SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – ปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลก หรือที่มักเรียกกันว่า ซูเปอร์ฟูลมูน ที่เจดีย์หลวง วัดราชบูรณะ อ.เมือง แลนด์มาร์คเด่นสง่าของ จ.พิษณุโลก ริมฝั่งแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก

ช่วงเวลา 18.20-18.30 น. วันที่ 3 ธ.ค. 60 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 1 วันนี้วันพระ และเป็นอีกหนึ่งคืนที่เกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลก หรือที่มักเรียกกันว่า ซูเปอร์ฟูลมูน ที่เจดีย์หลวง วัดราชบูรณะ อ.เมือง แลนด์มาร์คเด่นสง่าของ จ.พิษณุโลก ริมฝั่งแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก

ช่วงหัวค่ำ พระจันทร์เต็มดวงค่อยๆ เคลื่อนตัวสูงขึ้นมา เมื่อมองจากแม่น้ำน่านฝั่งตะวันตก ดูงดงามอย่างยิ่ง ประชาชนที่มาออกกำลังกาย นั่งพักผ่อนย่านร้านนมฝั่งศาลจังหวัด ต่างได้ชื่นชมกับพระจันทร์เต็มดวง ที่เคลื่อนมาคู่กับเจดีย์หลวงวัดราชบูรณะ

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยข้อมูลว่า ในคืนวันที่ 3 ธ.ค. 60 นี้จะเกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลก หรือที่มักเรียกกันว่า ซูเปอร์ฟูลมูน (Super Full Moon) ในวันดังกล่าวดวงจันทร์จะปรากฏในตำแหน่งใกล้โลก ที่ระยะห่าง 357,973 กิโลเมตร ทำให้ดวงจันทร์มีขนาดปรากฏใหญ่กว่าดวงจันทร์เต็มดวงปกติ ประมาณ 6.3 เปอร์เซนต์ สามารถสังเกตเห็นได้ตั้งแต่ช่วงเวลา 17.50 น. โดยประมาณ ทางทิศตะวันออกเป็นต้นไป

โดยซูเปอร์ฟูลมูน (Super Full Moon) หรือดวงจันทร์เต็มดวงในตำแหน่งใกล้โลก ที่ทำให้คนบนโลกสามารถมองเห็นดวงจันทร์มีขนาดใหญ่กว่าปกติ สำหรับช่วงปกตินั้นดวงจันทร์จะมีระยะห่างเฉลี่ย 382,000 กม. โดยปรากฏการณ์ซูเปอร์ฟูลมูนนั้น ดวงจันทร์มีระยะห่างจากศูนย์กลางโลกตั้งแต่ 360,000 กม.ลงมา และ ไมโครมูน (Micro Moon) หรือดวงจันทร์ไกลโลกมากที่สุด เมื่อดวงจันทร์มีระยะห่างจากศูนย์กลางโลกตั้งแต่ 400,000 กม.ขึ้นไป

ในแต่ละเดือนจะมีทั้งวันที่ดวงจันทร์ไกลโลก และดวงจันทร์ใกล้โลก ตำแหน่งที่ดวงจันทร์ใกล้โลกมากที่สุด เรียกว่า เปริจี (Perigee) มีระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 357,000 กิโลเมตร และตำแหน่งที่ดวงจันทร์ไกลโลกมากที่สุด เรียกว่า อะโปจี (Apogee) มีระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 406,000 กิโลเมตร การที่ผู้คนบนโลกสามารถมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงที่โตกว่าปกติเล็กน้อยในคืนที่ดวงจันทร์โคจรเข้ามาใกล้โลก นับเป็นเหตุการณ์ปกติที่สามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์

จากการเก็บข้อมูลของนักดาราศาสตร์พบว่า การเกิดปรากฏการณ์ซูเปอร์ฟูลมูน (Super Full Moon) นั้นจะเกิดขึ้นทุกๆ ดวงจันทร์เต็มดวง 14 ครั้ง หรือประมาณ 411.8 วัน สำหรับปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลก ซูเปอร์ฟูลมูน ในวันที่ 3 ธ.ค. 60 นี้ นักดาราศาสตร์อาจไม่ประชาสัมพันธ์ข่าวนี้มากนัก เนื่องมาจากปรากฏการณ์ดังกล่าว เป็นปรากฏการณ์ดวงจันทร์ใกล้โลกตามคำจำกัดความของคำว่า ซูเปอร์ฟูลมูน คือเมื่อดวงจันทร์มีระยะห่างจากศูนย์กลางโลกตั้งแต่ 360,000 กิโลเมตรลงมา นั่นเอง ซึ่งช่วงวันที่ 3 ธ.ค. 60 นั้น ระยะห่างของดวงจันทร์เต็มดวงยังไม่ใช่ช่วงที่เข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี

โดยการเกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงเข้าใกล้โลกมากที่สุด จะเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 2 ม.ค. 61 ซึ่งเป็นช่วงที่ดวงจันทร์เข้าใกล้โลกมากที่สุด

ขอบคุณที่มา : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า