SHARE

คัดลอกแล้ว

ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กฯ เผยเด็กติดโควิดเพิ่มกว่าระลอกที่ผ่านมา ยืนยันเตียงมีเพียงพอ ขณะที่ ศบค.เร่งเครื่องฉีดวัคซีนเด็กอายุ 5-11 แจงไทยจะนำเข้าภายในสิ้นเดือนนี้ เริ่มฉีดกับเด็กในรูปแบบ School base จากอายุ 11 ปี ไล่ลงไปอายุน้อย

วันที่ 12 ม.ค. 2565 พญ.สุมนี วัชรสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค ในฐานะผู้ช่วยรองโฆษก ศบค. กล่าวถึงความคืบหน้าของการฉีดวัคซีนให้เด็กอายุ 5-11 ปีว่า ก่อนหน้านี้ทางองค์การอาหารและยาได้อนุญาตให้ใช้วัคซีนไฟเซอร์ในเด็กอายุ 5-11 ปีได้ ซึ่งวัคซีนไฟเซอร์ดังกล่าวจะแตกต่างจากวัคซีนไฟเซอร์ที่ใช้ในกลุ่มผู้ใหญ่ บรรจุภัณฑ์ของวัคซีนจะเป็นฝาสีส้ม (Orange cap) ในปริมาณ 10 ไมโครกรัม/โดส

ขณะที่วัคซีนไฟเซอร์ที่ใช้ในกลุ่มผู้ใหญ่จะมีฝาสีม่วง (Purple cap) ในปริมาณ 30 ไมโครกรัม/โดส และไม่สามารถใช้ทดแทนกันได้ ย้ำว่าไม่สามารถนำวัคซีนฝาสีม่วงไปแบ่งใช้กับเด็ก 3 คนได้ เพราะต้องใช้ให้ตรงตามกลุ่มอายุเท่านั้นเพื่อความปลอดภัย

สำหรับวัคซีนไฟเซอร์ฝาสีส้มของเด็กอายุ 5-11 ปี จะเริ่มทยอยเข้ามาในช่วงปลายเดือน ม.ค. หรือไม่ก็ภายในเดือน ก.พ.นี้ ซึ่งถือว่าเร็วมาก เพราะวัคซีนโดสเด็กเป็นที่ต้องการ ไทยจะเป็นอันดับสองในทวีปเอเชีย โดยได้เตรียมแผนการฉีดในเด็กอายุ 5-11 ปีแล้วในรูปแบบ School base คือ เริ่มการฉีดในกลุ่มเด็กอายุ 11 ปีและไล่ลงมาตามลำดับอายุ

ทั้งนี้ ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (Emergency Operation Center : EOC) ได้หารือเรื่องการเปิดปิดโรงเรียนและสถานศึกษา จากสถานการณ์การระบาดทำให้มีโรงเรียนและสถาบันการศึกษาปรับการเรียนการสอนจากออนไซต์มาเป็นออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และ สธ. มีการประชุมกันและจัดทำมาตรการป้องกันต่างๆ คือ ประเมินสถานศึกษาเตรียมพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน ทำแผนเผชิญเหตุกรณีพบการติดเชื้อของนักเรียน นักศึกษา และบุคลากรในโรงเรียน จากข้อมูลการติดเชื้อโควิดตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2564 – 7 ม.ค. 2565 โดยข้อมูลวันที่ 7 ม.ค. 2565 พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 7,526 ราย เป็นกลุ่มอายุ 0-19 ปี จำนวน 1,048 ราย คิดเป็น 13.9% โดย 10 จังหวัดที่นักเรียนอายุ 6-18 ปีติดเชื้อมากที่สุด คือ กทม. ชลบุรี อุบลราชธานี สมุทรปราการ พังงา กาฬสินธุ์ ภูเก็ต ขอนแก่น พัทลุง และร้อยเอ็ด ซึ่งติดเชื้อจากการสัมผัสยืนยัน หากเป็นนักเรียนส่วนใหญ่ติดจากคนในครอบครัว ขณะที่ครูติดจากเพื่อนร่วมงาน

หลักการจัดการป้องกันควบคุมโรคสถานศึกษา มีการชี้แจงจังหวัดต่างๆ ว่า มีการดำเนินการโดย 6 มาตรการหลัก เช่น เว้นระยะห่าง สวมหน้ากากตลอดเวลา ล้างมือ วัดไข้ ไม่ทำกิจกรรมที่มีคนแออัดจำนวนมาก, 6 มาตรการเสริม เช่น ใช้ช้อนกลางส่วนตัว ลงทะเบียนก่อนเข้าออกสถานศึกษา เป็นต้น และ 7 มาตรการเข้มงวด คือ ประเมินด้วย Thai Stop COVID+ ซึ่งผลการประเมินสถานศึกษา บุคลากรในโรงเรียน และนักเรียน ผ่านเกือบ 100% แล้ว มีการทำแผนเผชิญเหตุ เพื่อใช้ในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรค ซึ่งมีการส่งไปยังจังหวัดต่างๆ และต้องมีการซักซ้อมสม่ำเสมอ รวมถึงเพิ่มภูมิคุ้มกันบุคลากรในโรงเรียนและครู ซึ่งการเปิดเรียนต้องรับวัคซีนเกิน 75% ส่วนนักเรียนเราฉีดให้แก่อายุ 12 ปีขึ้นไป ดำเนินการไปแล้ว และเวลาจะเข้าไปเรียนมีการคัดกรองตรวจด้วยเอทีเคเป็นระยะ

พญ.สุมนี กล่าวว่า ข้อมูลการฉีดวัคซีนในกลุ่มอายุ 12-17 ปี จำนวน 5 ล้านกว่าคน แจ้งประสงค์รับวัคซีน 4.3 ล้านกว่าคน คิดเป็น 83.85% รับวัคซีนเข็มแรกแล้ว 95% ฉีดครบโดส 70.43% ข้อมูลตามรายภาค พบว่า ภาคกลางครบโดส 68% อีสาน 65.98% ภาคใต้ 73.42% ภาคเหนือ 82.24% ภาคตะวันออก 75.26% และภาคตะวันตก 76.24%

ส่วนวัคซีนเชื้อตายที่ประชาชนสนใจฉีดเพิ่มเติมเนื่องจากกังวลต่อผลข้างเคียงของวัคซีน mRNA ในเด็กนั้น

พญ.สุมนี ชี้แจงว่า คณะอนุกรรมการองค์การอาหารและยาอยู่ระหว่างการเร่งขึ้นทะเบียนวัคซีนเชื้อตายให้ใช้ในเด็ก ซึ่งต้องรอผ่านการอนุมัติจากมติคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันด้วย โดยเป็นการทำคู่ขนานกันให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และเมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว ผู้ปกครองจะสามารถเลือกสูตรการฉีดวัคซีนให้กับบุตรหลานได้โดยความสมัครใจ

  • ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กฯ ยืนยันเตียงมีเพียงพอ หลังพบเด็กติดโควิดเพิ่มจากรอบที่ผ่านมา

ด้าน นพ.อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เปิดเผยว่า การระบาดโควิด-19 รอบที่ผ่านมาอัตราการติดเชื้อในเด็กอยู่ที่ร้อยละ 10 ขณะที่การระบาดรอบนี้เป็นสายพันธุ์โอไมครอนแนวโน้มพบเด็กมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้น 1 ใน 3 แต่ไม่มีอาการหนัก ขณะนี้รักษาตัวอยู่ที่สถาบันสุขภาพเด็กฯ 32 ราย

นพ.อดิศัย กล่าวว่า สถาบันสุขภาพเด็กฯ มีเตียงรักษาเด็กที่ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 70 เตียง ดูแลตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 15 ปี, มีหอผู้ป่วยหนักดูแลเด็กโตติดเชื้อ 7 เตียง, และหอผู้ป่วยหนักดูแลเด็กทารกแรกเกิด 6 เตียง ซึ่งกรมการแพทย์ได้มีการสั่งให้เตรียมเตียงไว้ 100 เตียง หากมีสถานการณ์รุนแรงขึ้นจะมีการขยายเตียงในการดูแลเด็กติดเชื้อโดยปรับเอาเตียงผู้ใหญ่มาเป็นเตียงเด็กโควิดได้

โควิดระลอกเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา สถาบันสุขภาพเด็กฯ ได้ทำการเด็กติดเชื้อโควิดสูงสุด 103 เตียง และหมุนเวียนเตียงที่ทำการรักษา 1,350 ราย สำหรับการระบาดครั้งนี้เกณฑ์ที่จะพิจารณารับเด็กติดเชื้อเข้ารับการรักษาตามแนวทางเบื้องต้น จะเป็นเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี หรือเป็นเด็กติดเชื้อที่มีไข้สูง 39 องศา ใน 24 ชั่วโมง มีอาการหายใจเร็ว หอบเหนื่อย ซึม กินข้าวไม่ได้ ถ่ายเหลว แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ที่จะประเมินอาการผู้ป่วยเด็ก

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า