Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยจำนวนผู้ตอบคำถาม 4 คำถามของนายกรัฐมนตรี  เป็นจำนวน 1,085,740 คน

วันนี้ ( 3 ธ.ค.60) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  เพจเฟซบุ๊ก “ไทยคู่ฟ้า ” ของทำเนียบรัฐบาล ได้เผยแพร่ภาพอินโทรกราฟฟิก เกี่ยวกับ “คำถาม 4 ข้อของนายกรัฐมนตรี” โดยเป็นชุดที่สอง หลังเผยแพร่ผลสรุปออกมาก่อนหน้านี้ โดยระบุว่า เป็นข้อมูลจากกระทรวงมหาดไทย ที่รวบรวมความคิดเห็นประชาชน ตั้งแต่วันที่ 12 มิ.ย. – 27 ต.ค.60 ผู้แสดงความคิดเห็น 4 คำถามของนายกรัฐมนตรี มีทั้งหมด 1,085,740 คน แบ่งเป็นเพศชาย 541,598 คน เพศหญิง 544,142 คน

  • อายุ 41 – 50 ปี 23.85 %
  • อายุ 51-60 ปี 20.60 %
  • อายุ 31-40 ปี 18.97 %
  • อายุ 21 – 30 ปี 13.68 %
  • อายุต่ำกว่า 21 ปี 11.62 %
  •  อายุ 60 ปีขึ้นไป 11.28 %

สำหรับคำถามที่ว่า คิดว่าการเลือกตั้งครั้งต่อไป จะได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลหรือไม่

  • ร้อยละ 75.18 ตอบว่า ได้
  • ร้อยละ 24.82 ตอบว่า ไม่ได้

หากนักการเมืองที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม กลับเข้ามาได้อีก จะให้ใครเป็นผู้แก้ไข

  • ร้อยละ 43.12 ใช้กลไกทางด้านกฎหมายและการปฏิรูป
  • ร้อยละ 24.85 ใช้กลไกทางด้านการเมือง
  • ร้อยละ 18.55 ใช้กลไกทางด้านบริหารราชการแผ่นดิน
  • ร้อยละ 7.21 ใช้กลไกทางด้านสังคม
  • ร้อยละ 6.27 ใช้กลไกทางด้านการมีส่วนร่วมและสร้างการเรียนรู้

การเลือกตั้งอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงอนาคตของประเทศและเรื่องอื่นๆ เช่น ประเทศชาติจะมียุทธศาสตร์และการปฏิรูป ท่านคิดว่า ถูกต้องหรือไม่

  • ร้อยละ 50.17 ไม่ถูกต้อง
  • ร้อยละ 49.83 ถูกต้อง

คิดว่านักการเมืองที่มีพฤติกรรม ไม่เหมาะสมในทุกกรณี ควรมีโอกาสข้าสู่การเลือกตั้งหรือไม่

  • ร้อยละ 75.45 ไม่ควร
  • ร้อยละ 24.55 ควร

หากนักการเมืองที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม กลับเข้ามาได้อีก จะให้ใครเป็นผู้แก้ไข

  • ร้อยละ 50.09 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
  • ร้อยละ 19.88 ประชาชน
  • ร้อยละ 7.46  ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกๆหน่วยร่วมกันแก้ไข เช่น กกต. / ป.ป.ช.
  • ร้อยละ 7.12  องค์กรอิสระ
  • ร้อยละ 6.82  กรธ. / สนช.
  • ร้อยละ 5.27  พรรคการเมือง / นักการเมือง
  • ร้อยละ 3.36  รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง / รัฐบาลใหม่

 

 

สำหรับอินโทรกราฟฟิก ชุดแรก เป็นข้อมูลเชิงสรุป ผลคำถามทั้ง 4 ข้อดังนี้  (เผยแพร่เมื่อวันที่ 29 พ.ย.2560)

คำถามที่ 1 ท่านคิดว่า การเลือกตั้งครั้งต่อไป จะได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลหรือไม่ โดยประชาชนส่วนใหญ่ตอบว่า ได้

คำถามที่ 2 หากไม่ได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาล จะทำอย่างไร ประชาชนส่วนใหญ่เสนอให้ใช้กลไกด้านกฎหมายและปฏิรูป อีกทั้งสนับสนุนให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งต่อไป จนกว่า การปฏิรูปจะแล้วเสร็จ

คำถามที่ 3 การเลือกตั้งอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงอนาคตของประเทศนั้นถูกต้องหรือไม่ ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า ไม่ถูกต้อง และสนับสนุนให้มีการปฏิรูปประเทศให้สำเร็จในรัฐบาลชุดนี้

คำถามที่ 4 คิดว่ากลุ่มนักการเมืองที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ควรจะมีโอกาสเข้ามาสู่การเลือกตั้งอีกหรือไม่ หากเข้ามาได้แล้วจะให้ใครแก้ไข และ แก้ไขด้วยวิธีอะไร ประชาชนส่วนใหญ่ เห็นว่า ไม่ควร และมองว่า ควรให้พล.อ.ประยุทธ์ เข้ามาเป็นผู้แก้ไขในลำดับแรก ส่วนวิธีการแก้ไข ให้ใช้วิธีทางกฎหมาย มีบทลงโทษที่รุนแรง และ การปฏิรูปที่เสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นผู้ดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนการเลือกตั้ง

 

ที่มา ไทยคู่ฟ้า

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า