SHARE

คัดลอกแล้ว

ศบค.เผยไทยเตรียมปรับโควิดเป็นโรคประจำถิ่น อยู่ระหว่างพิจารณารอบด้าน เผยสถานการณ์ ‘โอไมครอน’ พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทุกภาค คาดหลังสงกรานต์ 2 สัปดาห์ผู้ป่วยปอดอักเสบเพิ่ม 2,000 คน/วัน

วันที่ 3 มี.ค. 2565 พญ.สุมนี วัชรสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะผู้ช่วยโฆษก ศบค. แถลงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันระบุว่า ไทยพบการแพร่ระบาดเชื้อโอไมครอนเพิ่มขึ้นในทุกภาค จากการคาดการณ์คาดว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นสูงสุดช่วงกลางเดือนเมษายน และคาดว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจะค่อยๆ ลดลงต่ำสุดในประมาณปลายพฤษภาคม
พญ.สุมนี กล่าวว่า การระบาดเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมาส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์โอไมครอน ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 625 ราย น้อยกว่าการระบาดสายพันธุ์ที่ผ่านมา แต่เมื่อวานนี้ยอดผู้ป่วยปอดอักเสบจากค่าเฉลี่ยที่ 600 รายต่อวัน เพิ่มขึ้นเป็นหลัก 1,000 รายต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 จึงคาดการณ์ว่า ถ้ายังคงมาตรการที่มีอยู่ในปัจจุบันจนถึงช่วงสงกรานต์จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบจะเพิ่มสูงสุดช่วงต้นพฤษภาคม หรือประมาณหลังเทศกาลสงกรานต์ 2 สัปดาห์

“ขอย้ำว่าเราต้องเคร่งครัดมาตรการส่วนบุคคล และปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่แจ้งเตือนภัยระดับ 4 และเร่งรัดการมาฉีดวัคซีนให้มากขึ้นในทุกเข็ม เพื่อจะทำให้จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบและมีจำนวนเฉลี่ยไม่เกิน 2,000 บาทต่อวัน ซึ่งระบบกระทรวงสาธารณสุขจะยังคงรับได้” ผู้ช่วยโฆษก ศบค. กล่าวและว่า

การเตือนภัยระดับ 4 ของกระทรวงสาธารณสุขเป็นการขอความร่วมมือเพื่อให้สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ไม่ให้เพิ่มจำนวนและรุนแรงมากขึ้น โดยมีการทำมาตรการผ่อนคลายแบบระมัดระวังในทุกระยะ และมีการปรับแผนมาตรการในแต่ละช่วงสถานการณ์ได้ตลอดเวลา

⚫ เปิดผลวิเคราะห์ผู้เสียชีวิตจากโอไมครอนส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุไม่ได้รับวัคซีน

พญ.สุมนี กล่าวว่า กรมควบคุมโรคได้ทำการวิเคราะห์ผู้สูงอายุที่เสียชีวิตในการระบาดเชื้อโอไมครอน เมื่อเทียบกับวัคซีนที่ได้รับโดยใช้ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.- 28 ก.พ. 2565 พบว่า ผู้เสียชีวิตร้อยละ 75 เป็นผู้มีสูงอายุมากกว่า 60 ปี จำนวน 928 ราย ในจำนวนนี้ร้อยละ 67 หรือประมาณ 567 คนไม่ได้รับวัคซีนเลย ถ้าเปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิตกับวัคซีนที่ได้รับสรุปได้ว่า จากผู้สูงอายุทั้งหมด 12.7 ล้านคน มีจำนวน 2.2 ล้านคนยังไม่ได้รับวัคซีนเลยแม้แต่ครั้งเดียว และเป็นกลุ่มที่มีอัตราการเสียชีวิตที่สูงที่สุดอยู่ที่ 257 รายต่อล้านคน จึงอยากจะเน้นย้ำและขอความร่วมมือให้ผู้สูงอายุไปฉีดวัคซีนโดยเฉพาะเข็มกระตุ้นหรือเข็มที่ 3 จะลดอัตราการเสียชีวิตลง 7 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 3 เข็ม

⚫ ปรับโควิดเป็นโรคประจำถิ่นต้องพิจารณารอบด้าน

พญ.สุมนี เปิดเผยว่า ขณะนี้มี 4 ประเทศคือ สเปน, อินเดีย, รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และจีน เตรียมปรับให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นโดยใช้มาตรการ Living with Covid คือการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโควิดให้ได้
ส่วนประเทศไทยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกำลังพิจารณาอย่างรอบด้าน เพราะต้องคำนึงถึงประชาชนในการเข้าถึงบริการต่างๆ และการกลับมาใช้ชีวิตเพื่อทำมาหากินในรูปแบบชีวิตวิถีใหม่ New normal ให้ได้ เพื่อประโยชน์สูงสุดในการป้องกันโรค และการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจไปพร้อมๆ กัน ซึ่งถ้าสถานการณ์มีความเปลี่ยนแปลงก็จะต้องมีแผนในการรองรับการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน

สำหรับ 10 จังหวัดที่มีรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงสุด คือ กทม. 2,779 ราย, ชลบุรี 1,217 ราย, นครศรีธรรมราช 959 ราย, สมุทรปราการ 953 ราย, ระยอง 754 ราย, นนทบุรี 739 ราย, สมุทรสาคร 704 ราย, ภูเก็ต 649 ราย, ราชบุรี 570 ราย,  และบุรีรัมย์ 548 ราย ส่วน 10 จังหวัดที่มีผู้ป่วยปอดอักเสบมากที่สุดคือ กทม.178 ราย ครองเตียง 26.20 % สมุทรปราการ 88 ราย ครองเตียง 42% บุรีรัมย์ 63ราย ครองเตียง 7.20% นนทบุรี 62 ราย ครองเตียง 41.50 % ภูเก็ต 55 ราย ครองเตียง 62.70 % กาญจนบุรี 35 ราย ครองเตียง 18.30 % สุราษฎร์ธานี 35 ราย ครองเคียง 39.10 % นครศรีธรรมราช 34 ราย ครองเตียง 12.50 % นครราชาสีมา 33 ราย ครองเตียง 13.90 % และชลบุรี 33 ราย ครองเตียง 41.80 % ทั้งนี้อธิบดีกรมการแพทย์รายงานสถานการณ์การครองเตียง ภาพรวมทั้งประเทศ 58.1 % เป็นเตียงผู้ป่วยสีเขียว 66.4 % เหลือง 22.7% ส้ม 14.1 % และเตียงสีแดง 22.4% ทั้งนี้ขอความร่วมมือผู้ติดเชื้อกลุ่มสีเขียว ดูแลตัวเองที่บ้าน หรือชุมชน เพื่อสงวนเตียงให้ผู้ป่วยสีเหลือง สีแดง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า