SHARE

คัดลอกแล้ว

ปลัด สธ. เผย สัปดาห์หน้า เตรียมสรุปแผนบริหารจัดการ ‘โควิด’ เป็นโรคประจำถิ่นในระยะ 4 เดือน ร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย เร่งค้นหากลุ่มเสี่ยง 608 เพิ่มการเข้าถึงวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้น เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต

วันที่ 24 ก.พ. 2565 นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า กรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้กระทรวงสาธารณสุข ทบทวนเรื่องการรักษาโควิดฟรีตามสิทธินั้น ได้มอบหมายให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) นำไปทบทวน ยืนยันว่าประชาชนไม่ได้รับผลกระทบ ซึ่งปัจจุบันเป็นการระบาดของสายพันธุ์โอไมครอน ผู้ติดเชื้อประมาณ 90% ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย หรือกลุ่มสีเขียว ดังนั้น จึงพยายามให้รับการดูแลในระบบ HI/CI เพื่อให้โรงพยาบาลมีเตียงว่างดูแลผู้ป่วยโควิดที่มีอาการหนักและผู้ป่วยโรคอื่น เป็นแนวทางหนึ่งของการปรับให้โรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น

ซึ่ง วันที่ 23 ก.พ. ที่ผ่านมา มีการประชุมเตรียมแผนระยะ 4 เดือน ในการบริหารจัดการโรคโควิด-19 เข้าสู่โรคประจำถิ่น คาดว่า จะมีรายละเอียดในสัปดาห์หน้า

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวต่อว่า แม้โอไมครอนจะไม่รุนแรง แต่หากมีการติดเชื้อจำนวนมาก ผู้ป่วยปอดอักเสบและเสียชีวิตอาจเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งขณะนี้ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม 608 คือ ผู้สูงอายุและผู้มีโรคเรื้อรัง วันนี้จึงมีการประชุมทางไกลร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ให้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยในการค้นหากลุ่ม 608 ตามทะเบียนบ้าน เพื่อให้เข้าถึงการรับบริการวัคซีนโควิด-19 ให้มากที่สุด ช่วยลดอัตราการเสียชีวิต โดยขณะนี้กลุ่ม 608 ได้รับวัคซีนเข็ม 1 และเข็ม 2 ประมาณ 80% ส่วนเข็มกระตุ้นประมาณ 30%

“วัคซีนโควิดเข็มกระตุ้น ลดอัตราเสียชีวิตผู้สูงอายุได้ 41 เท่า”

ขณะที่ นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า ขณะนี้การติดเชื้อพบในทุกวัย จำนวนมากสุดเป็นวัยทำงานไปสถานบันเทิงหรือสถานที่เสี่ยง และมาแพร่ต่อในชุมชนและครัวเรือน ซึ่งการระบาดของโอไมครอนตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2565 กลุ่มที่ติดเชื้อสูงสุด คืออายุ 20-29 ปี ขณะที่กลุ่มอายุน้อยกว่า 19 ปีลงมา มีแนวโน้มติดเชื้อสูงขึ้น ส่วนผู้สูงอายุมีอัตราการติดเชื้อต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอายุอื่น แต่มีอัตราการเสียชีวิตสูงสุด โดยกลุ่มอายุ 70 ปีขึ้นไป อัตราเสียชีวิต 2.86% และอัตราเสียชีวิตจะลดลงตามช่วงอายุลงไป ซึ่งข้อมูลผู้เสียชีวิตอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 18 ก.พ. 2565 จำนวน 666 ราย พบว่าไม่ได้ฉีดวัคซีน 387 ราย หรือ 58% จึงจำเป็นต้องเร่งฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ โดยเฉพาะที่ยังไม่ได้รับวัคซีน และให้วัคซีนเข็มกระตุ้นกับผู้ที่ฉีดครบแล้ว 2 เข็มนานกว่า 3-6 เดือน

จากข้อมูลช่วงเวลาเดียวกันยืนยันว่าการรับวัคซีนโควิดจะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้ดีมาก จากข้อมูลผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับวัคซีน 2.2 ล้านคน เสียชีวิต 387 ราย อัตราเสียชีวิตสูงถึง 178 รายต่อล้านคน รับวัคซีน 1 เข็ม มี 6 แสนราย เสียชีวิต 66 ราย อัตราเสียชีวิต 112 รายต่อล้านคน ลดลงเล็กน้อย แต่รับวัคซีน 2 เข็ม 6.2 ล้านราย เสียชีวิต 197 ราย อัตราเสียชีวิตลดลงเหลือ 32 รายต่อล้านคน หรือลดลง 6 เท่าจากผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน และกรณีรับเข็มกระตุ้นแล้วมี 3.7 ล้านราย เสียชีวิต 16 ราย อัตราเสียชีวิตลดลงเหลือ 4 รายต่อล้านคน หรือเสี่ยงลดลงถึง 41 เท่าเทียบกับผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับวัคซีน

“เราฉีดวัคซีนผู้สูงอายุแล้ว 82.8% ถือว่าเปอร์เซ็นต์สูง แต่ควรให้ได้เพิ่มขึ้นอีก จึงต้องเร่งรัดดำเนินการค้นหาผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ให้ความรู้ สร้างแรงจูงใจ และกระตุ้นให้รับวัคซีน รวมถึงรณรงค์ฉีดเข็มกระตุ้นสำหรับผู้ที่ฉีด 2 เข็มแล้วนานกว่า 3-6 เดือน หากทุกฝ่ายช่วยกันเต็มที่ในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้านี้ จะทำให้ผู้สูงอายุรับวัคซีนในสัดส่วนที่สูงขึ้น ยิ่งมากยิ่งดีเพราะจะช่วยป้องกันความเสี่ยงในช่วงสงกรานต์ที่ลูกหลานจะกลับไปเยี่ยม จะได้ปลอดภัยมากขึ้น” รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า