SHARE

คัดลอกแล้ว

แม้สถานการณ์โควิดจะยังไม่คลี่คลายเนื่องจากการระบาดของสายพันธุ์ใหม่อย่าง ‘โอไมครอน’ แต่ในมุมมองของผู้ที่ในแวดวงการส่งออกและนำเข้าอย่าง EXIM BANK แล้ว ปี 2565 ดูเหมือนจะเป็นปีที่ดีสำหรับการส่งออก และเศรษฐกิจไทยก็ดูมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า ในปี 2565 เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าจะขยายตัวถึง 4.9%

ขณะที่การค้าโลกมีแนวโน้มขยายตัว 6.7% สูงกว่าอัตราเฉลี่ยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาที่ระดับ 3.0% และ 2.7% ตามลำดับ

ด้านเศรษฐกิจไทยในปี 2565 มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นเป็นลำดับ คาดว่าการส่งออกไทยจะขยายตัวราว 5% ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยมีแรงหนุนสำคัญมาจากความคืบหน้าของการกระจายและฉีดวัคซีนทั่วโลก

ขณะเดียวกัน สินค้าไทยหลายรายการยังตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ได้ดี โดยเฉพาะสินค้าอาหารและผลไม้ สินค้าที่เกี่ยวข้องกับ Work from Home ของใช้ในบ้าน และสินค้าทางการแพทย์

นอกจากนี้ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 2565 เป็นต้นไป นั่นหมายถึง ไทยจะเข้าร่วมตลาดขนาดใหญ่ครอบคลุมอาเซียน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ รวม 15 ประเทศ คิดเป็นกำลังซื้อกว่า 30% ของโลกหรือราว 2,200 ล้านคน

ซึ่งไทยส่งออกไปประเทศสมาชิก RCEP อยู่แล้วกว่า 50% ของมูลค่าส่งออกรวม ทำให้สินค้าไทยราว 30,000 รายการ อาทิ ผลไม้ ยานยนต์ และเคมีภัณฑ์ ได้รับการลดภาษีเหลือ 0% จึงเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสเจาะตลาดให้แก่ผู้ส่งออกไทยได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตามอง อาทิ

-การกลายพันธุ์และการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ที่อาจฉุดรั้งการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและกำลังซื้อของประเทศคู่ค้าบางแห่ง

-อัตราแลกเปลี่ยนที่อาจผันผวนมากขึ้นหลังธนาคารกลางสำคัญของโลกโดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐฯ หันมาใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ

-ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบโดยเฉพาะชิป รวมถึงต้นทุนการผลิตและค่าขนส่งที่ยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งอาจกดดันให้ Margin ของผู้ส่งออกไทยลดลงได้

กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจไทยปี 2565 จะกำลังฟื้นตัว แต่ยังขยายตัวต่ำและฟื้นตัวช้ากว่าหลายประเทศ เนื่องจากปัญหาเชิงโครงสร้างในหลายมิติ ทำให้วิกฤตโควิด-19 สร้างผลกระทบและมีบาดแผลที่ลึกกว่าประเทศคู่ค้า อาทิ ผู้ประกอบการ SMEs ของไทยมีจำนวนมาก แต่ยังมีบทบาทต่อเศรษฐกิจน้อย เพราะส่วนใหญ่ค้าขายในประเทศเป็นหลัก เศรษฐกิจไทยจะพลิกฟื้นกลับมาเติบโตได้อย่างยั่งยืน เมื่อผู้ประกอบการลุกขึ้นมาปรับหรือเปลี่ยนสินค้าและกิจการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มตามเทรนด์ใหม่ๆ ของโลกได้

ภายใต้บทบาทธนาคารเพื่อการพัฒนา ซึ่งจะวางรากฐานการยกระดับเศรษฐกิจไทยสู่นวัตกรรมยุคใหม่อย่างยั่งยืน สนับสนุนธุรกิจทุกระดับในทุกอุตสาหกรรมทุกช่วงธุรกิจตั้งแต่ “เกิด แก่ เจ็บ และตาย” ด้วยบริการครบวงจร ได้แก่

1.“เกิด” การบ่มเพาะความรู้และเติมทุน เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้และตั้งต้นส่งออก อาทิ บริการสินเชื่อผู้ส่งออกป้ายแดง การจัดอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำ

2.“แก่” การเสริมทุนและสร้างโอกาสทางการตลาด เพื่อส่งเสริมการขยายกิจการให้เติบโตอย่างมั่นคง อาทิ สินเชื่อเพื่อขยายกำลังการผลิต การจับคู่ธุรกิจ การจัดให้มีแพลตฟอร์มการค้า EXIM Thailand Pavilion

3.“เจ็บ” การช่วยเหลือเยียวยาจากผลกระทบ เมื่อเกิดวิกฤต อาทิ สินเชื่อฟื้นฟู เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงและความผันผวนด้านอัตราแลกเปลี่ยน

4.“ตาย” การดูแลธุรกิจที่เริ่มไปต่อได้ยากให้มีมูลค่าเพิ่ม หรือสามารถแปลงร่างกลับมาสู่เทรนด์โลกได้ อาทิ สินเชื่อ EXIM Biz Transformation Loan

ด้านผลการดำเนินงานในช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2564 แม้เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกจะยังได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 EXIM BANK ยังสามารถขยายบทบาทการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยทั้งด้านการเงิน ครอบคลุมบริการสินเชื่อและประกัน และไม่ใช่การเงินเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดย EXIM BANK มียอดคงค้างสินเชื่อ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2564 อยู่ที่ 148,849 ล้านบาท คาดว่าสิ้นปี 2564 ยอดคงค้างจะสูงถึง 152,383 ล้านบาท สูงสุดตั้งแต่เปิดดำเนินการมา 28 ปี เติบโตขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 17,155 ล้านบาท หรือ 12.69%

สำหรับการให้บริการประกันการส่งออกและการลงทุน EXIM BANK เป็นธนาคารรัฐแห่งเดียวที่สามารถให้บริการดังกล่าว เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการไทยในการรุกตลาดโลก โดยเฉพาะในภาวะปัจจุบันที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว

ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2564 EXIM BANK มีปริมาณธุรกิจสะสมบริการประกันเท่ากับ 149,148 ล้านบาท และคาดว่าสิ้นปี 2564 EXIM BANK จะสามารถเร่งทำผลงานด้านรับประกันให้แตะระดับ 150,000 ล้านบาท สูงสุดตั้งแต่เปิดดำเนินงาน โดยเติบโตจากปีก่อนหน้า 11.05%

และจากการขยายสินเชื่อและบริการประกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้ปรับตัวและดำเนินธุรกิจการค้าการลงทุนระหว่างประเทศได้อย่างยั่งยืน ทำให้คาดการณ์ว่า EXIM BANK จะขยายจำนวนลูกค้าเป็น 4,845 ราย ณ สิ้นปี 2564 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 13.17%

และยังทำหน้าที่ช่วยเหลือกิจการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ผ่านการออกมาตรการต่างๆ รวมทั้งให้การเผยแพร่ข้อมูลและพัฒนาทักษะความรู้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ผ่านการให้คำปรึกษาและจัดอบรม/สัมมนา/จับคู่ธุรกิจออนไลน์

ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2564 EXIM BANK ได้ช่วยเหลือทั้งด้านการเงินและไม่ใช่การเงินแก่ผู้ประกอบการประมาณ 11,300 ราย ด้วยวงเงินรวมกว่า 70,000 ล้านบาท

ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่และสภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ EXIM BANK มีแนวทางการบริหารและติดตามความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด ส่งผลให้ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2564 มีอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวม (NPL Ratio) อยู่ที่ 3.68% และคาดว่าภายในสิ้นปี 2564 จะสามารถบริหารจัดการให้ NPL Ratio ลดลงมาอยู่ที่ 2.68% ซึ่งลดลงถึง 1.13% เมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อน และต่ำที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540

จากการขยายธุรกิจอย่างก้าวกระโดด ประกอบกับการบริหารจัดการภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้คาดว่า ณ สิ้นปี 2564 EXIM BANK จะสามารถทำกำไรสุทธิได้สูงถึง 1,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 211.96% เมื่อเทียบกับปีก่อนซึ่งขาดทุนกว่าพันล้านบาท โดยถือเป็นกำไรสุทธิที่สูงที่สุดในรอบ 5 ปี

นอกจากนี้ เพื่อขยายบทบาทสนับสนุนผู้ประกอบการได้อย่างต่อเนื่อง EXIM BANK ยังได้รับอนุมัติเงินเพิ่มทุนจากกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ จำนวน 4,198 ล้านบาท นับเป็นการเพิ่มทุนครั้งแรกในรอบ 12 ปี

โดยแบ่งจ่ายงวดที่ 1 จำนวน 2,198 ล้านบาท ซึ่ง EXIM BANK ได้รับเรียบร้อยแล้วในเดือนพฤศจิกายน 2564 และงวดที่ 2 อีกจำนวน 2,000 ล้านบาท ภายในปี 2565

นอกจากเงินเพิ่มทุนดังกล่าวแล้ว เพื่อรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และหนุนสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการ EXIM BANK ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาออกหุ้นกู้ คาดว่าจะเห็นรายละเอียดในช่วงกลางปี 2565

“ปี 2564 เป็นก้าวแรกของ EXIM BANK ที่ได้พลิกโฉมและยกระดับองค์กรสู่การเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย เพื่อตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

“ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการองค์กรอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและยั่งยืน ท่ามกลางปัจจัยท้าทายต่าง ๆ นำมาซึ่งโอกาสใหม่ ๆ ของภาคธุรกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทยและโลกโดยรวม” ดร.รักษ์ กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า