Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘ธนาธร’ ชี้ ทรัพย์ดิจิทัล-crypto คืออนาคต – แนะรัฐทำโครงการนำร่องศึกษาก่อนออกกฎคุม ขณะที่ ‘คุณหญิงสุดารัตน์’ เชื่อ Digital Asset เป็นโอกาสของคนตัวเล็ก 

วันที่ 27 พ.ย. 2564 วงเสวนา “โอกาสของประเทศไทยในสังเวียน Digital Asset” ภายในงาน Blockchain Thailand Genesis 2021 : The era of Metaverse and Digital Asset จัดโดยกลุ่ม Blockchain Thailand พูดคุยถึงโอกาส อุปสรรค และความท้าทายที่ประเทศไทยกำลังเผชิญจากการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีทางการเงินสมัยใหม่ อย่างสินทรัพย์ดิจิทัลและสกุลเงิน crypto โดยมี นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานพรรคไทยสร้างไทย ร่วมเสวนา

นายธนาธร กล่าวว่า เรากำลังอยู่ในยุคที่น่าตื่นเต้นทางเทคโนโลยี ซึ่งแน่นอนเราไม่รู้ว่าในอนาคตมันจะพาเราไปถึงจุดไหน แต่เรารู้ว่ามันมีศักยภาพที่อาจจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานของการเงินการธนาคาร และการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของเราได้ นวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งนี้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ในสมัยหนึ่ง เหรียญ ธนบัตร หรือตู้กดเอทีเอ็มก็เคยเป็นนวัตกรรมทางการเงิน แต่ทั้งหมดล้วนสร้างอยู่บนโครงสร้างและระบบธนาคารเดิม แต่กรณีการเกิดขึ้นของ metaverse ไม่ได้ตั้งอยู่บนระบบการเงินเดิม การซื้อขายกันด้วยระบบเหรียญที่เป็นคริปโต ที่ไม่เกี่ยวข้องกับระบบธนาคารเลย แต่เป็นระบบการเงินในโลกเสมือนที่กำลังจะย้อนกลับเข้ามาในโลกชีวิตจริงมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น มันอาจจะมีมันมีศักยภาพที่จะ disrupt โครงสร้างพื้นฐานเดิมของการเงินทั้งในระดับชาติและในระดับโลกด้วย

อย่างไรก็ตาม เมื่อมาดูที่บทบาทของภาครัฐ จะเห็นว่า เต็มไปด้วยความพยายามเข้าไปกำกับดูแลหรือตั้งกฎควบคุมอย่างเข้มงวด ซึ่งมองว่าในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ หากเราไปตั้งกฎควบคุมอย่างเข้มงวด รวมถึงตั้งใจจะรีดภาษีจากธุรกิจนี้ตั้งแต่วันนี้ ธุรกิจนี้จะไม่เติบโตไปไหน แล้วเราจะตามหลังในการพัฒนาเทคโนโลยี ไม่ทันโลกและประเทศเพื่อนบ้าน คิดว่าบทบาทของภาครัฐควรต้องมีสมดุล แม้ตนจะเข้าใจภาครัฐในแง่หนึ่ง ว่าต้องการปกป้องนักลงทุนที่จะโดนโกงจากมิจฉาชีพ หรือการผิดนัดชำระเงินในระบบ แต่วิธีก็คือรัฐต้องไปจับโจร หรือการส่งเสริมระบบป้องกัน เช่น การสนับสนุนให้เอกชนออก crypto insurance ไม่ใช่การไปปิดตลาด

นอกจากนี้ สิ่งที่รัฐควรที่จะทำ คือการสนับสนุนอุตสาหกรรมให้ไปรอดได้ สิ่งหนึ่งที่จะทำให้เกิดได้จริง คือการทำให้สินทรัพย์ที่อยู่ในโลกเสมือน ค่อยๆ แทรกซึมเข้ามาใช้ในโลกแห่งความเป็นจริงได้ ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมเติบโตได้อย่างรวดเร็วและมั่นคงมากขึ้น เช่น การจ่ายภาษีด้วย cryptocurrency จูงใจให้คนจ่ายภาษีด้วย crypto ด้วยการลดหย่อยภาษี โดยเริ่มจากภาษีตัวเล็กที่ไม่มีผลกระทบมากก่อน หรือการจ่ายค่าธรรมเนียมภาครัฐต่างๆ ด้วย cryptocurrency ทั้ง cryptocurrency ระดับโลกและที่ริเริ่มจากคนไทย นี่เป็นตัวอย่างของสิ่งที่ภาครัฐสามารถทำได้

อีกเรื่องที่คิดว่าภาครัฐต้องเร่งทำ ก็คือ ธนาคารกลางสำหรับสกุลเงินดิจิทัล ทำออกมาเป็นโครงการนำร่อง ออก e-baht มาเป็นสกุลเงินใหม่ ซึ่งอ้างอิงกับเงินบาทไทย ขายไปให้ธนาคารพาณิชย์ แล้วให้ธนาคารพาณิชย์ขายต่อให้กับลูกค้า สร้างระบบขึ้นมาว่าใช้จ่ายอะไรได้บ้าง หลังจากนั้นก็ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค ศึกษาผลกระทบทางการเงิน และทางสังคม-เศรษฐกิจว่าเป็นอย่างไรบ้าง ครั้งแรกอาจจะเริ่มจากวงเงิน 100-200 ล้านบาท แล้วศึกษาระบบนิเวศของมัน ยิ่งศึกษาเร็วเท่าไหร่เราจะยิ่งออกกฎได้อย่างมีประสิทธิภาพมากเท่านั้น

“ไม่ใช่ออกกฎก่อนแล้วทำโครงการนำร่องทีหลัง ซึ่งโครงการนำร่องอย่างนี้ควรจะออกมาตั้งนานแล้ว ใช่อยู่ว่าคุณกำลังทำ แต่มันช้าไปแล้ว แถมยังออกกฎมาก่อนแล้วค่อยมาศึกษา สำหรับผมกระบวนการมันควรกลับกัน สิ่งที่ควรจะทำก่อนก็คือคุณต้องออกสกุลเงินดิจิทัลในจำนวนเล็ก ให้ใช้ในกิจกรรมที่มีวงจำกัดก่อน แล้วคุณค่อยเอาผลการศึกษามาดู” นายธนาธรกล่าว

นายธนาธร กล่าวด้วยว่า ก่อนมาออกรายการนี้ สิ่งหนึ่งที่สงสัยมาก คือเราสอนความรู้ด้านการเงินให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ของเราอย่างไรบ้าง จึงให้ทีมงานไปที่ศึกษาภัณฑ์ซื้อหนังสือเรียนชั้นมัธยมปลายมาดู ซึ่งเมื่อได้เปิดดูแล้ว พบว่า ทุกเล่มไม่มีสอนเรื่องที่เป็นพื้นฐานเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลงทุน-การออม จะเกษียณอย่างไรให้มีเงินเพียงพอใช้ จะลงทุนอย่างไร การออมมีกี่รูปแบบ ตลาดหุ้นคืออะไร ทรัพย์สินที่ลงทุนได้มีอะไรบ้าง ลงทุนในที่ดินผลตอบแทนเป็นอย่างไร กองทุนเป็นอย่างไร ตลาดหุ้นเป็นอย่างไร สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นอย่างไร  เนื้อหาอย่างมากที่สุด มีเพียงแต่การสอนในเรื่องของสหกรณ์ เศรษฐกิจพอเพียง ล้วนแต่ไม่ตอบโจทย์กับโลกใบใหม่ที่สินทรัพย์ดิจิทัลกำลังเติบโต

“เด็กควรได้เรียนเรื่องเงินฝาก ต้องคำนวณดอกเบี้ยได้ เช่น ปีหนึ่งฝากเงินกับธนาคาร ดอกเบี้ยคงที่ปีละ 5% ผ่านไปสามปีเงินจะกลายเป็นเท่าไหร่ อย่างนี้เป็นต้น เด็ก ๆ ต้องคิดเป็นว่าผลตอบแทนคืออะไร ซึ่งนี่คือ A Level ในต่างประเทศ ที่เขาสอนให้เด็กทุกคนต้องคิดเรื่องพวกนี้เป็น ซึ่งต่างกับสิ่งที่อยู่ในแบบเรียนของเมืองไทยโดยสิ้นเชิง ดังนั้น คุณจะพูดได้อย่างไรว่าคุณอยากจะสนับสนุนให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ของเราตามโลก ตามโลกาภิวัฒน์ได้ทัน ตราบใดที่การเรียนการสอนคุณยังล้าหลังแบบนี้หรือไม่” นายธนาธรกล่าว

ด้าน คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานพรรคไทยสร้างไทย แสดงวิสัยทัศน์ ในเวทีเสวนาเดียวกันนี้ว่า การเกิดขึ้น บล็อกเชน คลิปโต หรือดิจิทัลแอคเซส ด้วยเทคโนโลยี และ Features ที่เป็นประโยชน์ จึงได้รับความนิยมจากนักลงทุน ทั้งในส่วนของบุคคลและสถาบันต่างๆ ทั่วโลกมากยิ่งขึ้น จึงเติบโตแบบก้าวกระโดดืโดยเฉพาะมูลค่าการตลาด จึงมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินบนพื้นฐานของคลิปโตออกมาเป็นจำนวนมาก  และสวนทางกับ Sector อื่นๆ

แม้จะมีสถานการณ์ โควิด ทั้งในรูปแบบ ที่เป็น Application ของบล็อกเชน หรือตัวบล็อกเชนเอง เช่น NFT โตขึ้นกว่า 700% หรือ ระบบการเงินแบบไร้ศูนย์กลางหรือ DeFi ที่โตขึ้นถึง 88 เท่า หรือ Game fi หรือ meteverse ที่เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด ซึ่งจะเป็นโอกาสสำหรับประเทศไทย ทั้งรายเล็ก รายใหญ่ วันนี้ภาครัฐต้องเข้าใจเทคโนโลยีเหล่านี้ และวางกลยุทธให้ถูกต้อง ส่งเสริมให้เกิดโอกาสการใช้เทคโนโลยีกับประชาชน โดยเฉพาะคนตัวเล็ก

ส่วนการเกิดขึ้น พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล เห็นว่า การออกกฎหมาย ไม่ควรมองเพียงมุมเดียว โดยเฉพาะการกำกับควบคุม แต่ต้องเข้าใจพื้นฐานเทคโนโลยี และมองว่าการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีเหล่านี้คือ”โอกาส”ของคนตัวเล็ก ดังนั้นหากไปกำกับควบคุมเพียงด้านเดียว จะทำให้คนไทยเสียโอกาส เช่นบริษัท startup ต่างๆต้องไปจดทะเบียนในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นการเสียโอกาส ของผู้ประกอบการ SMEs หรือ Startup คนรุ่นใหม่ ที่จะสามารถใช้เทคโนโลยี ไประดมทุน และสร้างรายในต่างประเทศ

คุณหญิงสุดารัตน์ ยังเห็นว่า การจัดการเรื่องภาษี เป็นอุปสรรคของผู้ลงทุนรายบุคคล และตัวภาคธุรกิจเอง โดยเฉพาะความซ้ำซ้อนของภาษีต่างๆ เป็นที่มา ที่พรรคไทยสร้างไทย คิดว่า ต้องจัดการเรื่องระบบภาษีของ Digital Asset ด้วยการลดหย่อนได้หรือปรับลดได้  เช่น Capital Gains Tax 0% หรือ การลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดาสำหรับผู้ที่ลงทุนใน Digital Asset เหมือนกับการลงทุนใน RMF, SSF

ดังนั้นต้องมาดูว่าจะทำอย่างไร ที่จะคว้าโอกาส ให้เป็นของคนตัวเล็ก ซึ่งต้องมาดูว่าจะต้องมีกฎหมายเพื่อเปิดโอกาสให้คนตัวเล็กไประดมทุนในต่างประเทศได้ หรือกระทั่งการพัฒนา ไทยให้เป็นศูนย์กลาง การลงทุนในด้านดังกล่าว ซึ่งต้องไปปรับแก้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เปิดโอกาสให้เกิดการดึงคนที่มีศักยภาพ มาลงทุน ซึ่งภาครัฐ ต้องเข้าใจว่าการเข้ามาของเทคโนโลยี ไม่ได้ทำร้ายคนไทย โดยเฉพาะคนตัวเล็ก แต่มันคือโอกาสที่ยิ่งใหญ่ ดังนั้นการออกกฎหมายต้องไม่ใช่ควบคุมเพียงมิติเดียว แต่ต้องออกกฎหมายในเชิงสนับสนุนเสริมสร้าง ซึ่งจะเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่สำหรับคนตัวเล็ก

นอกจากนี้ยังเห็นว่า การเรียนรู้ในส่วนของ เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่เหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งในหลายประเทศมีการสอนอย่างจริงจังในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา จึงเห็นว่าประเทศไทยต้องเริ่มต้นการสอนในเรื่องเทคโนโลยีเหล่านี้ให้กับนักเรียน ควบคู่ไปกับการพัฒนาคนให้เป็น Gobal Worlkforce ด้านDigital และต้องเปิดรับให้ต่างชาติที่เก่งในเรื่องเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามางทุน และทำงานในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยสร้างงาน สร้างเศรษฐกิจ สร้างโอกาสให้คนตัวเล็ก

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า