SHARE

คัดลอกแล้ว

สภาฯ ลงมติวาระสาม ผ่าน ‘ร่างพ.ร.บ.อุ้มหาย’ เห็นชอบ 359 เสียง ไม่เห็นด้วย 0

วันที่ 23 ก.พ. 2565 เวลา ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ…. หรือ ร่างพ.ร.บ.อุ้มหาย ทั้งหมด 4 ร่าง คือ ร่างที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรี(ครม.), ร่างที่คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร, ร่างของส.ส.พรรคประชาชาติ และร่างของส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ โดยใช้ร่างของครม. เป็นหลัก

ซึ่งคณะกรรมาธิการ(กมธ.) วิสามัญฯ ที่มี นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานกมธ.วิสามัญฯ พิจารณาเสร็จแล้ว ซึ่งเป็นการพิจารณาในวาระสอง ตามรายมาตรา ซึ่งมีทั้งหมด 5 หมวด 34 และบทเฉพาะกาลโดยนายชวลิต เสนอรายงานว่า ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้สอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศ ที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีไว้ 2 ฉบับ

คือ 1. อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนากการบังคับให้หายสาบสูญ และ 2. อนุสัญญาการต่อต้านการทรมาน และการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย้ำยีศักดิ์ศรี ซึ่งสาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้มุ่งป้องกันและปราบปรามเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ไม่ให้กระทำผิดกฎหมายเสียเอง ขณะเดียวกันก็มุ่งคุ้มครอง เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งถือว่าเป็นร่างกฎหมายที่ให้ความเป็นธรรม ทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ

นายชวลิต กล่าวต่อว่า กมธ.ฯ ได้สรุปสาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.ฯ บางส่วนดังนี้

1. มีการเพิ่มบทบัญญัติว่าด้ายการกระทำความผิดฐานกระทำการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย้ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

2. กำหนดให้มีการบันทุกภาพและเสียงในการตรวจค้นในคดีอาญา และการบันทึกภาพและเสียงในขณะจับกุมตรวจค้นในคดีอาญา

3. องค์ประกอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย มีความครอบคลุมทุกมิติ ทั้งด้านสิทธิมนุษยชน ด้านกฎหมาย แพทย์ทางนิติเวชและทางจิตเวชศาสตร์ 4.กระบวนการสรรหาคณะกรรมการดังกล่าว กำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการสรรหา และ5.ให้คดีตามพ.ร.บ.ฉบับนี้เป็นคดีพิเศษ และกำหนดให้หลายหน่วยงานเข้ามาร่วมสอบสวน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในด้านการดำเนินคดี และรวบรวมพยานหลักฐานให้ทันกับสถานการณ์และป้องกันการทำลายพยานหลักฐานสำคัญในคดี

จากนั้นเวลา 17.18 น. ได้ลงมติในวาระสาม ปรากฎว่า ที่ประชุม เห็นด้วย 359 เสียง / ไม่เห็นด้วย 0 งดออกเสียง 1 ไม่ลงคะแนน 2 ส่ง ส.ว.พิจารณาเพื่อดำเนินการออกเป็นกฎหมายต่อไป

นอกจากนี้ นายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานคนที่ 2 ที่ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมได้ให้ลงมติว่า จะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ กับข้อสังเกตของกรรมาธิการ(กมธ.) หรือไม่ โดยผลการลงมติ เห็นด้วย 334 เสียง ไม่เห็นด้วย 0 งดออกเสียง 1 และไม่ลงคะแนน 5 เสียง จากจำนวนผู้ลงมติ 340 คน ดังนั้นที่ประชุมเห็นด้วยกับข้อสังเกตของ กมธ.

สำหรับการอภิปรายเป็นรายมาตรา (วาระ2) มีประเด็นที่น่าสนใจ อาทิ

พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายกรณีให้เพิ่มเติมใน มาตรา 3 คำว่า “กองทุน” หมายความว่า “กองทุนป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย” เนื่องจากเห็นว่า “กองทุนยุติธรรม” ที่มีเงินอุดหนุน 150 ล้านบาท ขณะนี้มีเงินใช้จ่ายสะสม 700 ล้านบาท แต่การใช้จ่ายเพื่อดูแลเรื่องสิทธิมนุษยชนมีการใช้จ่ายน้อย เช่น เดือนกันยายน ปี 2564 ใช้ไปเพียง 218,629 บาท ดังนั้นเห็นควรตั้งกองทุนเอง

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ อภิปรายซักถามถึงการระบุคำว่า “เจ้าหน้าที่” ที่มีความหมายว่า “บุคคลซึ่งใช้อำนาจรัฐหรือได้รับมอบอำนาจหรือได้รับการแต่งตั้งอนุญาตสนับสนุนหรือยอมโดยตรงหรือโดยปริยายจากผู้มีอำนาจให้ดำเนินการตามกฎหมาย โดยเห็นว่า ความหมายเจ้าหน้าที่รัฐในร่างฯ จะแคบ เป็นความจริงเจ้าหน้าที่รัฐคือผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติงานให้แก่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐ รวมถึงรัฐสภา ซึ่งต้องยอมรับว่า หลักไปบังคับให้สูญหาย หรือทรมาน คือรัฐ ถ้าเขียนนิยามไว้แค่นี้จะทำให้คนที่ดำเนินการไปอุ้มเขา ทำให้สูญหาย หรือทรมาน เขาก็อ้างว่าเขาไม่ใช่ผู้มีอำนาจที่ดำเนินการตามกฎหมาย สมมุติว่าเจ้าหน้าที่สภาผู้แทนราษฎรไปดำเนินการก็จะไม่อยู่ในความหมายนี้

ขณะที่ กมธ. ได้ชี้แจงประเด็นต่างๆ ดังนี้ นางอังคณา นีละไพจิตร ในฐานะกมธ. ชี้แจงว่า ร่างพ.ร.บ.ฉบับบัตินี้ครอบคลุมอนุสัญญา 2 ฉบับ นิยามของสหประชาชาติ คำว่า “เจ้าหน้าที่รัฐ” จะหมายถึงบุคคลใดก็ตามที่ ไม่ว่าจะเป็นผู้สั่งการ รู้เห็นเป็นใจ รู้แล้วแต่ไม่ห้าม หรือกระทำการใดก็แล้วแต่ที่ใช้ความเป็นรัฐ หรือแม้แต่การแต่งกายแบบเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อให้คนเข้าใจว่าตัวเองปฏิบัติหน้าที่ในฐานะหน่วยงานรัฐ ซึ่ง กมธ. ได้เห็นว่าการให้คำนิยามไว้เช่นนี้ได้ครอบคลุมในทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการทรมานและการบังคับสูญหาย

เรื่องคำนิยาม กมธ. ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทรมานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เนื่องจากคำนิยามดังกล่าว เป็นครั้งแรกที่ได้มีการตราขึ้นในกฎหมายของประเทศไทย และจะครอบคลุมการกระทำซึ่งส่งผลต่อการทำให้การทุกข์ทรมานทางจิตใจ ภาวะของเหยื่อที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงซ้ำจนกระทั้งมีอาการที่เกิดจากความกดดันจากการได้รับความเครียดสะสม นอกจากนั้น กมธ. ยังเห็นว่า กฎหมายอาญา เรื่องผู้เสียหายในคดีอาญายังมีช่องโหว่ อย่างกรณี สามีภรรยาต้องสมรสโดยชอบตามกฎหมายเท่านั้น แต่ความเป็นจริง มีคนใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันแต่ไม่ประสงค์จดทะเบียนสมรส ที่ผ่านมา กฎหมายไม่ได้ครอบคลุมการเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา กมธ. จึงได้บัญญัติคำนิยาม รวมสามีภรรยาไม่ได้จดทะเบียนสมรส คู่ชีวิต คู่รักเพศเดียวกัน

เรื่องกองทุน นางจรวยพร พงศาวลีกุล ในฐานะกมธ. ชี้แจงว่า การตรากฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องกองทุน จะมีผลเป็นการผูกพันทรัพย์สิน ซึ่งจะก่อให้เกิดภาระการเงินการคลังในอนาคต ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายวินัยการเงินการคลัง ซึ่งการดำเนินการจะต้องมีการพิจารณาความคุ้มค่า ต้นทุน ผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ ซึ่งการจะเสนอกฎหมายที่เกี่ยวข้องทางการเงินลักษณะนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังก่อนจะเสนอกฎหมายต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) และเสนอกฎหมายมายังรัฐสภา ประกอบกับร่างที่สภารับหลักการ 4 ฉบับไม่มีหลักการในเรื่องดังกล่าว จะเป็นการเกินหลักการดังนั้น กมธ. จึงไม่ได้แก้ไขในประเด็นนี้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า