SHARE

คัดลอกแล้ว

#Futureofwork ทำความรู้จัก ‘กลุ่มคนชอบอู้’ ในยุค Work From Home ทำอย่างไร ให้ดูเหมือนว่า ทำงานหนักตลอดเวลา

ในยุคที่เราทำงานกันในออฟฟิศ น่าจะเคยเห็นคนที่ชอบทำท่าทางหัวฟัดหัวเหวี่ยง รำคาญใจที่โต๊ะทำงาน พิมงานเสียงดังๆ ถอนหายใจยาวๆ หรือหอบเอกสารเดินไปเดินมา 

บางคนก็งานยุ่งจริง แต่อีกจำนวนไม่น้อย ก็ทำไปเพื่อจะแสดงว่ากำลังครุ่นคิดกับงาน 

หรือพูดง่ายๆ คือ เขาหรือเธอกำลังแสดงเป็นทำงานหนัก ทั้งๆ ที่ไม่ได้สร้างสรรค์งานอะไรออกมาจริงจัง

แต่ในยุคที่เราทำงานกันที่บ้าน การแสดงแสร้งว่าทำงานแบบเดิมๆ มันไม่ได้ผลอีกแล้ว

[ จะออฟฟิศ หรือออนไลน์ ก็แสร้งเป็นงานยุ่งได้ทุกที่ ]

ในบทความ The rise of performative work ของ The Economist ตั้งประเด็นไว้น่าสนใจมากว่า แม้เราจะทำงานที่บ้าน ไม่ได้เห็นการแสดงของ ‘กลุ่มคนชอบอู้’ แบบตำตาในออฟฟิศ 

แต่เอาเข้าจริง คนเหล่านี้ก็สามารถปรับตัว เปลี่ยนออฟฟิศเสมือนจริง (แพลตฟอร์มทำงานทางไกล แชทบริษัท อีเมล แอปประชุมออนไลน์ ฯลฯ) ให้เป็นโรงละครหลังใหม่ สามารถแสดง แกล้งว่าทำงานจนหัวหมุน ได้เหมือนครั้งยังทำงานอยู่ในออฟฟิศ

ในสภาพที่คนอู้งานสามารถแกล้งทำเป็นทำงานหนักโดยไม่มีผลงานจริงๆ ออกมา อย่างดีคือทำให้งานไม่เดิน อย่างแย่คืออาจทำให้องค์กรประเมินผลงานของคนในองค์กรผิดไป และไม่ว่าจะไปตกอยู่ในเคสไหน ก็ไม่ใช่สถานการณ์ที่ดีต่อองค์กรเลย

ลองมาดูกันว่า ในยุค Work From Home กลุ่มคนชอบอู้ ใช้วิธีการอะไรแสดง แกล้งเป็นทำงานหนักบ้าง เพื่อเลี่ยงไม่ให้องค์กรตกอยู่ในสภาพที่มีคนอู้งานแต่จับไม่ได้ เพราะไม่ว่าใครก็ ‘ดู’ จะทำงานหนักกันไปหมด

ลองมาดู 4 วิธีแสร้งเป็นทำงานหนักในยุค work from home 

รู้ไว้ก่อน เพื่อเลี่ยงไม่ให้องค์กรตกอยู่ในสภาพมีคนอู้งาน แต่จับไม่ได้ เพราะไม่ว่าใครในยุคนี้ ก็ ‘ดู’ จะทำงานหนักกันไปหมด

[ จับไต๋คนแกล้งทำงานหนักในยุค WFH ]

1) แสดงตัวตลอดเวลา 

นี่คือวิธีที่ง่ายที่สุดคือใช้วิธีการ ทำตัวออนไลน์ในแชทของบริษัทตลอดเวลา ถ้าจะเปรียบกับยุคทำงานออฟฟิศก็คือ การมาเข้างานเช้า และเลิกงานช้า เจ้านายเรียกหาได้ตลอด และถ้ามีนัดหมายไม่ว่าจะสำคัญมากน้อยแค่ไหน ก็อัปลงปฎิทินบ่อยๆ คนจะได้เห็นว่างานเรายุ่ง

2) ตอบให้ไวเข้าไว้

เทคนิคขั้นสูงขึ้นมาหน่อย ใช้ประโยชน์จากแอปแชทหรืออีเมล ยิ่งตอบเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดี และล้ำกว่านั้นคือตั้งเวลาส่งเมลไว้เช้าๆ หรือในช่วงสุดสัปดาห์ (หรือดีที่สุดคือเช้าสุดสัปดาห์ไปเลย) แค่นี้ก็ดูทำงานหนักไปอีก

3) ทำให้ดูเหมือนว่ามีส่วนร่วมตลอด

แม้แต่ในการประชุมออนไลน์ ก็มีหลายวิธีการที่ทำให้ดูมีส่วนร่วมกับงาน เช่น พยักหน้าบ่อยๆ แสดงสีหน้าเป็นสนใจ แถมการพิมพ์คำถาม (ที่ไม่จำเป็นต้องมี หรือเป็นคำถามที่ไม่สำคัญ) ลงในแชทบ่อยๆ ก็เป็นวิธีออกหน้าที่ดีอย่างหนึ่ง เพราะแม้แต่ CEO ของ Microsoft ก็เคยบอกเองว่า การตั้งคำถามในแชทจะทำให้เขารู้จักคนที่ไม่เคยรู้จักได้

4) แท็กเก่ง ทิ้งคอมเมนต์บ่อยๆ

ยิ่งในยุค Work From Home เราทำงานกันบน workspace ที่แชร์ร่วมกับคนอื่น การทิ้งคอมเมนต์ แท็กเพื่อนร่วมงานคน ก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ทำให้ดู active เพราะทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงในเอกสารก็จะมีการแจ้งเตือนไปยังคนอื่น

[ คำถามคือ ใครเสียประโยชน์จากเรื่องนี้? ]

คำตอบคือบรรดาคนที่ทำงานจริงๆ จังๆ เพราะนอกจากการอู้จะทำให้งานไม่เดินแล้ว คนทำงานจริงอาจเสียโอกาสในหน้าที่การงาน เพราะแสดงตัวได้ไม่เก่งเท่า 

และเรื่องนี้ก็มีงานวิจัยมาตอกย้ำจริงๆ เพราะพบว่าพนักงานศักยภาพสูงส่วนใหญ่มักจะติดต่อผ่านโทรศัพท์ หรือช่องทางส่วนตัว มากกว่าแสดงออกในที่สาธารณะให้คนอื่นเห็น

[ ถ้าระบบได้ แสดงเก่งแค่ไหนก็ไม่พ้นสายตา ]

เพื่อความเป็นธรรม ต้องบอกว่า ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ ‘ดู’ ทำงานหนัก จะเป็นกลุ่มคนชอบอู้

บางคนจำต้องทำ เพราะนี่คือสิ่งที่หัวหน้าอยากเห็น และยังมีงานวิจัยชี้อีกว่าพนักงานออฟฟิศส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จากความยุ่ง แต่เป็นความยุ่งแบบพอดีๆ (Optimal Busyness) ไม่ได้ยุ่งจนหัวปั่น แต่ก็ไม่ได้ว่างงานจนเฉื่อยชา เพื่อสร้างแรงกดดันกระตุ้นศักยภาพในการทำงานของตัวเอง

ดังนั้น ไม่ต้องไปจับผิดว่าใครยุ่งจริงใครยุ่งปลอม คนระดับหัวหน้า คนประเมินงาน ต้องมองสิ่งเหล่านี้ให้ออก เลิกให้ความสำคัญกับการแสดงตัว (appearance) เน้นการประเมินพนักงานที่ผลงาน (result) 

เอมิลิโอ เจ. กัสตียา ศาสตราจารย์ด้านการบริหารประสิทธิภาพการทำงานจาก MIT พูดถึงการสร้างระบบไว้ได้น่าสนใจ เขาชี้ว่า ในการชี้วัดว่าใครทำงานได้ดีจริงๆ บริษัทต้องมีระบบประเมินพนักงานแต่ละคนที่ดี มีเกณฑ์ชี้วัดผลงานที่มีความโปร่งใส ตรวจนับจับต้องได้ และสอดประสานไปกับกับเป้าหมายบริษัท 

นั่นหมายความว่าการที่พนักงานแสดงตัวว่าทำงานหนัก เช่น ตอบอีเมลเร็ว หรือ มีนัดหมายในปฏิทินเยอะ ไม่ได้หมายความว่าจะทำงานได้ดี 

และต่อให้การตอบอีเมลเร็ว และการมีนัดหมายเยอะช่วยให้ทำงานได้ดีจริงๆ การประเมินจากผลลัพธ์จะเป็นตัวชี้ให้เห็นเอง

และสำคัญที่สุดคือ ผลลัพธ์ ต้องหมายถึง Outcome หรือ งานที่ทำออกมาแล้วมีประโยชน์แค่ไหน ไม่ใช่ประเมินกันแค่ Output หรือ จำนวนงาน ปริมาณงาน ว่าทำไปมากเท่าไหร่

เพราะต่อให้พนักงานดูทำงานหนักแค่ไหน ทำงานมากเท่าไหร่ แต่ถ้าผลงานไม่มีประโยชน์ นั่นก็ไม่ใช่ผลลัพธ์ที่ดีของการทำงาน

ที่มา

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า