Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘ผู้พันปุ่น’ อดีต นักบิน – ส.ส.เขตคลองเตย เปิดใจ ถ้าได้เป็นผู้ว่าฯ กทม. อย่างแรกขอ ‘แก้คำสาปให้คนกรุงเทพ’ ปัญหาน้ำท่วม น้ำต้องไม่รอการระบายบนถนน

วันที่ 23 เม.ย. 2565 น.ต.ศิธา ทิวารี (ผู้พันปุ่น) ผู้สมัคร ผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 11 พรรคไทยสร้างไทย โชว์วิสัยทัศน์ในรายการ BANGKOK2022 ของ workpointTODAY ตอน “แก้คำฉาปคนกรุงเทพกับ ศิธา ทิวารี”

น.ต.ศิธา กล่าวว่า สิ่งแรกหากได้รับเลือกให้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร วันแรกที่ดำรงตำแหน่งจะพูดกับข้าราชการ พนักงาน ของกทม. ทั้งหมดเพื่อปรับ Mindset โดยใช้ประสบการณ์ที่เคยเป็นข้าราชการมาก่อนทั้ง ส.ส.เขตคลองเตย 2 สมัย สังกัดไทยรักไทย และเป็นนักบินสังกัดกองทัพอากาศ กว่า 13 ปี เข้ามาจัดการ ‘ระบบอุปถัมภ์’ ให้หมดไปจากหน่วยงานกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ข้าราชการอีก 90 เปอร์เซ็นต์ มีกำลังใจในการทำงานมากขึ้น

  • ชูนโยบาย ‘พร่องน้ำออกจากคลอง’ ลดปัญหาน้ำรอการระบาย โดยไม่ต้องใช้งบเพิ่ม

น.ต.ศิธา กล่าวว่า สิ่งแรกที่ต้องแก้ไขให้ไว หลังได้รับเลือกให้เป็นผู้ว่าฯ กทม. คือเรื่องน้ำท่วม เพราะเข้าสู่ช่วงเริ่มต้นฤดูฝนพอดี เสนอแผนวิธีคิดคือ ‘พร่องน้ำออกจากคลอง’ โดยไม่ต้องให้น้ำรอการระบายอยู่บนถนน น้ำจะตกลงมาในคลองทันที มั่นใจว่าจากการทำงานอยู่เบื้องหลังทางการเมือง หลังถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเมื่อปี 2549 จากการัฐประหาร ตนเองและคุณหญิงสุดารัตน์ เกเกยุราพันธุ์ รู้แจ้งเห็นชัดแน่นอนว่าคนกรุงเทพมหานครต้องการอะไร โดยเฉพาะเรื่องน้ำท่วมปัญหาที่ทำเอาคน กทม. ปวดหัว แต่ตนเองมีวิธีแก้ไขโดยไม่ต้องใช้งบลงทุนเพิ่ม ซึ่งก่อนหน้านี้ใช้งบไปกว่าแสนล้านแล้วใช้ประโยชน์ไปได้แค่ 60 เปอร์เซ็นต์ ขอย้ำชัดๆ ว่าจะทำให้ได้ดีขึ้นไปกระทั่งถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่เริ่มเข้าไปบริหารกรุงเทพมหานคร และสามารถบริหารจัดการเรื่องน้ำได้ดีขึ้นกว่าเดิม 50% โดยไม่ต้องใช้งบลงทุนอะไรเลย หลักๆ ต้องปรับระดับน้ำคลองให้สอดคล้องแรงโน้มถ่วงของโลก บริเวณที่น้ำขัง ถ้าพร่องน้ำในคลองให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม แทนที่ที่น้ำรอการระบายอยู่บนถนนก็จะตกลงไปในคลองได้อย่างมีประสิทธิภาพ น้ำในคลองก็จะไหลไปตามเส้นทาง โดยจะทดสอบระบบการระบายน้ำทุกเขต ทั่วพื้นที่ กทม. โดยจะทำให้เห็นว่างบประมาณร่วมกว่า ร้อยล้านบาทที่ใช้ขุดลอกคูคลอง เห็นผลจริงหรือไม่ หากทำการพร่องน้ำจะเห็นเลยว่าขุดจริงไหม

“มีปัจจัย 3 ส่วน น้ำหนุน น้ำฝน น้ำเหนือ นำมาวิเคราะห์กับข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยาที่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ค่อนข้างแม่นยำว่าฝนจะตกเมื่อไหร่ จริงๆ แล้วแก้มลิงมีอยู่แล้ว แต่ตามลำคลองควรพร่องน้ำให้ถูกต้อง ยกตัวอย่าง พื้นที่รามคำแหง เป็นพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 30 เปอร์เซ็นต์ ถ้าไม่มีอะไรกั้นน้ำทะเลท่วมแน่นอน”

  • เห็นปัญหาอะไรของคนกรุงเทพฯ

น.ต.ศิธา กล่าวว่า เห็นมากว่า 50 ปีแล้ว เห็นผู้ว่า กทม. มาน่าจะ 11 คน กรุงเทพฯ ส่วนประกอบดีแต่ว่าการบริหารจัดการวางผังเมืองที่ไม่สามารถขยายได้ ขยายได้ยาก จำเป็นต้องได้รับการบริหารจัดการที่ดีกว่านี้ เช่น รถติด ถนนมีเท่าเดิมคนมากขึ้น ต้องมีระบบทดแทนที่ดี กทม. ตอนนี้การบริหารจัดการล่าช้า

  • ผลงานชิ้นโบว์แดง สมัยดำรงตำแหน่งประธานบอร์ด ทอท. ‘Happy and Healthy Bike Lane สนามบินสุวรรณภูมิ’

ผู้พันปุ่น บอกว่า สนามจักรยานเป็นผลงานที่ตัวเองภูมิใจ หลังมองปัญหาพื้นที่จุดนี้จากวิกฤตให้เป็นโอกาสจนมีเอกชนมาร่วมลงทุนงบประมาณจำนวนมากด้วยการทำ CSR โดยไม่แสวงหาผลกำไร จนกลายเป็นสนามปั่นจักรยานระดับ Top 3 ของโลก ด้วยพื้นที่ 20,000 ไร่ ถนนยาว 23.5 กิโลเมตร และสามารถทำให้คนไทยปั่นจักรยานได้ถึง 30 ล้านกิโลเมตร ซึ่งอยากให้โมเดลนี้มีอยู่ทุกมุมในพื้นที่ กทม. เพื่อให้ประชาชนมีพื้นที่ออกกำลังกาย โดยไม่ต้องใช้งบเยอะหากเปรียบเทียบการพัฒนาสวนลุมพินีที่ใช้งบประมาณ 6-7 ร้อยล้าน มองว่าสามารถแบ่งงบครึ่งหนึ่งนำมาพัฒนาให้เกิดสนามจักรยานได้เช่นกัน

  • นักบินกับนักการเมืองเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

“นักบินรบได้เรื่องการตัดสินใจเรื่องความคิดสมเหตุสมผล สามารถประยุกต์ใช้ได้กับเหตุการณ์เฉพาะหน้าทั้งหมด”

  • ชูประเด็น 3P People Profit Planet

ผู้พันปุ่น กล่าว่า นโยบายผู้ว่าฯ กทม. ทุกยุคทุกสมัยหรือแม้กระทั่ง ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ที่ลงแข่งขันกันครั้งนี้กรอบโดยรวมมองว่าต้องสร้างคน สร้างงานและสร้างเมืองให้น่าอยู่ จึงออกมาเป็นนโยบาย 3P โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุคนี้ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้นและเป็นช่วงที่วิกฤตโควิดด้วย 2 อย่างจำเป็นต้องมี Profit หรือเรื่องของการสร้างรายได้เป็นสิ่งสำคัญ ผู้ว่าฯ กทม. อาจไม่ได้เกี่ยวโดยตรงแต่จำเป็นต้องเข้าไปดูแลรับผิดชอบ

  • สโลแกน “ทำในสิ่งที่ผู้ว่าฯ กทม. คนอื่นไม่เคยทำ”

“เราอยากให้คนถาม ถามสิ่งที่อยู่ในใจคุนกรุงเทพฯ ผมได้ยินมาตลอด 50 ปี ทำไมผู้ว่าฯ กทม. ไม่ทำอย่างนั้นอย่างนี้ ปล่อยให้เกิดขึ้นไม่แก้ไข เช่น น้ำท่วม มันมีการบริหารจัดการที่ดีเยอะแต่ไม่ทำหรือไม่ใส่ใจ”

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า