SHARE

คัดลอกแล้ว

กระทรวงยุติธรรม ส่งร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต คืนครม.หลังรับฟังความเห็น เผย ประชาชนสนับสนุน ขัดหลักศาสนาคริสต์-อิสลาม แต่ไม่ขัดข้องถ้าจะผลักดัน เร่งขับเคลื่อนส่งต่อ

สมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม

วันที่ 20 เม.ย. 2565 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม โดยมี ว่าที่ ร.ต.ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการ รมว.ยุติธรรม น.ส.ณัฐธ์ภัสส์ ยงใจยุทธ ผู้ช่วย รมว.ยุติธรรม นายธนวัชร นิติกาญจนา ที่ปรึกษา รมว.ยุติธรรม พ.ต.ท.ประวุธ วงศ์สีนิล รองปลัดกระทรวงยุติธรรม นางอรัญญา ทองน้ำตะโก รองปลัดกระทรวงยุติธรรม อธิบดีกรมต่างๆ และผู้บริหาร เข้าร่วมการประชุม

นายเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ รายงานความคืบหน้าร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิตว่า จากที่คณะรัฐมนตรี มีมติให้กระทรวงยุติธรรม ทบทวนร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต และรับฟังความคิดเห็นกับกลุ่มหลากหลายทางเพศ รวมถึงกลุ่มศาสนา ซึ่งมีคำถามเพิ่มเติม 3 คำถาม ทางกรมคุ้มครองสิทธิฯ ได้ดำเนินการให้มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ไปรับฟังความเห็น ได้ข้อสรุปเพื่อนำไปรายงานคณะรัฐมนตรีแล้ว

นายสมศักดิ์ กล่าวว่า จากรายงานที่ได้รับฟังความเห็น พบว่า

1. หลักการเหตุผลและความจำเป็น คือ มีกฎหมาย เพื่อให้คู่รักเพศเดียวกันจดทะเบียนคู่ชีวิต

2. สนับสนุนร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิตที่รัฐบาลเสนอ สนับสนุนการสมรสเท่าเทียม สนับสนุนใช้ได้กับทุกคน

3. การรับฟังความเห็นกลุ่มศาสนา พบว่า ศาสนาพุทธ ไม่ขัดหลักศาสนา ขณะที่ ศาสนาคริสต์ ขัดหลักศาสนา แต่สนับสนุนให้ใช้คำว่า ‘คู่ชีวิต’ พร้อมขอให้คุ้มครองผู้นำศาสนาที่ปฎิเสธการทำพิธีสมรส ส่วนศาสนาอิสลาม ขัดหลักศาสนา แต่ไม่ขัดข้องถ้าจะผลักดันร่างนี้

รมว.ยุติธรรม กล่าวว่า เรื่องนี้เคยมีร่างของพรรคการเมืองเสนอเข้าสภาฯ แต่ถูกตีตกไปแล้ว แต่ในร่างที่รัฐบาลเสนอ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของวิปรัฐบาลที่ส่งเรื่องให้ครม.พิจารณา และมีคำถามเพิ่มมายังกระทรวงยุติธรรม ซึ่งขณะนี้ได้คำตอบครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว และส่งเรื่องไปยังคณะรัฐมนตรีแล้ว เพราะกฎหมายที่เป็นประโยชน์กับประชาชนทางกระทรวงยุติธรรมไม่รอช้าอย่างแน่นอน และเราจะรีบขับเคลื่อน เพื่อจะได้ไปเร่งแก้ปัญหาของพี่น้องประชาชนในเรื่องอื่นต่อไป

https://www.facebook.com/workpointTODAY/posts/1765630580472879

  • ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกฎหมายแพ่งฯ ที่รับรองสมรสเฉพาะชาย-หญิง ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่สมควรตรากฎหมายรับรองสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศ

เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2564 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ) มาตรา 1448 ที่กำหนดเรื่องการรับรองสมรสเฉพาะชาย-หญิงนั้น ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และความเสมอภาค โดยระบุว่า “มิได้มีข้อความใดที่คุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลไว้เป็นการเฉพาะ ไม่จำต้องวินิจฉัยในส่วนนี้”

ทั้งนี้ ศาลฯ ได้มีข้อสังเกตว่ารัฐสภา คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องสมควรดำเนินการตรากฎหมายเพื่อรับรองสิทธิและหน้าที่ของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศต่อไป

คดีนี้เริ่มต้นจากการที่คู่รักซึ่งมีเพศตามทะเบียนราษฎร์เป็นหญิง หรือ เพิ่มทรัพย์ แซ่อึ้ง และพวงเพชร เหมคำ ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสแต่ถูกปฏิเสธ​ ต่อมาได้ยื่นคำร้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง และขอให้ศาลส่งคำร้องโต้แย้งประเด็นข้อกฎหมายไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ตามกลไก ม.212

iLaw ระบุว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ป.พ.พ. ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ประชาชนก็ไม่อาจร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า ป.พ.พ. ขัดต่อรัฐธรรมนูญได้อีก เว้นเสียแต่ว่า จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำหนดเนื้อหาบทบัญญัติในเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือเรื่องความเสมอภาคแตกต่างไปจากเดิม ประชาชนจึงจะร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ว่า ป.พ.พ. ขัดต่อรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเนื้อหาแล้วหรือรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ประเด็นการสมรสของคู่รักที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นเรื่องที่ประชาชนในความสนใจ ตลอดบ่ายวันนี้แฮชแท็ก ‘#สมรสเท่าเทียม’ ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ ด้วยจำนวนทวีตกว่า 148,000 ทวีต

อย่างไรก็ตาม ‘พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม’ ที่เสนอโดย ส.ส.พรรคก้าวไกล ได้ถูกบรรจุอยู่ในวาระการประชุมสภามานานกว่าหนึ่งปีแล้ว แต่ยังคงไม่เข้าสู่การพิจารณาวาระแรกของสภา ขณะที่อีกแนวทางคือ ‘พ.ร.บ.คู่ชีวิต’ ที่เสนอโดยกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นการแยกกฎหมายอีกฉบับ ดังนั้นคำวินิจฉัยนี้อาจส่งผลต่อการเดินหน้ากฎหมายดังกล่าว

https://www.facebook.com/workpointTODAY/posts/1778130805889523

ส่องเส้นทางกฎหมาย ‘สมรสเท่าเทียม’ ในต่างประเทศ

การแต่งงานของคู่รักเพศเดียวกันยังเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ในประเทศไทย เนื่องจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) มาตรา 1448 รับรองการสมรสเฉพาะชาย-หญิง เท่านั้น โดยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่าการกำหนดเช่นนี้ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเสมอภาค

กลุ่ม ‘ภาคีสีรุ้งเพื่อสมรสเท่าเทียม’ เปิดให้ลงชื่อแก้ไข ป.พ.พ. มาตรา 1448 เพื่อเสนอต่อรัฐสภา โดยมีประชาชนร่วมเข้าชื่อผ่านทางเว็บไซต์ support1448.org ทะลุกว่า 200,000 รายชื่อภายใน 2 วัน

ขณะที่มี ‘พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม’ ที่เสนอโดย ส.ส.พรรคก้าวไกล ซึ่งมีเนื้อหาหลักในการแก้ไข ป.พ.พ.1448 อยู่ระหว่างรอบรรจุเข้าวาระการพิจารณาของสภา และ ‘พ.ร.บ.คู่ชีวิต’ เสนอโดยกระทรวงยุติธรรม ที่เป็นกฎหมายแยกเพื่อรับรองเรื่องสิทธิประโยชน์ในฐานะคู่ชีวิต อยู่ระหว่างพิจารณา

ข้อมูลจาก Rocket Media Lab ชี้ว่ามีประเทศและดินแดนที่มีกฎหมายรับรองการแต่งงานของคู่รักเพศเดียวกัน 50 แห่ง แต่หากพิจารณาเฉพาะประเทศหลักๆ จะพบว่ามีเพียง 30 ประเทศเท่านั้น

โดยมี 17 ประเทศที่ผ่านกฎหมายนี้ด้วยระบบรัฐสภา 10 ประเทศจากคำตัดสินของศาลซึ่งถูกนำมาบังคับใช้ออกเป็นกฎหมายต่อไป 2 ประเทศมาจากการลงประชามติ และ สหรัฐอเมริกา ที่ผ่านระบบรัฐสภา คำตัดสินของศาล และประชามติ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า