SHARE

คัดลอกแล้ว

นายกฯ กำชับทุกจังหวัดเตรียมพร้อมรับมือโควิด-19 ช่วงวันหยุดสงกรานต์ ด้านสำนักประกันสังคมย้ำผู้ประกันตนเจ็บป่วยฉุกเฉิน/ติดโควิด-19 รักษาได้ทุกโรงพยาบาล

วันที่ 8 เม.ย. 2565 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กำชับกระทรวงสาธารณสุขเพิ่มช่องทางการเข้ารับบริการผู้ป่วยโควิด-19 โดยเฉพาะกลุ่มสีเขียวที่ไม่มีภาวะเสี่ยง สามารถรักษาแบบ Home Isolation และให้ได้รับการดูแล เข้าถึงยาอย่างรวดเร็ว ตามที่ สปสช.ได้ร่วมกับสภาเภสัชกรรมเชิญร้านยาที่มีความพร้อมบริการเข้ามาร่วมดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีภาวะเสี่ยง สามารถรับยา-ดูแลอาการเบื้องต้นได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ที่ร้านยาที่เข้าร่วมโครงการกว่า 700 แห่งทั่วประเทศ

หน้าร้านยาจะมีข้อความว่า “สถานบริการเภสัชกรรมชุมชน” และบรรทัดล่างจะเขียนว่า “เครือข่ายเภสัชกรอาสาปรึกษาโควิดผ่านระบบเภสัชกรรมทางไกล” สามารถรับคำปรึกษา แนะนำการใช้ยาตามอาการ และติดตามอาการผู้ติดเชื้อเมื่อครบ 48 ชั่วโมงแรก และหากมีอาการรุนแรงขึ้นจะมีการส่งเข้าระบบการรักษาในทันที

นอกจากนี้นายกรัฐมนตรียังได้สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศวางแผนรับมือการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ดังนี้

1) เน้นย้ำการดำเนินการตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อโควิดขั้นสูงสุดแบบ Universal Prevention
2) กำชับและกำกับให้ผู้ประกอบการดำเนินมาตรการ COVD – Free Setting เพื่อให้เกิดความปลอดภัย เสริมสร้างเศรษฐกิจในระดับพื้นที่ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
3) ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับวัคซีน หรือครบกำหนดฉีดวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้นเข็มที่ 3 และ 4 เข้ารับวัคซีน

• ผู้ประกันตน ม.33-ม.39 เจ็บป่วยฉุกเฉิน-ติดโควิด รักษาได้ทุก รพ.

ด้านสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า ช่วงหยุดยาวขอให้ทุกคนเตรียมความพร้อมก่อนเหตุฉุกเฉินจะมาถึง หากผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 เกิดเจ็บป่วย หรือประสบอุบัติเหตุระหว่างการเดินทาง ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน โดยยื่นบัตรประจำตัวประชาชน แสดงการเข้าใช้สิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต (UCEP)

กรณีผู้ประกันตนประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต ไม่สามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ในสถานพยาบาลตามสิทธิได้ หากเข้าหลักเกณฑ์ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต ผู้ประกันตนไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่าย

ผู้ป่วยที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตต้องมีอาการ ดังนี้
1.หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
2.หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง
3.ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม
4.เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
5.แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
6.มีอาการอื่นร่วมที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต

กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เดิม ผู้ประกันตนหรือสถานพยาบาลเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่ประกาศคณะกรรมการแพทย์กำหนดครอบคลุม 72 ชั่วโมง ไม่นับรวมวันหยุดราชการ

กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน/ฉุกเฉินวิกฤต ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดและให้รีบแจ้งสถานพยาบาลตามสิทธิเพื่อรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นภายใน 72 ชั่วโมง

ผู้ประกันตนมาตรา 40 การรักษาพยาบาลใช้สิทธิของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า