SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 8 มกราคม 2565 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ คําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ที่ 2/2565 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 21) ระบุว่า

ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 ให้ขยาย ระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2565 โดยนายกรัฐมนตรีได้ออก ข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 40) ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2564

กําหนดประเภทของผู้เดินทางเข้ามา ในราชอาณาจักรให้สอดคล้องกับสถานการณ์ระบาดและสอดรับนโยบายการเปิดประเทศเพื่อฟื้นฟู เศรษฐกิจของรัฐบาล และออกคําสั่งเพื่อกําหนดแนวปฏิบัติให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไข สถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่นําไปดําเนินการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคโดยเคร่งครัด

โดยมีคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ที่ 25/2564 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2564 นั้น

โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในหลายประเทศทั่วโลก ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมและทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากปรากฏกรณีไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์ สายพันธุ์โอมครอน (Omicron) ที่สามารถแพร่กระจายได้เร็วและมีโอกาสทําให้ติดเชื้อได้ง่ายกว่า สายพันธุ์อื่น ๆ

ขณะที่ประเทศไทยเริ่มตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าวมากขึ้นเป็นลําดับ เพื่อให้ การดําเนินการตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและการขยายระยะเวลาการประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว

และตามคําสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 5/2563 เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และการปฏิบัติหน้าที่ ของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์

อาศัยอํานาจตามความ ในข้อ 4 (2) ของคําสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2563 เรื่อง แต่งตั้งผู้กํากับการปฏิบัติงาน หัวหน้า ผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อํานวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 จึงมีคําสั่งให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการให้เป็นไปตาม มาตรการป้องกันโรค ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้คําสั่งระงับการรับลงทะเบียนการเดินทางเข้าราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ยกเว้นกรณีการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรของผู้ซึ่งได้รับอนุญาตประเภท (2) ที่เดินทางเข้ามา ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต และการปรับมาตรการป้องกันโรค สําหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ประเภท (1) และ (2) ของข้อ 1 ของคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ที่ 24/2564

เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกําหนดออกตามความ ในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2564ตามคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ที่ 25/2564 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกําหนดออกตามความ ในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2564 ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

ข้อ 2 ให้รับการลงทะเบียนการเดินทางเข้าราชอาณาจักรของผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ประเภท (2) ของข้อ 1 ของคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ที่ 24/2564 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกําหนดออกตามความ ในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2564 ที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่จังหวัดกระบี่ จังหวัดพังงา และ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (เฉพาะเกาะเต่า เกาะพะงัน และเกาะสมุย) ซึ่งได้กําหนดเป็นพื้นที่นําร่อง ด้านการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2565 เป็นต้นไป

ข้อ 3 ให้ปรับมาตรการป้องกันโรคสําหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรประเภท (2) ของข้อ 1 ของคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ที่ 24/2564 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2564

เฉพาะที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่จังหวัดกระบี่ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดพังงา และ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (เฉพาะเกาะเต่า เกาะพะงัน และเกาะสมุย) ให้มีหลักฐานหรือเอกสารที่ใช้ ในการเดินทางเข้าราชอาณาจักร และให้เข้ารับการตรวจหาเชื้อโรคโควิด – 19 โดยวิธี RT – PCB จํานวน 2 ครั้ง ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้

(1) ให้มีหลักฐานการชําระค่าที่พักหรือสถานที่กักกันที่ทางราชการกําหนดเมื่อผู้เดินทางเข้ามา ในราชอาณาจักร อย่างน้อย 7 วัน และค่าตรวจหาเชื้อโดยวิธี RT – PCR จํานวน 2 ครั้ง ทั้งนี้ ต้องเป็นโรงแรมหรือสถานที่พักที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกําหนด หรือสถานที่ซึ่งผู้เดินทางต้องเข้ารับการกักกันตามที่ ทางราชการกําหนด ได้แก่ สถานที่ที่ผู้เดินทางต้องเข้ารับการกักกันซึ่งได้ขึ้นทะเบียนต่อกระทรวงสาธารณสุข

หรือสถานที่ซึ่งผู้เดินทางต้องเข้ารับการกักกันตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร หรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณี อนุมัติและตรวจสอบ และให้บังคับใช้เงื่อนไขนี้ กับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรที่แม้จะมีสถานที่พํานักอยู่ในพื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยวด้วย

(2) ให้มีการตรวจหาเชื้อโรคโควิด – 19 โดยวิธี RT – PCR ครั้งที่ 2 ให้แก่ผู้เดินทาง ระหว่างวันที่ 5-6 ของระยะเวลาที่พํานักอยู่ในพื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยว หรือเมื่อมีอาการของ โรคระบบทางเดินหายใจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์หรือแนวทางที่ทางราชการกําหนด

ข้อ 4 สําหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรประเภท (3) (4) (5) และ (6) ของข้อ 1 ของคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ที่ 24/2564 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2564 ให้ปฏิบัติตามคําสั่งที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้โดยเคร่งครัด

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2565 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลง เป็นอย่างอื่น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า