SHARE

คัดลอกแล้ว

ในปี 2021 เราจะเห็นว่าเศรษฐกิจของจีนได้ผ่านจุดสำคัญไปหลายจุด อย่างเช่นการเข้ามาจัดการกับภาคเอกชนอย่างจริงจัง การคุมความเสี่ยงของเศรษฐกิจ แต่ยังไงในปี 2022 นี้ก็ยังคงมี ‘ปัจจัยเสี่ยง’ ของ ‘เศรษฐกิจจีน’ ที่ต้องจับตามอง เพราะนั่นอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจในระยะยาวหลังจากนี้

ตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดของจีน คือ GDP ในไตรมาส 4 ของปี 2021 อยู่ที่ 4% และนั่นทำให้ทั้งปี 2021 เศรษฐกิจจีนเติบโต 8.1% ซึ่งถือว่าเติบโตดีกว่านักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ที่คาดไว้ว่าเศรษฐกิจจีนจะเติบโตในช่วง 7.8-8% 

TODAYBizview จะพาไปดูประเด็นสำคัญที่ต้องจับตามองในปี 2022 นี้  เพราะหลายประเด็นจะส่งแรงสะเทือนทั้งในจีนและในระดับโลก

จีนจะอยู่กับนโยบายโควิดเป็นศูนย์ได้นานขนาดไหน

อย่างที่เราทราบกันว่าหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 จีนมีนโยบายที่สำคัญ และไม่เหมือนกับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะโลกตะวันตกนั่นคือ ‘นโยบายโควิดเป็นศูนย์’ (Zero-Covid strategy)

หลังจากหน่วยงานสาธารณสุขของจีน ยืนยันว่า ‘นโยบายโควิดเป็นศูนย์’ ของจีนนั้นมีต้นทุนทางเศรษฐกิจที่น้อยกว่าการเปิดประเทศแล้วกลับมามีการแพร่ระบาด เพราะอัตราการเสียชีวิตจากโควิดของทั่วโลกระดับ 2% นั้นสูงเกินที่จีนจะยอมรับได้

แต่การเลือกใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์ของจีนก็สร้างผลกระทบไม่น้อย เพราะทำให้ภาคการผลิตยังไม่สามารถกลับมาดำเนินงานได้ 100% และนั่นทำให้ห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ของหลากหลายอุตสาหกรรมทั่วโลกที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนต่างๆ จากประเทศจีนได้รับผลกระทบอย่างหนัก ส่งผลต่อเนื่องมาอีกทอด สู่ ‘ปัญหาเงินเฟ้อ’ ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ด้วย

นอกจากนี้ ในการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนที่มีอัตราการแพร่กระจายได้ไวกว่าสายพันธุ์เดลต้านั้นจะเป็นคำถามที่ว่ารัฐบาลจีนจะสามารถจัดการในการแพร่ระบาดได้ดีขนาดไหน ล่าสุดมีข่าวการแพร่ระบาดในบางเมืองของจีนแล้ว

ไม่เพียงแค่การจัดการของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงนโยบายในการบริหารต้นทุนความเดือดร้อนของประชาชนได้มากแค่ไหนด้วย เนื่องจากไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ในเมืองซีอานนั่นทำให้ประชาชนหลายคนประสบปัญหาไม่สามารถที่จะหาอาหารและสิ่งของจำเป็นที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เนื่องจากมาตรการคุมเข้ม 

แต่ขณะเดียวกันทางการจีนเองต้องการที่จะทำให้เคสการติดเชื้อของประชาชนเองลดลงมาก่อนที่จะมีการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว รวมถึงก่อนเทศกาลตรุษจีน เพื่อที่ประชาชนจะสามารถออกมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ

‘รุ่งเรืองร่วมกัน’ จะส่งผลดีแน่รึเปล่า

หลังจากในปี 2021 ที่ผ่านมาจีนได้มีการนำนโยบายความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน หรือที่เราได้ยินกันในชื่อ Common Prosperity และนั่นทำให้เกิดการกวาดล้างในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเทคโนโลยี ธุรกิจติวเตอร์ ธุรกิจการแพทย์ ไปจนถึงอุตสาหกรรมการเกษตร 

ทำให้หลายบริษัทเองถูกทางการจีนจัดการ ไม่ว่าจะเป็นยักษ์ใหญ่อย่าง Tencent หรือ Alibaba ที่โดนทางการจีนปรับไปเป็นจำนวนมหาศาล เนื่องจากมีกรณีของการผูกขาดแพลตฟอร์ม ไปจนถึงการซื้อกิจการที่เกี่ยวข้อง 

นอกจากนี้ ในปี 2021 เรายังเห็นจีนเริ่มกลับมาจัดการกับอีกหนึ่งอุตสาหกรรมเพิ่มเติมนั่นก็คือภาคอสังหาริมทรัพย์ กับบริษัทที่กลายเป็นข่าวอย่างต่อเนื่องอย่าง ‘เอเวอร์แกรนด์’ เนื่องจากอุตสาหกรรมดังกล่าวได้สร้างหนี้มหาศาลและสร้างความเสี่ยงให้กับเศรษฐกิจจีน จึงทำให้ทางการจีนลงมาจัดการ

ส่วนผลกระทบที่ตามมาคือ แม้ในไตรมาส 3 ของปี 2021 จีนจะมี GDP เติบโตมากถึง 4.9% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ของปี 2020 แต่ตัวเลขหลายอย่างอย่างค้าปลีกก็ยังต่ำกว่าคาด จึงเป็นคำถามว่าเศรษฐกิจจีนจะเป็นอย่างไรต่อไปในอนาคต

มาในปี 2022 จึงเป็นคำถามที่ว่าจีนจะใช้มาตรการทางเศรษฐกิจอย่างไร จะใช้รัฐวิสาหกิจในการนำทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจ หรือกลับมาผลักดันเศรษฐกิจจีนผ่านภาคเอกชนหลังจากจัดการในเรื่องต่างๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

ขณะเดียวกันนโยบายของเศรษฐกิจในปี 2022 ต้องสอดคล้องกับนโยบาย Common Prosperity ที่ทุกภาคส่วนรวมถึงประชาชนต้องได้ผลประโยชน์ที่ใกล้เคียงกันอีกด้วย รวมถึงนโยบายเศรษฐกิจของจีนหลังจากนี้จะต้องเป็นการสร้างเสถียรภาพให้กับเศรษฐกิจจีน แตกต่างกับในอดีตที่ผ่านมาที่เน้นการเติบโตเป็นหลัก

สภาพคล่องจะลดมากน้อยแค่ไหน

ปัจจัยที่น่ากังวลอีกเรื่องก็คือ ‘สภาพคล่องของเศรษฐกิจจีน’ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังเหตุการณ์ของภาคอสังหาริมทรัพย์อย่างบริษัทเอเวอร์แกรนด์ เพราะช่วงเหตุการณ์ดังกล่าวยังส่งผลทำให้สภาพคล่องในเศรษฐกิจลดลงอย่างมาก

เนื่องจากประชาชนเองก็ไม่อยากที่จะนำเงินไปสูญเสียกับการลงทุนในภาคเอกชน แม้ว่าหลายภาคอุตสาหกรรม (เช่น อสังหาริมทรัพย์) หรือหลายบริษัทจะให้ผลตอบแทนหุ้นกู้ในอัตราที่สูงก็ตาม

และนั่นทำให้บริษัทต่างๆ ที่ต้องการเม็ดเงินหมุนเวียนในบริษัท หรือแม้แต่การนำเงินไปลงทุนต่อยอด เกิดปัญหาขึ้นมาทันที ผลกระทบดังกล่าวนี้เองย่อมส่งผลต่อไปยังเศรษฐกิจของจีนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนั้นเป็นคำถามสำคัญที่ว่ารัฐบาลจีนจะแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไร ผ่านกลไกลนโยบายของธนาคารกลาง ไม่ว่าจีนจะปรับลดอัตราสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ หรือที่เรารู้จักกันดีคือ RRR 

อย่างไรก็ดี หลังจากมีการประกาศตัวเลข GDP ในไตรมาส 4 ของปี 2021 ธนาคารกลางจีนก็ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยของธุรกรรมให้กู้ยืมสภาพคล่องระยะกลาง (MLF) มาอยู่ที่ 2.85% จากเดิมที่ 2.95% ซึ่งเซอร์ไพรส์ตลาดไม่น้อย 

เนื่องจากตลาดคาดว่า ธนาคารกลางจีนจะคงดอกเบี้ยในส่วนนี้ด้วยซ้ำ ซึ่งการลดดอกเบี้ยในส่วนของ MLF จะช่วยให้เศรษฐกิจจีนมีสภาพคล่องเพิ่มได้มากขึ้น

หลังจากนี้เราคงต้องมาดูกันว่านโยบายเศรษฐกิจจีนจะเป็นเช่นไร ภายใต้สภาวะความท้าทายเช่นนี้ ซึ่งนักลงทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้นจีนเป็นหลัก หรือแม้แต่ผู้ที่ลงทุนกองทุนรวมที่มีการลงทุนในประเทศจีนอาจต้องติดตามนโยบายเศรษฐกิจของประเทศจีนอย่างใกล้ชิดมากกว่าในปี 2021 ที่ผ่านมา

ที่มา CNBC, The Diplomat, Foreign Policy, SCMP, บทวิเคราะห์จาก ING

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า