SHARE

คัดลอกแล้ว

เป็นเรื่องปกติของวงการ ‘สื่อ’ ที่คนที่เป็น ‘แม่เหล็ก’ ของช่องหรือขององค์กรนั้นอาจมีผลมหาศาลต่อความนิยม จนบางครั้งอาจหมายถึง ‘กำไร’ หรือ ‘ขาดทุน’ ที่มากขึ้นหรือน้อยลงสำหรับองค์กรด้วย

เมื่อ ‘ช่องสาม’ ประกาศผลประกอบการประจำปี 2564 เผยว่าสามารถพลิกกลับมาทำกำไรได้อีกครั้ง หลังจากเผชิญหน้ากับสถานการณ์ขาดทุนต่อเนื่องมาถึง 3 ปี หลายคนจึงคิดว่า ‘กรรมกรข่าว’ คนสำคัญจะต้องมีส่วนแน่ๆ ไม่มากก็น้อย

จนเป็นสมมติฐานที่ว่า ‘สรยุทธ สุทัศนะจินดา’ หรือกรรมกรข่าวคนดังที่เพิ่งกลับมามีบทบาทอีกครั้งในช่วงปี 2564 นั้นสามารถพาช่อง 3 พ้นขาดทุน 3 ปีซ้อน ย้อนสู่กำไรได้อีกครั้ง TODAY Bizview จะพาไปส่องงบกำไรขาดทุนของ BEC

[ ย้อนดูงบกำไร-ขาดทุน ก่อน-หลังสรยุทธ ]

หากย้อนดูงบกำไร-ขาดทุนย้อนหลังของ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) หรือ BEC ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่องสาม นับตั้งแต่ปี 2559-2564 จะพบว่า จะเห็นว่างบกำไร-ขาดทุนของช่อง 3 นั้นดูสอดคล้องกับช่วงเวลาที่ ‘สรยุทธ สุทัศนะจินดา’ พิธีกรข่าวคนสำคัญของช่องยุติบทบาทในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2559 และกลับมาคืนจออีกครั้งในช่วงเดือน พ.ค. 2564

ปี 2559 รายได้ 10,486 ล้านบาท กำไร 1,218 ล้านบาท 

ปี 2560 รายได้ 11,035 ล้านบาท กำไร 61 ล้านบาท

ปี 2561 รายได้ 10,486 ล้านบาท ขาดทุน 330 ล้านบาท

ปี 2562 รายได้ 8,751 ล้านบาท ขาดทุน 397 ล้านบาท

ปี 2563 รายได้ 5,860 ล้านบาท ขาดทุน 214 ล้านบาท 

ปี 2564 รายได้ 5,680 ล้านบาท กำไร 761 ล้านบาท

เนื่องจากในปี 2559 รายได้ของ BEC ลดลงกว่า 60% จากปีก่อนหน้า 

และลดลงอย่างต่อเนื่องจนเหลือเพียง 61 ล้านบาทในปี 2560 

ก่อนเริ่มต้นขาดทุนปีแรกในปี 2561 และขาดทุนต่อเนื่องยาวนานถึง 3 ปี 

จนมาถึงปี 2564 ที่ผ่านมาที่ BEC สามารถพลิกกลับมาทำกำไรอีกครั้งได้สำเร็จ หลังการกลับมาของกรรมกรข่าวในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2564

แต่จริงๆ แล้วการกลับมาของ ‘สรยุทธ’ อาจจะไม่ใช่ปัจจัยหลักเพียงปัจจัยเดียว ที่ทำให้ช่องสามกลับมาทำกำไรได้อีกครั้ง

[ แกะคำอธิบายงบกำไรขาดทุน 2564 ]

หากมาดู ‘งบกำไรขาดทุน’ ในปี 2564 จะเห็นว่าในปี 2564 ที่ผ่านมา รายได้รวมของ BEC ลดลงจาก 5,860 ล้านบาท เหลือเพียง 5,680 ล้านบาท แบ่งเป็น

ปี 2564

รายได้จากการขายเวลาโฆษณา 4,834 ล้านบาท 

รายได้จากการให้ใช้ลิขสิทธิ์และบริการอื่น 846 ล้านบาท

รายได้จากการจัดคอนเสิร์ตและแสดงโชว์ 0 บาท

รายได้จากการขายสินค้า 0 บาท

ปี 2563

รายได้จากการขายเวลาโฆษณา 4,757 ล้านบาท 

รายได้จากการให้ใช้ลิขสิทธิ์และบริการอื่น 1,053 ล้านบาท

รายได้จากการจัดคอนเสิร์ตและแสดงโชว์ 9.4 ล้านบาท

รายได้จากการขายสินค้า 40.4 ล้านบาท

จะเห็นว่านอกจากเม็ดเงินจากการจัดคอนเสิร์ตและแสดงโชว์ รวมถึงการขายสินค้าที่กลายเป็น 0 จากการที่ BEC ถอนเงินลงทุนทั้งหมดใน บริษัท เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (ชื่อเดิม บีอีซี เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์) ในปีที่ผ่านมาแล้ว

รายได้จากการให้ใช้ลิทสิทธิ์และบริการอื่นของ BEC ก็ลดลงกว่า 19.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ในขณะที่รายได้จากการขายเวลาโฆษณาเป็น ‘รายได้เดียวที่เพิ่มขึ้นกว่า 76.2 ล้านบาท หรือ 1.6% 

รายได้จากการขายเวลาโฆษณาของ BEC ไม่สอดคล้องกับเม็ดเงินโฆษณาของอุตสาหกรรมสื่อที่ปรับตัวลดลงกว่า 0.5% เมื่อเทียบกับปี 2563

โดย BEC ได้อธิบายไว้ในตอนหนึ่งของ คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ประจำปี 2564 ว่า 

“ถึงแม้ในปี 2564 เม็ดเงิน โฆษณาในอุตสาหกรรมสื่อ โดยรวมจะมีการปรับตัวลดลงเล็กน้อย แต่กลุ่ม BEC ยังสามารถสร้างรายได้จากการขายเวลาโฆษณาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะรายการข่าวที่มีการปรับเปลี่ยนให้น่าสนใจยิ่งขึ้น รวมถึงการลดต้นทุนลงอย่างต่อเนื่อง”

และในพัฒนาการทางธุรกิจที่สำคัญในปี 2564 ของ BEC ยังระบุว่า บริษัทได้ปรับคอนเทนต์และปรับผังการออกอากาศรายได้ข่าว ทั้งขยายช่วงเวลาออกอากาศ ขยับช่วงเวลามาเป็น Pre Prime-Time และ “การกลับมาของกรรมกรข่าว คุณสรยุทธ์ สทัศนะจินดา ที่กลับมาทำรายการข่าว เรื่องเล่าเช้านี้ และ เรื่องเล่าเช้านี้เสาร์-อาทิตย์ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี”

จึงหมายความว่า ‘แม่เหล็ก’ ของกรรมข่าวยังคงได้ผล

สามารถช่วยดันรายได้จากการโฆษณาของช่องสามได้จริง

แม้ห่างหายจากหน้าจอไปกว่า 5 ปีเต็ม

อย่างไรก็ตาม รายได้ของ BEC ในปี 2564 ยังคงลดลงจากปี 2563 

ทำไม BEC จึงสามารถพลิกกำไรได้

[ กำไรเพราะลดต้นทุน-ลีนองค์กร ]

หากดูดีๆ แล้วจะเห็นว่าส่วนสำคัญที่ทำให้ BEC สามารถพลิกกลับมาทำกำไรได้ เป็นเพราะ ‘รายจ่ายที่น้อยกว่ารายได้’ โดยในปี 2564 บริษัทฯ สามารถลดต้นทุนรวมไปได้กว่า 793 ล้านบาท หรือลดลงถึง 17.3% จาก 4,582 ล้านบาทสู่ 3,789 ล้านบาท

ทำให้แม้รายได้จะลดลง แต่รายจ่ายที่ลดลงมากกว่า

ทำให้บริษัทฯ สามารถกลับมาทำกำไรได้อีกครั้ง

โดยต้นทุนส่วนใหญ่ที่ลดลงมากจาก ‘ค่าใช้จ่ายในการผลิตรายการที่ลดลง’ ถึงแม้ว่าบริษัทฯ จะมีต้นทุนในการผลิตละครที่ออกอากาศครั้งแรก หลังรีรันจำนวนมากในปีก่อนหน้า 

นอกจากนั้น BEC ยังสามารถลด ‘ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน’ ที่สามารถปรับลดลงได้จากการปรับลดขนาดองค์กร รวมถึงโครงการลดขนาดองค์กรที่ BEC ได้เดินหน้าทำอย่างต่อเนื่อง

เมื่อจำนวนพนักงานลดลง ค่าใช้จ่ายในส่วนของพนักงานก็ลดลงด้วย

สรุป คือ ‘กรรมกรข่าว’ เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ควบคู่ไปกับการลดต้นทุนของ BEC ที่ทำให้บริษัทพลิกฟื้นมาทำกำไรให้กับช่องสาม โดยปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘สรยุทธ สุทัศนะจินดา’ เป็นพิธีกรข่าวผู้มากความสามารถ และเป็น ‘แม่เหล็ก’ คนสำคัญที่ช่วยเรียกทั้งรายได้ แบรนด์ดิ้ง และความเชื่อมั่นคืนให้กับช่องในเวลาอันรวดเร็ว พร้อมทั้งช่วยพลิกฟื้นคืนชีวิตให้รายการข่าวช่องสามสามารถกลับเข้าสู่ช่วง Pre Prime Time และทำรายได้ได้มหาศาลอีกครั้ง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า