SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เผยสถานการณ์สายพันธุ์โควิดในไทย พบโอไมครอน 97.2% ใกล้แทนที่เดลตา จับตาสายพันธุ์ย่อย BA.2  แพร่เชื้อเร็วกว่า BA.1 แต่ยังไม่มีข้อมูลว่าเชื้อรุนแรงกว่าหรือไม่ 

วันที่ 15 ก.พ. 2565 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงเรื่องการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19  โดยระบุว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีการตรวจไปประมาณ 2 พันตัวอย่าง พบ 97.2% เป็นโอไมครอน เหลือเพียง 2.8% เป็นเดลตา แสดงว่ายังมีเดลตาหลงเหลืออยู่บ้าง โดยพบจังหวัดที่พบโอไมครอนเยอะ คือ กรุงเทพมหานคร มากที่สุด รองลงมาเป็น ภูเก็ต ชลบุรี ร้อยเอ็ด สมุทรปราการ หนองคาย สุราษฎร์ธานี มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และขอนแก่น ซึ่งประเทศไทยพบทั่วทุกจังหวัด แต่จะมากน้อยแตกต่างกันไป

นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า จะเห็นความเปลี่ยนแปลงรายสัปดาห์ ภาพรวมกว่า 97% เป็นโอไมครอน เป็นเดลตา 2.8% แต่หากแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มมาจากต่างประเทศเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ประมาณ 99.4% ป่วยโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ส่วนกลุ่มอื่นๆ ในประเทศไทยสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะนี้ประมาณ 96.2% อีกไม่นานจะเข้าใกล้ร้อยเปอร์เซ็นต์ 

ทั้งนี้เมื่อมีการระบาดโอไมครอนค่อนข้างเร็ว และจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมาก ตามธรรมชาติไวรัสเมื่อมีการติดเชื้อซ้ำๆ ก็ออกลูกออกหลาน ทำให้มีโอกาสกลายพันธุ์ จากเดิมกำหนดไว้ B.1.1.529 ก็ออกมาเป็น BA.1 เป็นสายพันธุ์หลัก ขณะนี้มีข้อมูลที่ซัมมิทเข้าไประบบจีเสสประมาณ 6 แสนเศษๆ ส่วน BA.2 ประมาณ 5 หมื่นกว่าราย ยังไม่ถึง 10% ประมาณ 8-9%  ทั้งนี้ BA.2 จะพบมากในเดนมาร์ก ส่วน BA.3 ยังน้อยมาก 297 ราย

สำหรับ BA.1  ยังเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในแอฟริกาใต้และประเทศส่วนใหญ่ ขณะที่ BA.2 มาทีหลังและตรวจพบครั้งแรกในอินเดียและแอฟริกาใต้ช่วยปลายเดือน ธ.ค. 2564 ส่วนประเทศไทยพบครั้งแรกในกลุ่มผู้เดินทางเข้าไทยช่วงต้นปี 2565 โดยขณะนี้จากการซัมมิทข้อมูลในจีเสสกว่า 5 หมื่นราย พบ 57 ประเทศ และประเทศที่เริ่มเห็นแนวโน้มว่า BA.2  จะแทน BA.1 มีอินเดีย เดนมาร์ก สวีเดน โดยเดนมาร์กพบมากกว่า BA.1 แล้ว แต่สำหรับประเทศไทยขณะนี้ยังพบ BA.1 มากกว่า ยกเว้นว่าในอนาคตหากแพร่เร็วก็อาจเป็นเบียด BA.1

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า มีคำถามว่า ถ้ามีสายพันธุ์ย่อยใหม่จะแพร่เร็วขึ้นหรือไม่ หลบวัคซีนหรือไม่ โดยข้อมูลการแพร่เร็วก็เห็นสัญญาณ จากกรณีเดนมาร์ก ที่เบียด BA.1 ส่วนความรุนแรงที่หลบวัคซีนยังไม่เห็นข้อแตกต่างมากนัก แต่ก็ต้องติดตามข้อมูลต่อไป นอกจากนี้ในสายพันธุ์ BA.1 เนื่องจากระบาดมาก ก็ขยับเป็น BA.1.1 เพิ่มเข้ามาด้วย ซึ่งเราก็ตรวจจับได้ในประเทศไทย

ทั้งนี้ สัดส่วนสายพันธุ์ย่อยโอไมครอน ระหว่างวันที่ 5 – 11 ก.พ. 65 รวมทั้งหมด 1,975 ราย ไม่ได้แยก BA.1 และ BA.2 คือ 1,408 ราย  หากแยกเป็น BA.1  จะมี 462 ราย และ BA.2 จำนวน 105 ราย  อย่างไรก็ตาม จากการแยกสายพันธุ์ 567 ราย พบว่า เป็น BA.1 มากที่สุด  81.5% และ BA.2 18.5% ส่วนการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัวมีจำนวนตัวอย่างทั้งหมด 534 ตัวอย่าง แต่คนละช่วงเวลาในการเก็บข้อมูลจากข้างต้น โดยเราจะพบว่า BA.2 อยู่ที่ประมาณ 2% ที่เหลือเป็น BA.1.1 เท่ากับ 70% และ BA.1 จำนวน 28%

 สำหรับสถานการณ์บ้านเรา คนที่เดินทางมาจากต่างประเทศเป็นโอไมครอนเกือบ 100% ส่วนไทยก็ใกล้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ประมาณกว่า 96% ขณะที่สายพันธุ์ย่อย BA.2 จากถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัวประมาณ 2% แต่ตรวจสอบเบื้องต้น (SNP) ในพื้นที่เจอประมาณ 18%  ซึ่งจะมีการตรวจให้กว้างขวางครอบคลุมมากขึ้น โดย BA.2 มีหลักฐานพอสมควรว่าแพร่เร็วกว่า BA.1 แต่ความรุนแรงยังไม่มีข้อมูลมากพอ แต่เมื่อมีจำนวน BA.2 พอสมควรก็จะมีการติดตามข้อมูลของคนไข้ที่เป็น และจะส่งให้กรมการแพทย์ ติดตามคนไข้ว่า อาการรุนแรงมากน้อยแค่ไหน อย่างไรก็ตาม มีรายงานหลายชิ้นระบุว่า การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นจะช่วยป้องกันสายพันธุ์ทั้ง BA.1 และ BA.2  ช่วยลดอาการป่วยหนักและเสียชีวิตได้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า