SHARE

คัดลอกแล้ว

ไทยพบผึ้งชนิดใหม่ของโลกที่ จ.อุบลราชธานี ตั้งชื่อ ‘หยาดอำพันภูจองนายอย’ 

วันที่ 24 มี.ค. 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าวการค้นพบผึ้งชนิดใหม่ของโลก จากอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย จ.อุบลราชธานี

ตั้งชื่อ ผึ้งหยาดอำพันภูจอง (Phujong resin bee) หรือ Anthidiellum (Ranthidiellum) phujongensis n. sp. เพื่อเป็นเกียรติแก่อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย เพราะพบได้เพียงที่เดียวแห่งเดียวบนโลกเท่านั้น

ผึ้งหยาดอำพันภูจองจะอาศัยอยู่ในรังบนผาดินมีการใช้ยางไม้ในการสร้างรังและปากทางเข้ารัง ภายในรังจะมีผึ้งตัวเมียเพียงตัวเดียวที่ทำหน้าที่ทุกอย่างตั้งแต่สร้างรัง วางไข่ และ ออกหาอาหารให้กับลูก

นอกจากนี้ทางทีมผู้วิจัยยังได้ค้นพบผึ้งปรสิตชนิดใหม่ของโลกภายในรังของผึ้งหยาดอำพันภูจองอีกด้วย โดยได้ทำการตั้งชื่อว่าผึ้งบุษราคัม (Topaz cuckoo bee) หรือ Stelis flavofuscinular n. sp. โดยผึ้งชนิดนี้จะแอบวางไข่ในรังของผึ้งหยาดอำพันและแย่งอาหารของลูกผึ้งหยาดอำพันกิน ปัจจุบันยังค้นพบเฉพาะในผืนป่าของอุทยานแห่งชาติภูจองนายอยในประเทศไทยเท่านั้น

สำหรับตัวของผึ้งหยาดอำพันภูจองฯ มีลักษณะการดำรงชีวิตที่โดดเด่น เมื่อเทียบกับผึ้งให้น้ำหวานต่าง ๆ ที่มีการแบ่งวรรณะ มีนางพญา ผึ้งงาน ผึ้งเพศผู้ อาศัยอยู่กันในรังมาก ๆ แล้วในทางกลับกันตัวผึ้งหยาดอำพันภูจองฯ จะมีการดำรงชีวิตแบบโดดเดี่ยว ซึ่งเพศเมียจะสร้างรังและดูแลอยู่เพียงลำพัง โดยจะมีการสะสมยางไม้มาใช้สร้างรัง เกิดเป็นท่อยางไม้ใสสวยงาม ภายในรังจะแบ่งเป็นห้อง ๆ ที่เพศเมียจะวางไข่สะสมอาหารไว้ให้ตัวอ่อนแล้วปิดห้อง ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อน กินอาหาร พัฒนาเป็นดักแด้ ผ่านกระบวนการเปลี่ยนสัณฐานพัฒนาเป็นผึ้งตัวเต็มวัยต่อไป

การสำรวจมามากกว่า 20 รอบในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาไม่พบผึ้งชนิดนี้ ดังนั้นการพบตัวผึ้งหยาดอำพันภูจองฯ จึงมาจากการพบรังตามผาตัดที่มีโพรงดิน ใกล้แหล่งน้ำ คาดการณ์ว่าผึ้งหยาดอำพันภูจองน่าจะเลือกทำเลสร้างรังโดยคำนึงถึงแหล่งของยางไม้ที่ใช้สร้างรังเป็นหลัก สอดคล้องกับสภาพผืนป่าของอุทยานฯ ที่มีป่าเต็งรัง มีไม้เด่นที่ให้ยางไม้มากอย่างต้นชาด ผึ้งน่าจะเลือกอาศัยตามโพรงร้างเล็ก ๆ ที่มีอยู่ก่อนหน้า มีขนาดที่เหมาะสม

งานวิจัยชิ้นนี้นำทีมสำรวจโดย ดร.ประพันธ์ ไตรยสุทธิ์ จากสาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี และนายภากร นลินรชตกัณฑ์ จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพพื้นถิ่น จ.อุบลราชธานี โดยได้รับการสนับสนุนจาก สวทช.ในการพัฒนาพื้นที่อุทยานให้เป็นแหล่ง ecotourism ที่สำคัญของประเทศและของโลก

รายละเอียด www.facebook.com/CCUBRU/videos/282025244101452

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า