SHARE

คัดลอกแล้ว

สธ.เผยผู้ติดเชื้อโอไมครอน 48% ไม่มีอาการ ขณะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิกระบุ ไอไมครอนระบาดเร็วกว่าที่คิด และกำลังจะเข้าแทนที่โควิด-19 สายพันธุ์เดลตา

วันที่ 11 ม.ค. 2565 นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงสถานการณ์โอไมครอนในประเทศไทยว่า โควิด-19 โอไมครอนระบาดได้รวดเร็วมาก กระจายไปทั่วโลก ขยายตัวเพิ่มขึ้นและกำลังจะเข้ามาแทนที่สายพันธุ์เดลตา

จากการศึกษาติดตามของศูนย์เชี่ยวชาญไวรัส ที่จุฬาฯ โดยตัวอย่างทั้งหมดจะเป็นตัวอย่างที่กรุงเทพฯ ในระยะแรกก่อนปีใหม่ ตัวอย่างส่วนใหญ่จะเป็นของผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ หลังจากนั้นส่วนใหญ่จะเป็นตัวอย่างของผู้ที่ติดเชื้อในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะ

ตั้งแต่วันที่ 5 ม.ค. 2565 ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ติดเชื้อในประเทศ และ วันที่ 10 ม.ค. 2565 เป็นตัวอย่างที่ตรวจในผู้ติดเชื้อที่ติดในประเทศไทยล้วนๆ ไม่ตรวจผู้เดินทางมาจากต่างประเทศแล้ว จะเห็นว่าจำนวนการตรวจพบสายพันธุ์โอไมครอน มีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และกำลังจะมาแทนที่สายพันธุ์เดลตาเกือบทั้งหมด เร็วกว่าที่คาดการณ์คิดไว้ แต่เดิมคิดว่าสายพันธุ์โอไมครอนจะมาแทนที่ทั้งหมดในปลายเดือน ม.ค.

จากข้อมูลนี้สายพันธุ์โอไมครอนเพิ่มจำนวนอัตราการติดเชื้อได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดลตามาก ในช่วงสายพันธุ์เดลตาที่จะเข้ามาแทนที่สายพันธุ์แอลฟายังใช้เวลานานกว่านี้ ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่า การแพร่กระจาย โดยเฉพาะการติดต่อในสายพันธุ์โอไมครอนแพร่กระจายได้เร็วมากจึงสามารถที่จะมาแทนที่สายพันธุ์เดลตาตามหลักวิวัฒนาการของไวรัส และในที่สุดสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทยก็จะเป็นโอไมครอน

  • 48% ของผู้ติดเชื้อโอไมครอนไม่มีอาการ

ด้าน นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า อาการผู้ที่ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน 48% ไม่มีอาการ ส่วนบางรายพบมีอาการไอมากที่สุด รองลงมาคือเจ็บคอ และมีไข้ ดังนั้นระบบการคัดกรองในการเข้าสถานที่ พื้นที่ต่างๆ จะต้องมีความเข้มงวดมากขึ้น โดยต้องมีการสอบถามอาการเบื้องต้นด้วย โดยผู้ป่วยที่สงสัยว่าติดเชื้อและตรวจ ATK ด้วยตนเองแล้วพบว่าผลเป็นบวกให้ติดต่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่เบอร์ 1330

และผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อตรวจ ATK แล้วผลเป็นลบ หากมีอาการให้ไปที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจหาเชื้อด้วย RT-PCR ถ้ามีความเสี่ยงต่ำให้ปฎิบัติตามมาตรการ DMHTT แต่ถ้ามีความเสี่ยงสูงให้ทำ Self Quarantine และตรวจ ATK ซ้ำทุก 3 วัน หรือเมื่อมีอาการ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า