SHARE

คัดลอกแล้ว

ปภ. เตือน 3 จังหวัดภาคใต้รับมือสถานการณ์น้ำท่วมหลังฝนตกหนัก ล่าสุดน้ำป่าเทือกเขาหลวงหลากเข้าท่วม อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช เสียหายบริเวณกว้าง

วันที่ 2 ธ.ค. 2564 น้ำป่าจากเทือกเขาหลวง หลากเข้าท่วมพื้นที่บริเวณต้นน้ำท่าดี ต.กำโลน อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัด น้ำที่ไหลลงจากเทือกเขาหลวงมีเข้มและเชี่ยว ส่งผลสะพานหลายจุดขาด บางพื้นที่ระดับน้ำสูงเกือบ 2 เมตร

ชาวบ้าน บอกว่า น้ำป่าหลากเข้าท่วมเป็นระลอกที่ 3 แล้ว มวลน้ำจากภูเขาจะหลากไปที่ ต.ท่าดี อ.ลานสกา จากนั้นไหลเข้าสู่ ต.กำแพงเซา ต.ไชยมนตรี ต.มะม่วงสองต้น และจะหลากเข้าสู่เขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ซึ่งอาจเข้าสู่ภาวะวิกฤต เพราะทุกพื้นที่ถูกน้ำท่วมเต็มพื้นที่แล้ว

เจ้าหน้าที่ต้องออกแจ้งเตือนประชาชนพื้นที่เสี่ยงให้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นในอีก 4-6 ชม.ข้างหน้า เนื่องจากในพื้นที่ยังมีฝนยังคงตกอย่างหนักต่อเนื่อง

ปภ. เตือน 3 จังหวัดพร้อมรับน้ำป่าหลาก

ด้านกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์อุทกภัยว่า พื้นที่ภาคใต้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ใน 3 จังหวัด คือ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช รวม 19 อำเภอ 99 ตำบล 588 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 18,164 ครัวเรือน

กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลให้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ในห้วงวันที่ 23 พ.ย. – 2 ธ.ค. 64 ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนัก ถึงหนักมากบางแห่ง ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ พัทลุง และสงขลา รวม 45 อำเภอ 181 ตำบล 774 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 21,195 ครัวเรือน

ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ใน 3 จังหวัด 19 อำเภอ 99 ตำบล 588 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 18,164 ครัวเรือน ดังนี้

1.ชุมพร มีน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอท่าตะโก อำเภอสวี และอำเภอหลังสวน รวม 26 ตำบล 188 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,878 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

2.สุราษฎร์ธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพระแสง อำเภอเวียงสระ อำเภอเคียนซา อำเภอชัยบุรี อำเภอพุนพิน อำเภอบ้านนาสาร อำเภอบ้านนาเดิม และอำเภอเกาะพะงัน รวม 41 ตำบล 279 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6,117 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

3.นครศรีธรรมราช น้ำท่วมในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนาบอน อำเภอทุ่งใหญ่ อำเภอชะอวด อำเภอทุ่งสง อำเภอ บางขัน อำเภอช้างกลาง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช และอำเภอเชียรใหญ่ รวม 32 ตำบล 121 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,169 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

ขณะที่สถานการณ์อุทกภัยจากอิทธิพลพายุเตี้ยนหมู่ พายุไลออนร็อก พายุคมปาซุ และร่องมรสุมพาดผ่านภาคตะวันออกและภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 23 ก.ย. – 2 ธ.ค. 64 ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี สุพรรณบุรี นครปฐม รวม 7 อำเภอ 78 ตำบล 588 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 29,561 ครัวเรือน โดยภาพรวมระดับน้ำลดลงต่อเนื่อง แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ ลุ่มต่ำ ดังนี้

1.อุบลราชธานี ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี และอำเภอวารินชำราบ รวม 4 ตำบล 13 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 140 ครัวเรือน

2.สุพรรณบุรี ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสองพี่น้อง และอำเภอบางปลาม้า รวม 28 ตำบล 240 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 22,015 ครัวเรือน

3.นครปฐม ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางเลน อำเภอนครชัยศรี และอำเภอสามพราน รวม 46 ตำบล 335 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,406 ครัวเรือน

สำหรับการแก้ไขปัญหาและให้การช่วยเหลือประชาชน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระดมสรรพกำลังในการระบายน้ำออกจากพื้นที่และดูแลให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยจัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจและประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ

ปภ.

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า