SHARE

คัดลอกแล้ว

‘ประยุทธ์’ ยืนยันไทยพร้อมสนับสนุนแก้ปัญหาเมียนมา เสนอแนวทางก้าวแรกต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจจากผู้นำเมียนมา ขณะที่หน่วยงานนานาชาติชี้ ไทยไม่เปิดทางให้เข้าถึงพื้นที่ปลอดภัยช่วยชาวเมียนมา

วันที่ 18 ม.ค. 2565 เว็บไซต์รัฐบาลไทย เปิดเผยกรณีนางโนลีน เฮย์เซอร์ ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติเรื่องเมียนมา เข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อวานนี้ (17 ม.ค.)

ในช่วงหนึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ได้กล่าวยืนยันว่า ไทยพร้อมให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการผลักดันให้มีการแก้ไขปัญหาในเมียนมา ทั้งในบริบทความสัมพันธ์ทวิภาคี ความร่วมมือกับอาเซียน และสหประชาชาติ อย่างไรก็ดี ประเด็นปัญหาในเมียนมามีความซับซ้อน ซึ่งต้องมองด้านประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ ประกอบเพื่อเข้าใจสภาพปัญหาอย่างแท้จริง

โดยนายกรัฐมนตรีเห็นว่า ควรแก้ปัญหาอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยความเข้าใจ และสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจจากผู้นำเมียนมา ซึ่งถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการแก้ปัญหา นอกจากนี้ ไทยได้ติดตามสถานการณ์ในเมียนมาอย่างใกล้ชิดมาตั้งแต่ต้น และเห็นว่าสิ่งสำคัญในตอนนี้คือ การยุติการใช้ความรุนแรง การพูดคุยเพื่อหาทางออกโดยสันติ และการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ประชาชนเมียนมา ซึ่งไทยพร้อมที่จะช่วยขับเคลื่อนความพยายามในด้านนี้ของอาเซียนและของประชาคมโลก ผ่านการขนส่งลำเลียงความช่วยเหลือเข้าไปในเมียนมา โดยไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งไทยได้ให้การสนับสนุนทางการแพทย์และมนุษยธรรมอย่างต่อเนื่อง

สำหรับประเด็นความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม รัฐบาลไทยยืนยันว่า มีประสบการณ์ในด้านนี้ และได้มีการวางแผนเตรียมการรับมือผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมา โดยได้กำหนด “พื้นที่ปลอดภัยชั่วคราว” (humanitarian area) ไว้ตามแนวชายแดน ซึ่งได้วางแนวปฏิบัติและมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ไว้อย่างรอบคอบ และจะส่งตัวกลับประเทศเมื่อผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมามีความพร้อมและสมัครใจจะเดินทางกลับเท่านั้น จึงขอให้มั่นใจว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยได้ให้การดูแลด้านมนุษยธรรมขั้นพื้นฐานเป็นอย่างดี

ขณะที่ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติเรื่องเมียนมา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เข้าพบพล.อ.ประยุทธ์เพื่อร้องขอให้ไทยสนับสนุนมาตรการป้องกันไม่ให้วิกฤติในเมียนมาเลวร้ายลงไปกว่านี้ ออกแถลงการณ์ยืนยันว่า นายกรัฐมนตรีของไทยมีบทบาทสำคัญในการป้องกันไม่ให้สถานการณ์เมียนมาแย่ลง ซึ่งความขัดแย้งในเมียนมาอาจส่งผลต่อเสถียรภาพที่จะปะทุบริเวณแนวชายแดนด้วย

ที่ผ่านมา กองทัพเมียนมา ซึ่งถูกมองว่ามีความใกล้ชิดกับไทย ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงการรัฐประหารรัฐบาลที่นำโดยนางอองซาน ซูจี เมื่อปีที่แล้ว ขณะเดียวกันกองทัพเมียนมายังใช้ปฏิบัติการทางทหารที่รุนแรงต่อฝ่ายต่อต้านและกองกำลังของกลุ่มชาติพันธุ์ จนเป็นสาเหตุให้เกิดผู้อพยพจำนวนมากทะลักเข้าประเทศไทย ขณะที่กองทัพเมียนมาอ้างว่า ปฏิบัติการดังกล่าวเป็นการต่อต้านการก่อการร้าย

สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานอ้างการเปิดเผยของหน่วยงานนานาชาติหลายแห่งที่ยืนยันว่า ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราวที่รัฐบาลไทยจัดไว้ให้ผู้หนีภัยจากเมียนมา ขณะที่นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกรัฐบาล ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นในกรณีดังกล่าวกับรอยเตอร์ส โดยย้ำเพียงว่า รัฐบาลไทยได้ให้ความช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรมสากล

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า