้างความไม่ปลอดภัยทั้งทางข้อมูลส่วนตัวและทรัพย์​สิน

โดยเฉพาะในภาวะที่มีคนใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น โอกาสที่จะเกิดความเสียหายจากการโจรกรรมออนไลน์ก็ยิ่งสูง ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตควร มีสติ และรู้เท่าทันกลโกงที่มักจะมาในรูปแบบของ SMS, Email และช่องทาง Social Media ต่าง ๆ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดจากภัยออนไลน์ทางไซเบอร์

ช่วงปีพ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา ด้วยปัจจัยจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้สถิติการโจมตีทางไซเบอร์มีตัวเลขเพิ่มขึ้น เพราะการหันมาทำกิจกรรมทางอินเทอเน็ตเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการเรียน ทำงาน หรือซื้อขายสินค้า ถูกยกมาทำบนพื้นที่ออนไลน์ทั้งหมด นับเป็นการเปิดโอกาสให้อาชญากรบุกเข้าโจมตีได้ในหลากหลายรูปแบบ ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ได้นำเสนอ 3 ประเภทของภัยไซเบอร์ ที่คนไทยตกเป็นเหยื่อมากที่สุด ได้แก่

การใช้เหยื่อล่อ หรือ Phishing

ไม่ว่าจะเป็น SMS ปลอม Email ปลอม เว็บไซต์ปลอม แม้กระทั่งแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่พยายามสร้างสถานการณ์ให้เหยื่อตกใจ หรือเข้าใจผิดว่าได้รับผลประโยชน์บางอย่าง ก่อนหลอกให้กรอกหรือบอกข้อมูลสำคัญ หรือเปิดไฟล์แนบที่มีโปรแกรมไม่ประสงค์ดี ที่นำไปสู่ความเสียหาย เช่น นำชื่อบัญชีและรหัสผ่านไปล็อกอินระบบของธนาคารและโอนเงินออกจากบัญชี หรือใช้ข้อมูลส่วนตัวเพื่อสวมรอยไปหลอกลวงผู้อื่นต่อ นี่คืออาชญากรรมออนไลน์ที่เราตกเป็นเหยื่อได้ง่ายที่สุด

เหล่าผู้ใช้อินเทอเน็ตพึงตระหนักไว้เลยว่าหากได้รับ SMS หรือ Email ต้องสงสัย บอกว่าคุณได้รับโชค หรือได้รับเงินแบบฟรี ๆ ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นของปลอม หมั่นสังเกตชื่อผู้ส่ง หากเป็นเบอร์แปลก ๆ ชื่อแปลก ๆ เนื้อหาพิมพ์ผิดพิมพ์ถูก และใช้ระดับภาษาที่ไม่เป็นมืออาชีพ ไม่ควรตอบกลับ คลิกลิงก์ หรือเข้าดูเอกสารใด ๆ ที่แนบมาทั้งนั้น

การหลอกลวงทางโลกโซเชียล

มิจฉาชีพมักแอบอ้าง หรือสวมรอยเป็นเหยื่อ เพื่อไปทำการทุจริต หรือหลวงลวงผู้อื่นผ่าน Chat ปลอม โดยอาศัยข้อมูลจากบทสนทนาหรือโพสต์ต่าง ๆ เป็นตัวช่วยในการสวมรอยหรือปลอมแปลงข้อมูล บุคคลที่ถูกสวมรอยอาจสูญเสียทั้งเงิน และตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิด ซึ่งนำมาสู่โทษทางกฎหมายได้

ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการขอให้โอนเงิน หรือขอข้อมูลใดๆ หากผู้ส่งมาเป็นเพื่อนหรือคนรู้จัก ควรติดต่อสอบถามโดยตรงผ่านช่องทางอื่น เพื่อยืนยันตัวตนเสียก่อน ทั้งหมดนี้เพื่อสวัสดิภาพของทรัพย์สินและข้อมูลสำคัญของท่าน

การขโมยข้อมูลส่วนบุคคล

ใครที่ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์บ่อย ๆ อาจเคยเห็นข่าวเว็บไซต์และบริการหลายแห่งถูกแฮกเกอร์ขโมยข้อมูล หรือมีการทำข้อมูลรั่วไหล ข้อมูลดังกล่าวอาจเป็นบัญชีผู้ใช้งาน รหัสผ่าน หรือข้อมูลบัตรเครดิต ที่มิจฉาชีพสามารถนำไปขาย หรือกระทำการใดโดยมิชอบ

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจึงควรสงวนข้อมูลสำคัญของตัวเอง ไม่ให้ข้อมูลสำคัญกับเว็บไซต์ใด ๆ โดยไม่จำเป็น อย่าลืมติดตามข่าวสารเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อติดตามว่าเว็บไซต์หรือบริการต่าง ๆ ที่เราใช้งานอยู่ หากพบว่าข้อมูลของเราถูกขโมยข้อมูลไป ควรรีบตัดสินใจป้องกันหรือลดความเสียหาย ด้วยการเปลี่ยนรหัสผ่าน หรือ อายัดบัตรเครดิตทันที

จะเห็นว่าการโจรกรรมเหล่านี้เป็นเรื่องใกล้ตัว และสามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจึงควรหมั่นสังเกต และศึกษาหาข้อมูลให้มาก เพราะเราได้เข้าสู่ยุคอินเทอร์เน็ตอย่างเต็มตัวแล้ว แต่หากสังเกตก็แล้ว ระแวดระวังเสียเต็มที่ แต่ก็ยังไม่วายเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพที่มีแต่จะหลอกได้เนียนขึ้นทุกวัน จงทำใจให้สงบ คว้าสติสุดท้ายไว้ให้มั่น แล้วรวบข้อมูลและหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไปแจ้งศูนย์ขอความช่วยเหลือของ Social Media หรือติดต่อหน่วยงาน/องค์กรที่ถูกแอบอ้าง เพื่อดำเนินการต่อไป

นอกจากภัยไซเบอร์จะเกิดขึ้นกับคนทั้วไปแล้ว ภัยไซเบอร์ที่คุกคามการดำเนินกิจการหรือธุรกิจต่างๆก็รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งองค์กรขนาดเล็ก ใหญ่ ต่างก็มีความเสี่ยงเหมือนกัน ล่าสุดธนาคารกสิกรไทยได้จัดทำแคมเปญสติ เพื่อ #ใช้สติป้องกันสตางค์ เชิญชวนประชาชนทั่วไปรวมถึงหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ร่วมสร้างสังคมไซเบอร์ที่ปลอดภัย ด้วยความรู้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยไซเบอร์ โดยธนาคารยินดีให้หน่วยงานที่สนใจนำเนื้อหาและคลิปวิดีโอแคมเปญ ไปเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ต่อไป ไม่ตกเป็นเหยื่อภัยกลโกงต่าง ๆ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย  ถือเป็นความร่วมมือกันเพื่อประโยชน์ของสังคม รายละเอียดเพิ่มเติมของแคมเปญ คลิก https://kbank.co/3CSTpOa  ลิงก์หนังโฆษณาสติ https://youtu.be/OJ3aqaprFjA

และหากพบภัยไซเบอร์ที่เกี่ยวกับธนาคารกสิกรไทย ติดต่อแจ้งข้อมูลได้ที่ KBank Live ผ่าน Line หรือ Facebook Messenger หรือแจ้งทางอีเมล [email protected] หรือติดต่อ K-Contact Center ได้ที่ 02-888-8888

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า