SHARE

คัดลอกแล้ว

GISTDA เผยข้อมูลจากดาวเทียม พบจุดความร้อนทั้งประเทศวันเดียว 500 จุด ‘แม่ฮ่องสอน’ ครองแชมป์

วันที่ 15 มี.ค. 2565 GISTDA เผยข้อมูลจาก ดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ของระบบเวียร์ (VIIRS) ณ วันที่ 14 มีนาคม 2565 พบจุดความร้อนทั้งประเทศ 500 จุด พบมากที่สุดในพื้นที่เกษตร 136 จุด พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 133 จุด พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 94 จุด พื้นที่เขตสปก. 77 จุด พื้นที่ชุมชนและอื่นๆ 55 จุด และพื้นที่ริมทางหลวง 5 จุด

โดยจังหวัดที่พบจุดความร้อนมากสุดทางภาคเหนือ ยังคงเป็น จ. แม่ฮ่องสอน 81 จุด ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) อยู่ที่ จ.สกลนคร 46 จุด และ จ. อุบลราชธานี 38 จุด ตามลำดับ

ทั้งนี้จากภาพพบว่า จุดความร้อนยังคงกระจายตัวอยู่ในบริเวณตอนบนของประเทศ นำโดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งวันนี้พบ 284 จุด และภาคเหนือ156 จุด ตามลำดับ คาดว่า น่าจะเกิดจากการเผาในกิจกรรมการเกษตร และการเผาเพื่อเข้าไปหาของป่า/ล่าสัตว์

ทั้งนี้ จากการรวบรวมข้อมูลจุดความร้อนตั้งแต่ 1 มกราคม – 14 มีนาคม 2565 พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจุดความร้อนแล้ว 11,233 จุด ตามด้วยภาคเหนือ 9,353 จุด และภาคกลาง 5,671 จุด ตามลำดับ

ส่วนเช้าวันนี้ (15 มี.ค. 2565) เวลา 09.00 น. หลายจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีค่าเฉลี่ยคุณภาพอากาศปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) อยู่ในระดับที่เริ่มส่งผลต่อสุขภาพไปจนถึงมีผลต่อสุขภาพ โดยเฉพาะจังหวัดแม่ฮ่องสอนพบค่าคุณภาพอากาศ 100 Aqi ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในจังหวัดหนองคาย พบค่าคุณภาพอากาศ 113 Aqi ซึ่งถือว่า มีผลกระทบต่อสุขภาพ

สำหรับจุดความร้อนของประเทศเพื่อนบ้าน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ครองแชมป์ต่อเนื่องวันที่ 16 ซึ่งวันนี้พบ 2,896 จุด รองลงมาอันดับ 2 เป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 2,114 จุด และอันดับที่ 3 เป็นราชอาณาจักรกัมพูชา จำนวน 820 จุด ตามลำดับ ข้อมูลจุดความร้อนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศเพื่อนบ้านอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศ pm 2.5 ในพื้นที่บริเวณแนวชายแดนภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากมีลมพัดฝุ่นละอองและหมอกควันเข้ามา ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เหล่านี้ดูแลสุขภาพและสวมใส่หน้ากากอนามัยกันด้วยนะครับ

ปัญหาไฟป่าหมอกควัน ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงให้กับระบบต่างๆ ของประเทศมาโดยตลอด โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม ดังนั้น ในอนาคตอันใกล้นี้ ประเทศไทยกำลังจะได้ใช้ระบบ THOES-2 อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่ง 1 ในภารกิจสำคัญของระบบนี้ คือการสำรวจ วิเคราะห์ และติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้น ได้อย่างทันท่วงทีและแม่นยำ เพื่อการสนับสนุนข้อมูลสำคัญให้กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำข้อมูลไปใช้วางแผน ป้องกัน บรรเทา และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม รายละเอียดข้อมูลเฉพาะพื้นที่ท่านสามารถติดตามจากหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบโดยตรงได้ GISTDA ยังคงติดตามและรายงานสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลให้กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้บริหารจัดการในพื้นที่ ท่านสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://fire.gistda.or.th

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า