SHARE

คัดลอกแล้ว

กทม.เร่งเพิ่มสัญญาณไฟกะพริบเตือน ไฟจราจรอัจฉริยะทางม้าลาย พร้อมนำร่องให้กล้อง AI ตรวจจับปรับผู้กระทำความผิดจอดรถคร่อมทางม้าลายบริเวณแยกอโศกพร้อมส่งใบสั่งให้ถึงบ้าน

วันที่ 1 ก.พ. 2565 ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง โฆษกของกรุงเทพมหานคร เปิดว่า กทม. ได้รับความร่วมมือกับทางตำรวจใช้ AI ตรวจจับผู้กระทำผิดบริเวณแยกอโศก เตรียมผลักดันโมเดลนี้ใช้เพิ่มเติมทางข้ามทั่วพื้นที่ กทม. เพื่อที่จะทำให้เกิดการ จับ-ปรับ และเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ที่ฝ่าฝืนวินัยการจราจรให้ได้ โดยโมเดลการจับ-ปรับ ด้วยเทคโนโลยี AI ตรวจจับผู้กระทำผิด จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนใช้รถใช้ถนนให้ได้ผล และวันนี้จะเริ่มทำการจับปรับจริงวันแรก หากพบการทำผิดดังกล่าวกล้องจะถ่ายรูป เก็บข้อมูล และส่งใบสั่งไปยังบ้านที่อยู่ ดังนั้นขอให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารงานจราจร (ศจร.ตร.) ระบุว่า ผู้พบการกระทำผิด ไม่หยุดรถให้คนข้าม หรือฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรที่ทางม้าลาย สามารถถ่ายคลิปแล้วส่งให้ตำรวจเพื่อดำเนินการตามกฎหมายได้โดยให้ส่งมาที่ศูนย์บริหารงานจราจร ผ่านศูนย์โซเชียลมีเดีย ศปก.ตร. หรือเพจอาสาตาจราจร มูลนิธิเมาไม่ขับ หรือเพจเฟซบุ๊ก จส.100 และ สวพ.91 คลิปที่ตำรวจได้รับจะส่งต่อให้สถานีตำรวจพื้นที่ติดตามดำเนินคดีกับผู้ทำผิด รวมถึงส่งไปพิจารณาในโครงการอาสาตาจราจรประจำเดือนมีสิทธิได้รับเงินรางวัลสูงสุดเดือนละ 20,000 บาท

กทม.ได้เพิ่มสัญญาณไฟกะพริบเตือน ไฟจราจรอัจฉริยะและทาสีโคลด์พลาสติกสีแดง เพิ่มความปลอดภัยในการข้ามทางม้าลาย

นายชาตรี วัฒนเขจร รองปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า สำนักการจราจรและขนส่งได้ทำการติดตั้งสัญญาณไฟกะพริบเตือนทางข้าม (ทางม้าลาย) และสัญญาณไฟจราจรทางข้ามชนิดกดปุ่มหรือสัญญาณไฟจราจรอัจฉริยะ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการข้ามถนนของประชาชน ซึ่งที่ผ่านมาได้ดำเนินการติดตั้งสัญญาณไฟกะพริบเตือนทางข้ามไปแล้ว จำนวน 896 จุด และได้ดำเนินการติดตั้งสัญญาณไฟจราจรทางข้ามชนิดกดปุ่ม (ที่มีสภาพบังคับแสดงสัญญาณเขียว เหลือง แดง) ไปแล้ว จำนวน 240 แห่ง โดยในปี พ.ศ.2565 มีแผนงานที่จะติดตั้งสัญญาณไฟกะพริบเตือนทางข้ามเพิ่มเติมอีก 50 แห่ง และติดตั้งสัญญาณไฟจราจรทางข้ามชนิดกดปุ่มเพิ่มเติมอีก 100 แห่ง รวมทั้งจะพัฒนาและติดตั้งระบบตรวจจับผู้ฝ่าฝืนกระทำผิดไม่หยุดรถให้คนข้าม หรือจอดรถกีดขวางทางข้าม โดยใช้ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) บริเวณทางแยก และบริเวณทางข้ามที่ติดตั้งสัญญาณไฟจราจรชนิดกดปุ่ม โดยจะประสานความร่วมมือกับสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครต่อไป

นอกจากการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ข้ามถนนบริเวณทางข้าม และบังคับใช้กฎหมายกับผู้ฝ่าฝืนกระทำผิดไม่หยุดรถให้คนข้าม หรือจอดรถกีดขวางทางข้ามแล้ว สำนักการจราจรและขนส่งยังได้ดำเนินการปรับปรุงกายภาพบริเวณก่อนถึงทางข้าม เพื่อสร้างความตระหนักเตือนให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะผ่านบริเวณทางข้าม ชะลอความเร็วและหยุดยานพาหนะให้คนเดินข้ามถนน ด้วยการจัดทำเครื่องหมายทางข้าม โดยเฉพาะบริเวณทางข้ามหน้าโรงเรียน โรงพยาบาล และทางแยก ด้วยสีโคลด์พลาสติกสีแดง เพื่อให้มีความแตกต่างจากผิวการจราจรและเครื่องหมายจราจรโดยทั่วไป รวมถึงเพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถมองเห็นทางข้ามได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ที่ผ่านมาได้ดำเนินการจัดทำทางข้ามด้วยสีโคลด์พลาสติกสีแดงไปแล้ว จำนวน 559 จุด อีกทั้งมีการจัดทำเส้นเตือนชะลอความเร็ว และเส้น Optical speed bar ในบริเวณก่อนถึงทางข้ามในจุดอื่นๆ เพื่อควบคุมผู้ขับขี่ยานพาหนะให้อยู่ในช่องทางของตนเอง ซึ่งมองดูแล้วจะเหมือนถนนแคบลง ทำให้ผู้ขับขี่เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น และลดความเร็วก่อนถึงทางข้าม รวมทั้งมีการบำรุงรักษาเครื่องหมายจราจรทางข้าม และป้ายเตือนทางข้ามให้อยู่ในสภาพที่ผู้ขับขี่ยานพาหนะสามารถมองเห็นได้ชัดเจน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า