SHARE

คัดลอกแล้ว

สธ.ยัน ‘เจอ แจก จบ’ ช่วยคนติดโควิด-19 เข้าถึงการรักษารวดเร็วและครอบคลุมมากขึ้น

วันที่ 14 มี.ค. 2565 นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษาระดับกระทรวงและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวการเข้าสู่ระบบการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ว่า ขณะนี้สถานการณ์โควิด -19 อยู่ในช่วงการปรับเข้าสู่โรคประจำถิ่นหรือยุติการระบาดใหญ่ (Post Pandemic) เกิดจากตัวเชื้อ 1.ปัจจุบันตัวเชื้อความรุนแรงลดน้อยลง โดยผู้ป่วยหนักหรือเสียชีวิตมีสัดส่วนลดลงมาก 2.เราฉีดวัคซีนแล้วมากกว่า 125 ล้านเข็ม ครอบคลุมในระดับสูงมาก

และ 3.การประเมินระบบรักษาพยาบาล ระบบสาธารณสุขเราอยู่ระดับต้นๆ ของโลก และการประเมินผลตามแนวทางองค์การอนามัยโลก เรามีสมรรถนะความพร้อมระดับดีมาก มาตรการดูแลรักษาพยาบาลที่ สธ.จัดเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้ประชาชนได้รับดูแลดียิ่งขึ้น คือ ระบบผู้ป่วยนอก (โอพีดี) ‘เจอ แจก จบ’ ซึ่งเป็นระบบเสริมขึ้นมา

นพ.รุ่งเรือง กล่าวต่อว่า สำคัญคือ จุดแรกของการคัดกรอง ประชาชนส่วนใหญ่มีการตรวจด้วย ATK เองหากผลเป็นบวกจะมีการเข้าสู่ระบบการรักษา สามารถไปคลินิกโรคทางเดินหายใจของ รพ.สังกัด สธ. รวมถึงพื้นที่ในกทม.ได้ เมื่อเข้าสู่ระบบการรักษาจะได้รับการดูแลจากคลินิกทางเดินหายใจ ตรวจร่างกายซักประวัติ ประเมินอาการ จากนั้นจะได้รับการแจกยา ทั้งยาหลักและยาเสริม ความรู้การปฏิบัติตน และกลับไปดูแลตนเองต่อที่บ้าน เหมือนกรณีการติดเชื้อไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคอื่นๆ โดยช่วง 48 ชั่วโมงแรกจะมีการประเมินติดตามอาการ ว่ามีความเสี่ยงเพิ่มเติม หรือความจำเป็นต้องเข้าระบบการรักษาในรพ.หรือไม่

จากการดำเนินการเจอแจกจบตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. พบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ประเทศ 76 จังหวัด ผลประเมินออกมาระดับดีถึงดีมาก ประชาชนรับความสะดวกรับบริการครอบคลุมมากขึ้น กทม.มีการเพิ่มบริการ ทั้ง รพ.สังกัด สธ.ของกรมการแพทย์ หน่วยงานอื่นๆ รพ.ของกทม. รพ.เอกชน คลินิกต่างๆ มีการเพิ่มบริการโอพีดีเพิ่มขึ้น หากมองภาพรวมระบบโอพีดี ผู้ป่วยนอกเจอแจกจบ ช่วยดูแลประชาชนอย่างดี

นพ.รุ่งเรือง กล่าวอีกว่า ส่วนประเด็นกรณีประชาชนตรวจพบว่า เป็นบวกควรทำอย่างไร นอกจากการเข้าโอพีดีที่เป็นระบบเสริมนั้น ระบบการรักษาที่บ้าน (HI) ยังคงมีอยู่ ซึ่งเหมาะกับผู้ติดเชื้อที่ไม่สะดวกเดินทางมา รพ.เพื่อรักษาแบบผู้ป่วยนอก หรือไม่มีรถส่วนตัว สามารถใช้สายด่วน 1330 เข้าระบบได้ หรือเบอร์โทร 50 เขต หรือติดต่อผ่านไลน์ สปสช. @nhso ซึ่งก่อนหน้านี้มีผู้โทรสายด่วน 1330 จำนวนมาก ทำให้พื้นที่ กทม.อาจได้รับบริการที่ไม่สะดวก หรือไม่ได้รับการติดต่อ แต่หลังจากมีการเปิดบริการผู้ป่วยนอกทำให้สายโทรเข้าลดเหลือ 4-5 หมื่นสายต่อวัน และได้เข้ารับบริการเร็วขึ้น 

อย่างไรก็ตาม แม้ขณะนี้โอไมครอนอาการรุนแรงลดน้อยลง แต่จะมีผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งที่มีความเสี่ยงอาการรุนแรงได้ เช่น กลุ่มเสี่ยงอายุมากกว่า 60 ปี โรคประจำตัว มีอาการมากขึ้น เช่น หอบเหนื่อย ถือว่าเป็นสีเหลืองหรือสีแดง ยังเข้ารักษาได้ทุกที่ทุกแห่ง โดยใช้สิทธิ UCEP Plus และใช้หมายเลข 1669 ในการติดต่อ ซึ่งจากการตรวจสอบระบบจนถึงปัจจุบัน ระบบยังรองรับได้อย่างดี โดยขอบคุณข้อแนะนำต่างๆ ซึ่ง สธ.จะประสานกลับไปยัง สพฉ.และในพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้าใจในการสื่อสารและระบบบริการ 

ขณะเดียวกันวันนี้ นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมคณะ เยี่ยมติดตามการจัดบริการผู้ติดเชื้อโควิด-19 แบบผู้ป่วยนอกและแยกกักตนเอง “เจอ แจก จบ” ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 31 และ รพ.กลาง และให้สัมภาษณ์ว่า จากการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการของสถานบริการทั้ง 2 แห่ง พบว่าการให้บริการแบบผู้ป่วยนอก “เจอ แจก จบ” ช่วยให้ผู้ติดเชื้อเข้าถึงการรักษาสะดวกรวดเร็วขึ้น 

โดยศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 31 มีผู้เข้ารับบริการวันละ 80-100 ราย ส่วนที่โรงพยาบาลกลาง มีผู้เข้ามารับบริการประมาณวันละ 300 ราย และพบว่าอัตราครองเตียงในโรงพยาบาลสนามและศูนย์พักคอยลดลงจากกว่า 90% เหลือประมาณ 70% ถือเป็นแนวทางที่ตอบโจทย์การเข้ารับบริการของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ใน กทม. ได้อย่างดี 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า