SHARE

คัดลอกแล้ว

ในบทความที่แล้ว TODAY Bizview ชี้ให้เห็นถึงขาลงของ Facebook ว่าต้องเจอปัญหารอบด้านตั้งแต่จำนวนผู้ใช้งานเริ่มอิ่มตัว นโยบายจำกัดการติดตามโฆษณาของ Apple ซึ่งสั่นคลอน Facebook อย่างมาก 

แต่ภาวะสั่นคลอนไม่ได้มีแค่นั้น เพราะยังมีแรงกดดันทางกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในยุโรป ที่ Meta ถึงกับต้องออกตัวว่าส่งผลกระทบต่อธุรกิจหลักอย่างจริงจัง ถึงขั้นอาจต้องหยุดให้บริการ Facebook และ Instagram ในยุโรปเลยทีเดียว

เรื่องเกิดจากการที่ ศาลยุติธรรมยุโรป (Court of Justice of the European Union) ตัดสินว่า Privacy Shield ไม่ชอบด้วยกฎหมายอีกต่อไปในเดือนกรกฎาคม ปี 2020 

Privacy Shield  คือความร่วมมือกันระหว่าง กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกาและคณะกรรมาธิการยุโรป ช่วยกันพัฒนาเฟรมเวิร์คที่ออกแบบมาเพื่อรับประกันว่า ข้อมูลพลเมืองยุโรปจะได้รับการคุ้มครองอย่างเพียงพอ เนื่องจากทั้งสองภูมิภาคมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลการค้าระหว่างกันอยู่เสมอ 

ซึ่งจากคำตัดสินของศาลยุติธรรมยุโรป ชี้ว่า Privacy Shield เป็นกฎหมายของสหรัฐที่ให้สิทธิ์ทางการสหรัฐฯ ในการรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับเจ้าของข้อมูลในสหภาพยุโรป โดยไม่ได้มีมาตรการป้องกันข้อมูลที่ดีพอ 

เท่ากับว่า Meta บริษัทแม่ของ Facebook และ Instagram ไม่สามารถนำเข้าข้อมูลของชาวยุโรปไปไว้ในเซิร์ฟเวอร์ของสหรัฐฯ ได้ (กฎนี้กระทบบริษัทอเมริกันในวงกว้าง รวมถึง Microsoft, Amazon, Google)

ในแถลงการณ์ที่ Meta ชี้แจงต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ ระบุว่า 

“​หากเราไม่สามารถถ่ายโอนข้อมูลระหว่างประเทศและภูมิภาคที่เราดำเนินการอยู่ ก็จะส่งผลต่อความสามารถของเราในการให้บริการ รวมการกำหนดเป้าหมายโฆษณา” 

“ส่งผลให้ เราอาจจะไม่สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่สำคัญรวมทั้ง Facebook และ Instagram ในยุโรป”

หนังสือพิมพ์การเงิน CityAM ของลอนดอนติดต่อ Meta เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่ง Nick Clegg รองประธานฝ่าย Global Affairs ของ Meta ก็ได้ให้คำตอบมาว่า ตัวกฎมีผลกระทบจริงๆ โดยเฉพาะกับธุรกิจขนาดเล็ก ที่พึ่งพา Facebook และ Instgram ในการทำธุรกิจ 

Clegg ชี้ว่า ทางบริษัทจึงขอเรียกร้องให้หน่วยงานกำกับดูแลใช้แนวทางที่เหมาะสมและปฏิบัติได้จริง เพื่อลดผลกระทบที่ธุรกิจขนาดเล็กต้องเจอ  

การดึง Facebook และ Instagram ออกจากยุโรปดูเป็นเรื่องใหญ่และยังจินตนาการไม่ออก แต่ครั้งหนึ่ง Facebook เคยปิดกั้นเนื้อหาข่าวในออสเตรเลียมาแล้วเมื่อต้นปี 2020 

กล่าวคือ ออสเตรเลียออกนโยบายให้บริษัทอย่าง Facebook และ Goolge ต้องจ่ายค่าเนื้อหาให้กับสำนักข่าว เพราะมองว่าที่ผ่านมาแพลตฟอร์มออนไลน์เอาเปรียบสำนักข่าว ผ่านการใช้เนื้อหาไปสร้างรายได้เข้าบริษัทตัวเอง 

Facebook เผยว่าตัวเองไม่มีทางเลือก จึงต้องปิดการแสดงเนื้อหา สำนักข่าวในออสเตรเลียไม่สามารถโพสต์ข่าวบน Facebook ได้ คนอ่านข่าวก็อ่านข่าวบนหน้าฟีดไม่ได้เช่นเดียวกัน 

หลังจากนั้นจึงมีการเจรจาและผ่อนคลายกฎ จนสำนักข่าวในออสเตรเลียกลับมาโพสต์ข่าวบนฟีดได้เหมือนเดิม 

อ่านซีรีส์เกี่ยวกับ Facebook จาก TODAY Bizview ได้ที่นี่

  • วิเคราะห์ขาลง Facebook ยอดคนใช้งานรายวันไม่โต มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก สูญเสีย 8 แสนล้านบาทในวันเดียว https://workpointtoday.com/facebook-daily-active-users-down-for-the-first-time/ 
  • เหตุผลที่แท้จริง ทำไมมูลค่า Facebook หายไป 7 ล้านล้านในวันเดียว หนักที่สุดในประวัติศาสตร์

https://workpointtoday.com/reasons-why-facebook-meta-loss/ 

ที่มา : Mashable, IT Wire, Workpoint TODAY

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า