SHARE

คัดลอกแล้ว

รายแรกของ จ.พิษณุโลก แพทย์พบผู้ป่วยวัย 40 ปี ต้องสูญเสียการมองเห็นหลังตรวจพบ ‘พยาธิปอดหนู’ ไชขึ้นตา สาเหตุจากการรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ

วันที่ 2 ก.พ. 65 ที่ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก ศ.ดร.นายแพทย์ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ รักษาการ ผอ.รพ.มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วย นพ.คณินท์ เหลืองสว่าง จักษุแพทย์เชี่ยวชาญด้านจอตาและน้ำวุ้นตา และ ผศ.พญ.สิรินันท์ ตรียะเวชกุล จักษุแพทย์ ร่วมกันแถลงพบผู้ป่วยโรคพยาธิปอดหนูขึ้นตา เป็นสาเหตุทำให้ตาขวาบอด 1 ข้าง เป็นผู้ป่วยรายแรกของ จ.พิษณุโลก

ผศ.พญ.สิรินันท์ จักษุแพทย์เจ้าของไข้ได้เปิดเผยว่า คนไข้เป็นหญิงอายุ 40 ปี อาชีพข้าราชการ ได้เข้าพบหมอด้วยอาการตาพร่ามัวข้างเดียวมาประมาณ 1 สัปดาห์ ก็ยังไม่พบสาเหตุ จึงได้นัดตรวจตาอย่างละเอียดอีก 3 สัปดาห์ต่อมาด้วยวิธีการขยายม่านตาและพบว่าตามีการอักเสบและพบพยาธิในวุ้นตา ซึ่งพบเป็นรายแรกของจังหวัดพิษณุโลก

นพ.คณินท์ กล่าวว่า หลังจากได้รับเคสผู้ป่วยมาพบว่าตาคนไข้มีการอักเสบและพบพยาธิในน้ำวุ้นตา จึงรักษาด้วยการให้ยาฆ่าพยาธิและยาลดอักเสบ จากนั้นได้ผ่าตัดโดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง จึงสามารถนำตัวพยาธิออกมาจากตาได้ ส่งตรวจพบว่าพยาธิที่พบ เป็นพยาธิปอดหนู ความยาวประมาณ 0.5 ซม.

สาเหตุที่เรียกว่าพยาธิปอดหนูเพราะ พยาธิตัวเต็มวัยทั้งสองเพศ จะอาศัยอยู่ในหลอดเลือดแดงของปอดหนู พยาธิตัวเมียจะออกไข่ในหลอดเลือดแดงและฟักตัวเป็นตัวอ่อน ระยะที่ 1 ปนออกมากับมูลหนู เมื่อตัวอ่อนไชเข้าหอยทาก หรือหอยน้ำจืด เช่น หอยโข่ง หอยขม หอยเชอรี่ กุ้งน้ำจืด ปลาน้ำจืด แล้วจะเจริญเป็นตัวอ่อนระยะติดต่อ

ในระยะนี้หากคนรับประทานอาหารปรุงสุกๆ ดิบ พยาธิจะเข้าสู่ระบบประสาท เช่น สมอง ไขสันหลัง หรือตา ฯลฯ อาการเจ็บป่วยจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของอวัยวะที่พยาธิอยู่ เช่น เคสของคนไข้รายนี้ที่ตัวพยาธิขึ้นตาจึงทำให้เกิดอาการที่พบบ่อยคือตามัวลงแบบเฉียบพลัน ไม่มีอาการปวด หรือเคืองตาแต่อย่างใดใด ซึ่งจากการซักประวัติของผู้ป่วยพบว่ามีประวัติชอบทานอาหารสุกๆ ดิบๆ บ่อยครั้ง โดยเฉพาะกุ้งน้ำจืด ที่ทานในเมนูกุ้งแช่น้ำปลาเป็นประจำ

แม้จะการผ่าตัดนำพยาธิออกจากตาเรียบร้อยแล้ว แต่ตาข้างขวาของผู้ป่วยไม่สามารถกลับมามองเห็นได้ เนื่องจากตัวพยาธิได้ชอนไชไปยังจอประสาทตา ทำให้จอประสาทตาอักเสบเป็นหนอง ได้รับความเสียหายจึงบอดสนิท ซึ่งหลังจากนี้ได้ทำการนัดรักษาต่อเนื่องเพื่อเช็กร่างกายอย่างละเอียดว่าพยาธิมีเพิ่มเติมในตำแหน่งอื่นของร่างกายอีกหรือไม่

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า