SHARE

คัดลอกแล้ว

สรุปดราม่า ‘ธนาธร’ วาดภาพ ‘เบนจา’ ลอกผลงานคล้ายศิลปินโปแลนด์

หลังจากกรณีที่ อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้โพสต์ข้อความระบุว่า “ภาพวาด ‘เบนจา อะปัญ’ ฝีมือ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ถูกประมูลไปในราคา 3.3 ล้านบาท เงินที่ได้มอบให้ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน”

วันที่ 19 ม.ค. 2565 ทวิตเตอร์มีการติดแฮชแท็ก #ลอกผลงาน ซึ่งพูดถึงภาพ “When She Opens the Door” หรือภาพวาด ‘เบนจา อะปัน’ ผลงานภาพวาดของ ธนาธร ที่ได้มีการลงประมูลในรูปแบบ NFT (Non-fungible Token) ผ่านช่องทางสตาร์ทอัพเจ้าใหม่ อย่าง NFT1 โดยมีการจัดประมูลตั้งแต่ในวันที่ 10 ม.ค. และเสร็จสิ้นไปเมื่อคืนวันที่ 17 ม.ค. ที่ผ่านมา ทำให้ถูกจับตามองว่า ภาพวาดดังกล่าวมีลักษณะใกล้เคียงกับภาพวาดที่มีชื่อว่า ‘Night light’ ของ Damian Lechoszest ศิลปินชาวโปแลนด์ ที่เคยวาดไว้เมื่อราว 2 ปีก่อน

โดยข้อมูลจาก GQ Thailand ได้กล่าวถึง NFT หรือ Non-Fungible Tokens ไว้ว่า NFT คือ เหรียญโทเคน หรือสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งจะยึดโยงกับผลงานในรูปแบบไฟล์ดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะ เพลง เกม และกีฬา ถ้าอธิบายแบบเข้าใจง่ายก็คือการแสดงความเป็น ‘เจ้าของ’ ในสินทรัพย์ดิจิทัลชนิดนั้น และการขายงานศิลปะในรูปแบบ NFT ในวงการศิลปะไทยมีเริ่มมีความคึกคักมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากศิลปินไทยอย่าง ติ๊ก ชีโร่ , ยังโอม (Youngohm) แร็ปเปอร์ชื่อดัง หรือ หมู-ไตรภัค สุภวัฒนา นักเขียนการ์ตูนอิสระและนักวาดภาพประกอบอิสระ ก็นำงานศิลปะมาขายในรูปแบบดังกล่าวเช่นกัน

ซึ่งเมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2565 ที่ผ่านมา คุณธนาธร ได้มีการโพสต์รูปภาพและระบุข้อความเกี่ยวกับการประมูลศิลปะดิจิทัล โดยมีผลงานของตนเองที่เข้าร่วมประมูลด้วย จำนวน 3 ชิ้น ดังนี้

ชิ้นแรก : “When She Opens the Door”

ในงานชิ้นนี้ ธนาธร ระบุว่า ป็นภาพของ ‘เบนจา อะปัญ’ แกนนำกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ที่กำลังเปิดประตู ถือตะเกียงส่องสว่างขับไล่ความมืดมิด ซึ่งรายได้จากภาพนี้จะนำไปบริจาคให้ “ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน” ทั้งยังระบุงานชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจจาก Damian Lechoszest ศิลปินชาวโปแลนด์ที่วาดภาพคนและบรรยากาศก่อนสมัยใหม่ไว้หลายภาพ

ชิ้นที่สอง : “Silence”

ธนาธร ระบุว่า เป็นภาพวาดที่ใช้โปรแกรม ProCreate วาด และได้แรงบันดาลใจจากภาพวาดของ @colorbyfeliks โดยรายได้จากภาพนี้จะนำไปบริจาคให้มูลนิธิคณะก้าวหน้าใช้ทำกิจกรรมต่อไป

ชิ้นที่สาม : “The sky is angry, so is the traveler”

ธนาธร ระบุว่าตนวาดภาพนี้เมื่อเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2563 ในช่วงที่สถานการณ์การเมืองในไทยกำลังร้อนแรง โดยรายได้จากภาพนี้จะมอบให้กับ iLAW เพื่อให้พวกเขาได้นำไปใช้เกี่ยวกับกฎหมายเพื่อประชาชน

หลังจากเสร็จสิ้นการประมูล ในวันถัดมา (วันที่ 18 มกราคม) อมรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล รวมถึงสื่อสำนักต่างๆ ก็เริ่มมีการประกาศผลการประมูลภาพวาดของคุณธนาธร และพูดถึงภาพของ ‘เบนจา’หรือ “When She Opens the Door” ที่สามารถกวาดราคาสูงสุดราว 3.3 ล้านบาท โดยผู้ใช้บัญชี ‘mockingbird112’ เป็นผู้ชนะ

สำหรับภาพชิ้นที่ 2 “Silence” ถูกประมูลในราคาราว 157,000 บาท โดยบัญชีผู้ใช้ ‘4c6961’ เป็นผู้ชนะการประมูล และภาพชิ้นที่ 3 “The sky is angry, so is the traveler” ถูกประมูลผู้ใช้บัญชี ‘sherlock’ ในราคาราว 75,000 บาท โดยรายได้จากทั้ง 3 ภาพ หลังจากหักค่าธรรมเนียม 30% แล้ว ก็จะนำไปมอบให้กับองค์กรต่างๆ ตามที่ธนาธรได้ระบุไว้ในโพสต์

หลังจากที่ภาพวาด “When She Opens the Door” ของธนาธร ได้มีการเผยแพร่ออกไปมากขึ้น ก็เริ่มมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตตั้งข้อสงสัยถึงผลงานชิ้นนี้ว่ามีลักษณะใกล้เคียงกับภาพวาดที่มีชื่อว่า ‘Night light’ ของ Damian Lechoszest ศิลปินชาวโปแลนด์ ที่เคยวาดไว้ราว 2 ปีก่อน นอกจากนี้เฟซบุ๊กเพจ “ประชาชนไซเบอร์ V2” และผู้ใช้งานท่านอื่น ๆ ก็ยังมีการนำภาพวาดคุณธนาธร และ Damian มาเปรียบเทียบกัน รวมถึงนำภาพจากคลิปวิดีโอที่คุณธนาธรวาดภาพมา พร้อมกับตั้งข้อสังเกตว่า ธนาธร “ลอกผลงาน” ของศิลปินข้างต้นหรือไม่

ทางด้าน ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว เป็นคนที่ออกมาวิจารณ์ประเด็นการเมืองบ่อยๆ หลายคนน่าจะรู้จักกันดีโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ถึงกรณีดังกล่าวเช่นกันว่า “ภาพวาดของนายธนาธร มีความคล้ายคลึงกับผลงานต้นฉบับเป็นอย่างมาก ต่างกันเพียงแค่ฝีมือในการวาดและเปลี่ยนเด็กผู้หญิงในภาพต้นฉบับให้กลายเป็น ‘เบนจา อะปัญ’ เท่านั้น จึงส่งผลให้ประชาชนจำนวนไม่น้อย ตั้งข้อสงสัยว่าเป็นการ “ลอก” มากกว่า “ได้รับแรงบันดาลใจ” หรือไม่?”

รวมถึงภาพ “Silence” ด้วยเช่นกันเดียวที่มีการพูดถึงในโลกโซเชี่ยลว่ามีลักษณะใกล้เคียงกับภาพต้นฉบับของ @colorbyfeliks ซึ่งหลังจากกระแสเริ่มเผยแพร่ออกไป ก็ทำให้มีผู้มาวิพากษ์วิจารณ์และแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก จนเกิดเป็น #ลอกผลงาน ในทวิตเตอร์

นอกจากนี้ด้านเฟซบุ๊กเพจ “เสธ.Play” และ “สติค่ะลูกกกก” ก็ได้ตั้งข้อสังเกตถึงผู้ชนะการประมูล หรือผู้ใช้งาน ID : mockingbird112 ที่ชนะการประมูลไปในราคากว่า 3 ล้านบาท โดยระบุถึงความไม่ปกตินี้ว่า ใน Transaction (รายการธุรกรรม) การประมูล มีผู้ประมูลเพียง 3 คนเท่านั้น และมีการไล่ราคาที่ประมูลไม่ปกติเป็นอย่างมาก โดยการประมูล 2 ครั้งแรกหยุดในวันที่ 11 มกราคม 2565 เวลา 21.57 ในราคา 1.63 bnb หรือประมาณ 24,774 บาท และหลังจาก 11 มกราคม 2565 ก็ไม่มีการไล่ราคาเพิ่ม

จนกระทั่งวันที่ 17 ม.ค. 2565 เวลา 19.10 น. มีการประมูลแข่งกัน 3 คน อีกประมาณ 16 รายการ และท้ายที่สุดก็ไปจบราคาที่ 199.99 bnb หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 3.12 บาท โดย mockingbird112 เป็นผู้ชนะการประมูล ซึ่งเป็นที่น่าแปลกใจว่าเหตุใดราคาของภาพดังกล่าว มีการกระโดดจาก 2 หมื่นกว่าบาท เป็น 3 ล้านบาทภายในระยะเวลาอันสั้น (ซึ่งตามแหล่งข่าวระบุว่าบัญชี mockingbird112 มีการทำการซื้อขายและเริ่มมีการประมูลจริงในวันที่ 17 มกราคม 2565 ตั้งแต่เวลา 19.44 น. ถึง 21.20 น. คิดเป็นเวลาเกือบ 2 ชั่วโมง)

อีกหนึ่งข้อสังเกตที่ทั้ง 2 เพจ ระบุ คือ mockingbird112 เป็น ID ที่เพิ่งสมัครก่อนการประมูลไม่นาน และไม่เคยมีงาน NFT ในคลังสะสม ประกอบกับการตั้งชื่อ mockingbird ซึ่งเป็นนกสายพันธุ์หนึ่งที่มีบทบาทในเรื่อง The Hunger Game รวมกับตัวเลข 112 ที่มาจาก ม.112 ดังนั้น จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า id นี้อาจถูกสร้างมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ หรืออาจมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มการเมืองของกลุ่มสามนิ้วหรือไม่ ประกอบกับก่อนวันประมูลก็พบว่า มีเงินเข้ากระเป๋าของ mockingbird112 ประมาณ 3.1 ล้านบาท จึงตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมว่าเป็นการฟอกเงินผ่านการซื้อขาย NFT หรือไม่ เนื่องจากเงินที่เคลื่อนที่ผ่านระบบนี้ไม่สามารถตรวจสอบที่มาได้

ล่าสุดเมื่อประมาณ 12.00 น. 19 ม.ค. 2565 ธนาธร ได้ออกมาโพสต์ข้อความทั้งในเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ เพื่อชี้แจงถึงประเด็นดังกล่าวว่า “ผลงานศิลปะของตนที่ถูกประมูลใน NFT ไม่ใช่การ #ลอกผลงาน” โดยมีใจความว่า ประหลาดใจอย่างมากที่มีการปั่นกระแสกันในโซเชียลมีเดีย ว่าผลงาน When She Opens the Door และ Silence ซึ่งถูกประมูลในตลาด NFT เป็นการลอกเลียนแบบผลงานศิลปินต่างประเทศ ทั้งมีการตำหนิอย่างรุนแรงว่าเป็นผู้ไม่เคารพสิทธิของศิลปิน ขโมยความคิดสร้างสรรค์ของคนอื่นมาเป็นผลงานของตนเอง ซึ่งเป็นข้อหาที่ร้ายแรงและไม่เป็นธรรมอย่างมาก

ทั้งยังระบุว่า วิธีการวาดภาพของตนก็เหมือนกับคนเรียนวาดเขียนส่วนใหญ่ในโลก นั่นคือการฝึกวาดจากงานศิลปะชั้นครู หรืองานที่ตัวเองชื่นชอบ และภาพทุกภาพที่ตนวาด ไม่ได้คิดว่าจะเปิดเผยต่อสาธารณะ แต่เมื่อตนตัดสินใจนำภาพมาประมูล เพื่อนำรายได้ไปบริจาคให้กับองค์กรต่าง ๆ ตนก็ได้ระบุชัดว่าภาพแต่ละชิ้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากผลงานชิ้นใด และไม่อาจเข้าใจได้เลยว่าเกิดการปั่นกระแส ลอกผลงาน ได้อย่างไร

ธนาธร ย้ำอีกว่า ภาพ When She Opens the Door ได้ระบุทั้งในโพสต์เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ ว่า ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพของ Damian Lechoszest และยังเขียนอีเมลถึงศิลปินเจ้าของภาพถึงเรื่องราวการต่อสู้ของเบนจา และแรงบันดาลใจของผมในการการวาดภาพนี้เพื่อนำเงินที่ได้จากการประมูลไปมอบให้กับองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย พร้อมทั้งแนบหลักฐานการส่งอีเมล

ส่วนภาพ Silence ตนก็ได้ระบุไว้ชัดเจนแล้วเช่นกันว่าได้รับแรงบันดาลใจจาก @colorbyfeliks ซึ่งเจ้าตัวระบุไว้ว่าใครนำภาพของเขาไปสร้างสรรค์ต่อก็แค่ให้เครดิตชื่อเขาไว้ก็เพียงพอ ถือว่าเป็นธรรมชาติของวงการ digital art ที่จะมีการทำซ้ำ เผยแพร่ ส่งต่อผลงาน

ทั้งยังขอให้ปฏิบัติการ IO และสื่อบางสำนักหยุดกระบวนการทำลายชื่อเสียงของตน และเชื่อว่าประชาชนมีวิจารณญาณพอที่จะแยกแยะข้อเท็จจริงออกจากข่าวลวง การปลุกปั่นกระแส และการใส่ร้ายสร้างความเกลียดชัง

ซึ่งหลังจากที่ ธนาธรชี้แจงแล้ว ก็ทำให้คนเข้ามาร่วมให้กำลังใจเป็นจำนวนมาก ในขณะเดียวกันก็ยังคงมีการตั้งคำถามต่อถึงอีเมลตอบกลับ Damian Lechoszest ศิลปินชาวโปแลนด์ถึงการยินยอมให้คุณธนาธรใช้ภาพดังกล่าวหรือไม่ เนื่องจากมีเงื่อนไขการซื้อ-ขาย ประกอบกับตั้งข้อสังเกตว่าการประมูลภาพนั้นเริ่มในวันที่ 10 ม.ค. แต่เหตุใด ธนาธรจึงเขียนอีเมลแจ้งเจ้าของภาพวาดในวันที่ 11 ม.ค. รวมถึงผู้ใช้งานจำนวนมากก็ได้ใช้พื้นที่ในการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์ในงานศิลปะเช่นกัน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า