SHARE

คัดลอกแล้ว

“ข้าวยาก หมากแพง เงินเท่าเดิม แต่ซื้อของได้น้อยลง” ตอนนี้จะมีปัญหาไหนสะเทือนโลกการเงินแบบถ้วนหน้าทั่วโลกเท่ากับปัญหา ‘เงินเฟ้อ’ ที่กำลังสร้างความกังวลให้กับประชาชนทั่วไป และสร้างความปวดหัวให้กับรัฐบาลและธนาคารกลางของนานาประเทศทั่วโลก แต่จริงๆ แล้วสาเหตุของปัญหาเงินเฟ้อทั่วโลกรอบนี้คืออะไร

TODAY Bizview ชวนอ่านสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อขึ้นทั่วโลก และส่องแนวทางข้ามผ่านปัญหาเงินเฟ้อรอบนี้

[ ข้าวยาก หมากแพง เงินเฟ้อ คืออะไร ]

สำหรับเงินเฟ้อตามความหมายของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นหมายถึง ภาวะราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งถ้าหากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากจะกระทบต่อ ความเป็นอยู่ของประชาชน

ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา เราจะเห็นว่าประเทศไทยประสบปัญหาดังกล่าว เช่น ราคาพลังงานสูงขึ้น ราคาสินค้าหลายอย่างสูงขึ้น นั่นทำให้ประชาชนเกิดความทุกข์ยากตามมาทันที

โดยส่วนใหญ่แล้วเป้าหมายเงินเฟ้อของแต่ละประเทศส่วนใหญ่ในโลกจะอยู่ในช่วง 1-5% อย่างของไทยนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังจะตั้งตัวเลขกรอบเงินเฟ้ออยู่ในช่วง 1-3%

แล้วปัญหาเงินเฟ้อในรอบนี้คืออะไร

1) ปัญหาใหญ่ของเงินเฟ้อคือการแพร่ระบาดของโควิด-19

เข้าสู่ปีที่ 3 สำหรับการแพร่ระบาดของโควิด-19 แล้ว และยังมีสายพันธุ์ใหม่อย่างโอไมครอนเข้ามาอีกต่างหาก นั่นทำให้ภาคการผลิตทั่วโลกนับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมาในหลายประเทศไม่สามารถที่จะมีกำลังการผลิตสูงสุดได้

ส่วนหนึ่งเกิดจาก ‘ปัญหาของการขาดแคลนแรงงาน’ โดยแรงงานบางส่วนได้รับผลกระทบจากการติดโควิด-19 ส่งผลทำให้ภาคการผลิตเองต้องปรับเปลี่ยนให้แรงงานต้องหมุนเวียน เป็นผลทำให้การผลิตนั้นลดลงมา โดยตัวเลขภาคการผลิตของหลายประเทศเองนั้นยังไม่ถึงกำลังการผลิตสูงสุดด้วยซ้ำ

2) โรงงานของโลกเกิดปัญหา ราคาพลังงานเลยสูงขึ้น 

อย่างที่เราทราบกันดีว่าจีนนั้นเป็นโรงงานของโลก ซึ่งผลิตสินค้าราคาถูก และยังเป็นหนึ่งในห่วงโซ่ของภาคการผลิตทั่วโลกตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ หรือแม้แต่ปลายน้ำ ในช่วงที่ผ่านมาจีนได้มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ภาคการผลิตกลับมาไม่ได้เต็มที่ หรือไม่ก็ปัญหาการชะงักของภาคการผลิต เนื่องจากเมืองอื่นๆ ในประเทศจีนต้องล็อกดาวน์จากนโยบาย Zero Covid

ในช่วงเวลาดังกล่าวจีนยังประสบปัญหาการขาดแคลนพลังงานส่งผลทำให้จีนต้องนำเข้าสินค้าที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติ ไปจนถึงถ่านหินเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากไม่ใช่แค่ความต้องการจากจีนที่เพิ่มขึ้น แต่ประเทศอื่นๆ ก็ต้องการพลังงานเช่นเดียวกัน ความต้องการดังกล่าวนั้นส่งผลกระทบมาที่ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ด้านพลังงานที่มีราคาสูงขึ้นทันที ส่งผลทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติ ราคาค่าไฟฟ้า จนถึงน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับพาหนะมีราคาสูง

นอกจากราคาพลังงานสูงขึ้นแล้วยังส่งผลต่อการผลิตสินค้าที่ต้องใช้วัตถุดิบจากพลังงานฟอสซิล ไม่ว่าจะเป็นแอมโมเนียที่นำไปทำปุ๋ยยูเรีย หรือเม็ดพลาสติก ฯลฯ และนั่นทำให้ราคาสินค้าดังกล่าวพุ่งสูง โดยเฉพาะปุ๋ยยูเรียที่ขาดตลาดส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังภาคเกษตรกรรมทั่วโลกที่ต้องใช้ปุ๋ยชนิดนี้ เนื่องจากประเทศจีนไม่ให้ส่งออกปุ๋ยยูเรีย

3) ภาคการขนส่งเกิดคอขวด

เราอาจได้เห็นข่าวของเรือบรรทุกสินค้าลำใหญ่ที่ติดอยู่ในคลองสุเอซมาแล้ว และใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการย้ายเรือลำดังกล่าวออกมาในปี 2021 แต่เรือขนส่งสินค้าหลายร้อยลำที่ต้องใช้คลองสุเอซกลับต้องจอดรอ หรือไม่ก็ต้องเดินทางไกลในการอ้อมแหลมกู๊ดโฮปในประเทศแอฟริกาใต้ส่งผลทำให้ราคาค่าขนส่งสินค้าทั่วโลกเพิ่มมากขึ้นทันที

อย่างไรก็ดีในประเด็นของภาคการขนส่งนั้นมีปัญหาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นท่าเรือหลายแห่งที่ประเทศในจีนปิดชั่วคราว ส่งผลต่อการขนส่งสินค้าจากประเทศจีนออกไปยังประเทศอื่นๆ 

ขณะเดียวกันปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังส่งผลทำให้การขนส่งนั้นเกิดปัญหาอย่างมาก ในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากท่าเรือหลายแห่งปิดตัวลงชั่วคราว ส่งผลทำให้เกิดคอขวดในท่าเรือหลายแห่งต้องเร่งการขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์จากเรือลงมา ในกรณีดังกล่าวนี้นั้นเกิดขึ้นที่ท่าเรือหลายแห่งทั้งในสหรัฐอเมริกา หรือบริเวณอื่นๆ ทั่วโลก

4) ผลิตไม่ทันความต้องการของมนุษย์

เมื่อความต้องการสินค้าของมนุษย์ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ได้ลดลง แม้ว่าสินค้าบางประเภทเองจะมีความต้องการลดลง อย่างเช่น น้ำมัน ฯลฯ แต่สินค้าหลายชนิดกลับมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น เช่น อุปกรณ์ไอทีตั้งแต่โทรศัพท์มือถือ ไปจนถึงแล็ปท็อป ในช่วงของการล็อกดาวน์ ขณะเดียวกันสินค้าอุปโภคบริโภคเองก็มีความต้องการเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

อย่างไรก็ดีในบางสินค้าอาจมีการผลิตที่ลดลง แต่ความต้องการนั้นกลับเข้าสู่สภาวะปกติ อย่างเช่น รถยนต์ ฯลฯ ขณะเดียวกันในภาคการผลิตที่ยังกลับมาไม่ได้ 100% ส่งผลทำให้เกิดปัญหาทันที อย่างเช่นในกรณีของสมาร์ตโฟนจากหลายบริษัท เครื่องเล่นเกมคอนโซล ทำให้สินค้าเหล่านี้ขาดตลาด หรือไม่ก็เกิดปัญหาส่งมอบล่าช้า

ไม่ใช่แค่ความต้องการที่เพิ่มขึ้น แต่ยังมีการกักตุนสินค้าด้วย ในรายงานของ Nikkei Asia ในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2021 ได้ออกบทความว่าจีนได้กักตุนสินค้าเกษตร ไม่ว่าจะเป็น ข้าวโพด ข้าวสาลี ฯลฯ และนั่นทำให้ราคาสินค้าเหล่านี้เพิ่มสูงขึ้นจากความต้องการประชากรจีนที่มีจำนวนที่มากนั้นทำให้เกิดความต้องการสินค้าอื่นๆ เช่น สินค้าไอที รถยนต์ ฯลฯ เพิ่มมากขึ้นด้วยด้วยเช่นกัน

5) ผลกระทบทางอ้อมจากนโยบายการเงินของธนาคารกลาง

เหตุการณ์เงินเฟ้อในรอบนี้นั้นส่วนหนึ่งมาจากผลกระทบของธนาคารกลางทั่วโลกที่อัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจ เนื่องจากป้องกันไม่ให้ระบบเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และพยายามที่จะทำให้เศรษฐกิจกลับมาให้ได้ไวที่สุด ซึ่งเราจะเห็นว่าในปี 2021 ที่ผ่านมา GDP ในหลายประเทศกลับมาฟื้นตัวได้ดีเลยทีเดียว

อย่างไรก็ดีการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้นส่งผลกระทบอย่างมากกับการผลิต และนั่นทำให้เงินเฟ้อในรอบนี้นั้นมีความซับซ้อนกว่าในช่วงเวลาปกติ

[ บทสรุปสถานการณ์เงินเฟ้อ ]

สำหรับปรากฏการณ์เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสูง ในขณะนี้สิ่งที่ทำได้สำหรับประชาชน คือ ต้องภาวนาให้ภาคการผลิตทั่วโลกกลับมาผลิตสินค้าได้ตามปกติ รวมถึง Supply Chain ต่างๆ ต้องไม่เกิดคอขวดด้วย 

นอกจากจะภาวนาแล้วหลายประเทศเริ่มกลับมาทบทวนนโยบายในการตั้งโรงงานในประเทศเพื่อสามารถผลิตสินค้าต่างๆ แถมลดการพึ่งพาภาคการผลิตโดยเฉพาะจากประเทศจีนมากขึ้น ซึ่งเราจะเห็นได้จากประเทศอย่างสหรัฐ ญี่ปุ่น ไต้หวัน อินเดีย หรือหลากหลายประเทศในยุโรป เมีการสนับสนุนให้มีการย้ายฐานการผลิตกลับประเทศ หรือขยายไปในประเทศอื่นๆ เพื่อป้องกัน ปัญหา Supply Chain ซ้ำรอยในรอบนี้

ขณะเดียวกันธนาคารกลางหลายแห่งเองก็เริ่มดูลู่ทางที่จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้ไวกว่าที่คาด โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐที่มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่ำ 3-4 ครั้งในปีนี้ 

และทำให้แรงกดดันตกมาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเช่นกัน คาดการณ์จากสถาบันการเงินต่างประเทศหลายแห่งมองในตอนแรกว่าไทยอาจขึ้นดอกเบี้ยนโยบายได้ไวที่สุดนั่นก็คือปี 2023 ก็เริ่มเปลี่ยนมุมมองว่าธนาคารแห่งประเทศไทยมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ดี เรื่องของเงินเฟ้อนั้น ท้ายที่สุดแล้วจะเป็นการพิสูจน์ความสามารถของรัฐบาลและธนาคารกลางทั่วโลกว่าจะสามารถปราบเงินเฟ้อให้อยู่หมัดได้หรือไม่ เนื่องจากต้องใช้พลังทั้งนโยบายทางการเงินและนโยบายการคลังควบคู่กันไป

ที่มา

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า