SHARE

คัดลอกแล้ว

สธ.จ่อประกาศโควิดโรคประจำถิ่นปีนี้ พร้อมเปิดยุทธศาสตร์การชะลอการแพร่ระบาด

วันที่ 10 ม.ค. 2565 นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงสถานการณ์โควิด-19 ว่า แผนรับมือการระบาดโรคโควิด-19 ของประเทศไทยเราสู้กันมา 3 ปี ในปีแรกที่โรคเข้ามาคิดว่าน่าจะเหมือนไข้หวัดนก โรคซาร์ส เราสู้กันสักพัก และสามารถลดเคสได้รวดเร็ว แต่เนื่องจากระบาดทั่วโลกที่วนไปมาจึงกลับเข้ามาอีกที โดยเข้ามาหนักในปี 2564 ช่วงเดือน เม.ย.- พ.ค. และ ก.ค. – ส.ค. จะหนักมาก จึงต้องมีมาตรการต่างๆ หลังจากได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทำให้การติดเชื้อลดน้อยลง เราสามารถฉีดเร่งวัคซีนป้องกันโควิด-19  ประชาชนป้องกันตนเองทำให้โรคบรรเทาลง จนเราเปิดประเทศด้วยแผนอยู่กับโควิด เพื่อฟื้นเศรษฐกิจ

แต่เมื่อมีการระบาดระลอกใหม่ด้วยเชื้อโอไมครอน ที่ความรุนแรงน้อย อัตราตายต่ำแต่เชื้อแพร่ได้เร็ว ทางกรมควบคุมโรค จึงพิจารณาว่าเตรียมให้การระบาดครั้งนี้เข้าสู่โรคประจำถิ่นได้แล้ว เนื่องจาก 1.เชื้อลดความรุนแรง 2.ประชาชนร่วมมือฉีดวัคซีน มีภูมิคุ้มกันค่อนข้างดี 3.การบริหารจัดการ ดูแลรักษา และการชะลอการระบาดได้อย่างดี

ดังนั้น ยุทธศาสตร์ปี 2565 คือ การชะลอการแพร่ระบาด การติดเชื้อไม่น่ากลัว แต่เรากลัวการแพร่ระบาดที่รวดเร็วเกินไป อาจทำให้ล้นโหลดระบบสาธารณสุข หรือเกิดเชื้อกลายพันธุ์ได้อีก ดังนั้นเราต้องชะลอการระบาดและค่อยๆ รับมือ อย่างไรก็ตามผู้ติดเชื้อที่อาการไม่รุนแรง เราก็จะวางมาตรการดูแลในการแพทย์ การสาธารณสุขต่อไป

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวถึงแผนรับมือการระบาดโรคโควิด-19 ในระยะต่อไป ว่าแบ่งเป็น 4 มาตรการหลักได้แก่ 1.มาตรการสาธารณสุข ใช้แนวทางการชะลอการระบาด เพื่อให้ระบบสาธารณสุขดูแลทุกคนได้ เพิ่มวัคซีนเข็มที่ 3 หรือเข็มที่ 4 ยืนยันว่า วัคซีนมีคุณภาพและมีความเพียงพอ ตรวจ ATK จึงต้องขอความร่วมมือประชาชนตรวจคัดกรองตัวเอง หรือเข้ารับการตรวจที่คลินิก สถานพยาบาลได้ และติดตามเฝ้าระวังการกลายพันธุ์

2.มาตรการการแพทย์ เนื่องจากโรคไม่มีความรุนแรง จึงเน้นการดูแลมาใช้แบบแยกกักที่บ้าน (Home Isolation) และศูนย์พักคอยในชุมชน (Community Isolation) โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น เราต้องดูแลตัวเองจากที่บ้านได้ ถ้าเรายังต้องอยู่ในสถานพยาบาล ก็ยังเป็นโรคที่มีความร้ายแรง แต่ปัจจุบัน ถ้าโรคไม่แรง ก็ดูแลจากที่บ้านได้

ดังนั้น เราจะต้องมีระบบสนับสนุน ส่งยา เวชภัณฑ์ให้ผู้ติดเชื้อที่บ้านอย่างปลอดภัย มีระบบส่งต่อหากอาการรุนแรงได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน

3.มาตรการสังคม ประชาชนยึดหลักป้องกันตัวเองสูงสุด (Universal Prevention) เลี่ยงการเข้าสถานที่ไม่ปลอดภัย ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องเคร่งครัดให้สถานบริการปลอดโควิด-19 (Covid free setting) 

4.มาตรการสนับสนุน ด้านค่ารักษาพยาบาลและการตรวจหาเชื้อ

นพ.เกียรติภูมิ  กล่าวต่อว่าระยะการระบาดนี้ เราจะเน้นตรวจ ATK เป็นหลัก เรียกว่า ATK First เพราะเราศึกษาจากการใช้หลายล้านชิ้น พบว่ามีประสิทธิภาพ สามารถดักจับโควิด-19 ได้ดีมาก สามารถใช้ตรวจประจำได้ เพื่อป้องกันระบาด ต่อไปเราต้องใช้เป็นประจำ ทั้งหมดนี้ เป็นวิธีการที่ทำให้คนไทยทุกคนปลอดภัย ประเทศเดินต่อไปได้ หากทุกฝ่ายร่วมมือกัน สธ.จะพยายามบริหารจัดการให้เป็นโรคประจำถิ่นให้ได้ในปีนี้ หากกลุ่มเสี่ยงหรือผู้มีอาการจะใช้การตรวจ RT-PCR สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะดูแลเรื่องค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายเพื่อความเหมาะสม ดังนั้น สธ.จึงอยากขอความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อก้าวข้ามการระบาดครั้งนี้ออกไป ให้เป็นโรคประจำถิ่นให้ได้ด้วยมาตรการ VUCA คือ Vaccine  Universal Prevention, Covid Free setting และ ATK

ส่วน ช่วงใดจึงจะเข้าใกล้การเป็นโรคประจำถิ่น นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า เกิดจากลักษณะตัวโรคลดความรุนแรงลง ประชาชนมีภูมิต้านทาน ระบบรักษามีประสิทธิภาพ ลดอัตราป่วยหนักเพื่อให้อัตราเสียชีวิตอยู่ในระดับต่ำมาก สาเหตุที่โควิดเป็นโรคระบาดรุนแรง เพราะอัตราเสียชีวิตสูงถึง ร้อยละ 3 และค่อยๆ ลดลง หากลดมาถึง ร้อยละ 0.1 ก็จะเข้าข่ายโรคประจำถิ่นได้ ส่วนอีกนานหรือไม่ ตนได้ปรึกษากับกรมควบคุมโรคว่าขณะนี้เป็นเวฟที่ 4 ของโอไมครอนที่จะอยู่ประมาณ 2 เดือน จากนั้นจะค่อยๆ ลดลง เกิดพีคเล็กๆ ไปอีกระยะหนึ่ง ทั้งนี้ หากการจัดการวัคซีนดี ประชาชนร่วมฉีดให้มีภูมิต้าน โรคไม่กลายพันธุ์เพิ่ม การติดเชื้อไม่รุนแรงมากขึ้น ก็คาดว่าภายในปีนี้ จะกลายเป็นโรคประจำถิ่นไปได้

ด้านนพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงการเตรียมระบบรักษาพยาบาลรองรับการระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ว่า ผู้ติดเชื้อโอไมครอนส่วนใหญ่ ร้อยละ 48 ไม่มีอาการ ส่วนอาการของโอไมครอนที่พบมาก คือ ไอ ร้อยละ 54 เจ็บคอ ร้อยละ 37 และไข้ ร้อยละ 29 จึงเน้นการดูแลที่บ้าน (Home Isolation) และชุมชน (Commuity Isolation) เป็นหลัก ซึ่งการนำผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบรักษาพยาบาลมี 3 แบบ คือ 1.ไปตรวจที่โรงพยาบาล (รพ.) 2.ตรวจที่หน่วยบริการเชิงรุก ซึ่ง 2 แบบนี้หากผลตรวจเป็นบวก ไม่ต้องติดต่อสายด่วน 1330 โดยหน่วยตรวจจะดำเนินการให้ และ 3.การตรวจ ATK ด้วยตนเอง หากผลเป็นบวก ให้โทร.1330 ช่องทางที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เตรียมไว้ รวมถึง ปลัด สธ.ยังสั่งการให้ทุกจังหวัดจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการจังหวัด เพื่อเป็นอีกช่องทางรองรับผู้ที่มีผลตรวจ ATK เป็นบวกในการติดต่อด้วย

หากทำ HI/CI แล้วอาการมากขึ้น จะมีการประเมินและจะส่งต่อผู้ป่วยไปยัง Hospitel หรือ รพ.สนาม หรือ รพ.หลัก ต่อไป ซึ่งภาพรวมใช้เวลารักษา 10 วัน ไม่ว่าจะฉีดหรือไม่ฉีดวัคซีนก็กลับบ้านได้

อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า สำหรับเกณฑ์การส่งต่อผู้ป่วยเข้า รพ. 1.ไข้สูงเกิน 39 องศาเซลเซียส มากกว่า 24 ชั่วโมง 2.หายใจเร็วกว่า 25 ครั้งต่อนาที (ผู้ใหญ่) 3.ออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า ร้อยละ 94 4.โรคประจำตัวที่มีการเปลี่ยนแปลง กลุ่ม 608 ที่มีความเสี่ยง หรือผู้ติดเชื้อที่จำเป็นต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิดตามดุลยพินิจของแพทย์ และ 5.สำหรับในเด็ก อาการหายใจลำบาก ซึมลง ดื่มนม หรือรับประทานอาหารได้น้อยลง

ส่วนกรณีผลตรวจ ATK เป็นลบ แต่ยังมีอาการทางเดินหายใจ ให้ตรวจ ATK อีกครั้ง หากผลยังเป็นลบอยู่และมีอาการมาก ก็ให้ไปตรวจซ้ำที่คลินิกไข้หวัด รพ.ใกล้บ้าน แต่หากผลลบ ไม่มีอาการ เป็นกลุ่มสัมผัสเสี่ยงต่ำก็เน้นการป้องกันตนเอง ถ้าเป็นกลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูงให้กักตัวเอง

นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ส่วนอัตราการครองเตียง ซึ่งปัจจุบันมีเตียงประมาณ 1.78 แสนเตียง ภาพรวมช่วงต้น เดือนมกราคม มีการครองเตียงเพิ่มขึ้นจากช่วงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 โดยภาพรวมประเทศช่วงสิ้นปีมีการครองเตียง ร้อยละ 11 วันที่ 9 มกราคม เพิ่มเป็น ร้อยละ 22.7 ส่วนกรุงเทพมหานคร สิ้นปีอยู่ที่ร้อยละ 12.2 วันที่ 9 มกราคม เพิ่มเป็น ร้อยละ 30.7 แต่เตียงสีเหลืองและสีแดงมีการครองเตียงลดลง ที่เพิ่มขึ้นคือ เตียงสีเขียว

“จึงขอความร่วมมือใช้ HI/CI ก่อน แต่ที่ต้องมีเตียงสีเขียวไว้เพื่อรองรับ เช่น กรณีผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 1 ปี หรือสูงอายุ 80-90 ปี ที่หากติดเชื้อแล้วอาจมีอาการเปลี่ยนแปลงเร็ว แพทย์อาจขอให้แอดมิทไว้ก่อน ซึ่งแพทย์จะพิจารณาประเมินเป็นรายๆ ทั้งนี้ ย้ำว่าหากติดเชื้อแล้วดูแลด้วย HI/CI First จะทำให้เตียงเพียงพอ ซึ่งระบบ HI จะมีการส่งอาหารและยาตามแนวทางการรักษา โดยฉบับล่าสุด หากไม่มีอาการ แพทย์จะยังไม่ให้ยา แต่ถ้าเริ่มมีอาการจะจ่ายฟาวิพิราเวียร์ ซึ่งเมื่อให้หลังมีอาการไม่เกิน 3-4 วัน ได้ผลดี” นพ.สมศักดิ์ กล่าว

ด้าน นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ประชาชนที่มีผลตรวจโควิด-19 เป็นบวก ทั้งจากการตรวจด้วย ATK หรือโดยหน่วยบริการ และยังไม่เข้าสู่ระบบการรักษา สามารถติดต่อเข้าสู่ระบบการรักษาได้ 3 ช่องทาง ได้แก่ สายด่วน 1330 ต่อ 14 ตลอด 24 ชั่วโมง, เว็บไซต์ สปสช. www.nhso.go.th และไลน์ โดยการเพิ่มเพื่อน @nhso ซึ่งทั้ง 3 ช่องทางจะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับภายใน 6 ชั่วโมง เพื่อเข้าสู่ระบบการรักษา

 นพ.จเด็จกล่าวว่า ระบบสายด่วน 1330 รองรับสายเข้าพร้อมกันได้ทั้งหมด 3,000 สาย มีเจ้าหน้าที่รับสายจำนวน 300 คน ตลอด 24 ชั่วโมง ทั่วประเทศ ซึ่งระยะต่อไปหากจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ก็จะเพิ่มจำนวนบุคลากรเพื่อรองรับให้เพียงพอต่อการให้บริการ โดยข้อมูล 24 ชั่วโมงล่าสุด มีผู้โทรศัพท์เข้ามาขอเตียงทั้งหมด 1,054 ราย จากสายโทรศัพท์จำนวน 8,000 ราย ขอให้ความมั่นใจว่าในมีความพร้อมในการให้บริการ โดยไม่มีสายตกค้างหรือตกหล่น พร้อมเตรียมทดลองระบบหากมีผู้โทรเข้าพร้อมกันจำนวน 20,000 สาย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า