SHARE

คัดลอกแล้ว

ครม.เห็นชอบหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตโควิด-19 ให้เข้ารับการรักษาฟรีที่ รพ.ตามสิทธิ มีผล 16 มี.ค.นี้เป็นต้นไป

วันที่ 8 มี.ค. 2565 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุฒคณะรัฐมนตรี ระบุว่า คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 โดยให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ที่ปรับปรุงนี้ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่มีอาการ อาการไม่รุนแรง หรือที่เรียกว่ากลุ่มสีเขียวจะไม่นับเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต แต่สามารถเข้ารับการรักษาฟรีในโรงพยาบาลตามสิทธิของแต่ละคน อาทิ สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิประกันสังคม หรือสิทธิรักษาพยาบาลของข้าราชการ และแนะนำให้การดูแลแบบ Home Isolation(HI) หรือ Community Isolation(CI) หรือ Hotel Isolation

ส่วนผู้ป่วยติดโควิด-19 ที่แพทย์วินิจฉัยว่า เข้าเกณฑ์วิกฤตฉุกเฉินตามเกณฑ์ที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(สพฉ.) ได้กำหนดแนวทางและเกณฑ์ประเมินคัดแยกระดับความฉุกเฉินไว้แล้ว คือ กลุ่มผู้ป่วยสีเหลืองและสีแดง ให้สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ในโรงพยาบาลทุกแห่ง โดยไม่กำหนดระยะเวลา 72 ชั่วโมงแรก

โดยสิทธิที่การปรับปรุงนี้เรียกว่า UCEP Plus ซึ่งสิทธิดังกล่าวนี้ จะเปิดโอกาสให้มีการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินรุนแรงจากโรงพยาบาลหนึ่งไปเข้ารับการรักษาใน ICU ของอีกโรงพยาบาลได้ภายหลัง 72 ชั่วโมงแรกด้วย ซึ่งดีกว่าโรคอื่นๆ ที่เข้าตามนิยามเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต

สำหรับสาระสำคัญของหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ กรณีโรคโควิด-19 คือ กำหนดให้สถานพยาบาลต้องจัดให้มีการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉิน เพื่อให้พ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพและขีดความสามารถของสถานพยาบาลโดยไม่มีเงื่อนไขในการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการดูแลรักษา

และให้สถานพยาบาลแจ้งต่อกองทุนของผู้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม หรือกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทนหรือจากส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐทราบโดยเร็ว

นอกจากนี้ ยังได้กำหนดให้กรณีที่มีปัญหาการวินิจฉัยในการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตให้ปรึกษาศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉิน ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง เพื่อดำเนินการวินิจฉัยโดยคำวินิจฉัยของศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินให้ถือเป็นที่สุด ซึ่งแนวทางการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต และแบบแจ้งผลการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติให้เป็นไปตามที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกำหนด

ให้กระทรวงการคลัง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ เอกชน หรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการด้านการแพทย์ หรือสาธารณสุขดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังกล่าว และดำเนินการจ่ายค่าใช้จ่ายในอัตราตามบัญชีแนบท้ายหลักเกณฑ์ รวมถึงแก้ไขปรับปรุง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่อนุมัติในครั้งนี้ด้วย

ขยายเวลายกเว้นภาษีขาเข้าสินค้ามีความจำเป็นโควิด 19 เริ่ม 1 เม.ย.-30 ก.ย. 2565

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลังรวม 3 ฉบับ ซึ่งเป็นการขยายระยะเวลามาตรการยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าที่มีความจำเป็นเนื่องจากสถานการณ์การแร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด19 โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.-30 ก.ย. 2565

สำหรับร่างประกาศกระทรวงการคลังทั้ง 3 ฉบับ ประกอบด้วย ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้รักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ฉบับที่…) ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นอากรศุลการสำหรับของที่ใช้รักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรคโควิด 19

ฉบับที่2 ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตรากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลการ พ.ศ.2530 (ฉบับที่…) ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับสินค้าหน้ากากชนิดที่ใช้ในห้องผ่าตัด หน้ากากกรองฝุ่น หมอกควัน หรือสารพิษ บรรดาที่อุปกรณ์เพื่อป้องกันภัยและหน้ากากกรองเชื้อโรค หน้ากากทางการแพทย์นอกจากหน้ากากชนิดที่ใช้ในห้องผ่าตัด

ฉบับที่3 ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อผลิตเป็นหน้ากาก (ฉบับที่…) ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นอาการศุลกากร สำหรับของที่นำเข้ามาใช้ผลิตเป็นหน้ากากชนิดที่ใช้ในห้องผ่าตัด หน้ากากกรองเชื้อโรค หน้ากากทางการแพทย์นอกจากหน้ากากชนิดที่ใช้ในห้องผ่าตัดและหน้ากากกรองฝุ่น หมอกควัน หรือสารพิษ บรรดาที่เป็นอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า