SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ –  สถาบันดาราศาสตร์ ชวนชมปรากฎการณ์ ซูเปอร์ฟูลมูน คืนวันที่ 3 ธันวาคม ดวงจันทร์เต็มดวงใหญ่ที่สุดในปี 2560 อีกรอบ 2 มกราคมปี 2561 

ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า ในคืนวันที่ 3 ธันวาคม 2560 ดวงจันทร์เต็มดวงจะปรากฏในตำแหน่งใกล้โลกที่ระยะห่างประมาณ 357,973 กิโลเมตร คืนดังกล่าวจะสังเกตเห็นดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย นอกจากนี้ยังมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าขณะอยู่ไกลโลกมากที่สุดประมาณ 14% และมีความสว่างมากกว่าประมาณ 30 % หรือเรียกว่า “ซูเปอร์ฟูลมูน” (Super Full Moon) สังเกตได้ด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออก หลังดวงอาทิตย์ตก ตั้งแต่เวลาประมาณ 18:00 น. เป็นต้นไป

ตามปกติดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นรูปวงรี 1 รอบ ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ในแต่ละเดือนจะมีตำแหน่งที่ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุดและไกลโลกที่สุด

  • ตำแหน่งที่ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุดเรียกว่า เปริจี (Perigee) มีระยะทางเฉลี่ย 356,400 กิโลเมตร
  • ตำแหน่งที่ไกลโลกที่สุดเรียกว่า อะโปจี (Apogee) มีระยะทางเฉลี่ยประมาณ 406,700 กิโลเมตร

การที่ผู้คนบนโลกสามารถมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงที่โตกว่าปกติเล็กน้อย ในคืนที่ดวงจันทร์โคจรเข้ามาใกล้โลก นับเป็นเหตุการณ์ปกติที่สามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ และแม้ว่าดวงจันทร์จะมีตำแหน่งโคจรเข้าใกล้โลกทุกเดือน แต่ดวงจันทร์ไม่ได้ปรากฏเต็มดวงทุกครั้ง

โดยครั้งนี้จะเป็นดวงจันทร์เต็มดวงที่ใหญ่ที่สุดในปี 2560 แต่ในวันที่ 2 มกราคม 2561 ดวงจันทร์เต็มดวงจะอยู่ใกล้โลกกว่านี้ที่ระยะห่างประมาณ 356,595 กิโลเมตร ทำให้มีขนาดปรากฏใหญ่กว่าครั้งนี้อีกเล็กน้อย ซึ่งวันที่ 2 ม.ค. 2561 จะวันที่เป็นซูเปอร์ฟูลมูนที่ใหญ่ที่สุดในปี 2561

อย่างไรก็ตาม ดร.ศรัณย์ ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับกองมองเห็นดวงจันทร์ว่า “การที่เรามองเห็นดวงจันทร์ขณะอยู่บริเวณใกล้ขอบฟ้า แล้วรู้สึกว่ามีขนาดปรากฏใหญ่กว่าตำแหน่งอื่น ๆ บนท้องฟ้า แท้จริงแล้วเป็นเพียงภาพลวงตาที่เรียกว่า“Moon Illusion” เนื่องจากบริเวณขอบฟ้ามีวัตถุให้เปรียบเทียบขนาด เช่น ภูเขา ต้นไม้ อาคาร เป็นต้น แต่บริเวณกลางท้องฟ้าไม่มีวัตถุใดมาเปรียบเทียบขนาด ทำให้ความรู้สึกในการมองดวงจันทร์บริเวณกลางฟ้าดูมีขนาดเล็กกว่าปกติ “

เชิญชวนผู้สนใจเฝ้ารอชมความสวยงามของดวงจันทร์ และสนับสนุนโรงเรียนในโครงการกระจายโอกาสเรียนรู้ดาราศาสตร์ 77 จังหวัดฯ ที่รับมอบกล้องจากสดร. จัดกิจกรรมสังเกตการณ์ดาราศาสตร์แก่นักเรียนและชุมชน “ส่องจันทร์เพ็ญดวงโต” แบบเต็มตาผ่านกล้องโทรทรรศน์

 

ที่มา สถาบันดาราศาสตร์แห่งชาติ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า