SHARE

คัดลอกแล้ว

workpointTODAY ชวนคิดตามผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ในการทำพื้นที่สีเขียวเพิ่มให้กับกรุงเทพฯ ให้ได้ทัดเทียมหรือใกล้เคียงตามที่เมืองใหญ่ๆ ควรมี

หมายเลข 1 นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร พรรคก้าวไกล

เวลาเราบอกเราต้องการสร้างพื้นที่สีเขียวในกทม. คือนับแบบหลอกตัวเอง ไปเอาพื้นที่เกาะกลาง พื้นที่ฟุตปาธที่เป็นพื้นที่สีเขียว สวนเล็กๆ การปลูกต้นไม้เล็กๆ น้อยๆ มานับเป็นพื้นที่สีเขียว ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ควรนับ เพราะเราไม่สามารถไปนั่งปิกนิก เราไม่สามารถไปเดินไปเหินได้ ถูกไหม ถ้านับจริงๆ ถือว่าเรายังมีพื้นที่สีเขียวต่ำมาก ถามว่าถ้าเราต้องการพื้นที่สีเขียว เราต้องการพื้นที่ว่าง ถูกไหม ถามว่าแล้วเราจะหาพื้นที่ว่างได้ยังไง

1.ตอนนี้กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ที่บอกว่ารกร้างเนี่ยนะครับ อยู่ประมาณสัก 4,000 ไร่ ประมาณ 7,000 แปลง ถ้าเกิดตัวเลขไม่เปลี่ยนนะ แล้วก็หลายแปลงก็มีเจ้าของ เขาก็กลัวต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างถูกไหม ถามว่าแล้วเขาทำยังไง เขาก็ต้องไปปลูกมะนาว ปลูกกล้วย ถูกไหม คำถามคือเราควรทำอย่างงั้นจริงๆ หรือ นี่คือเป็นทางออกจริงๆ หรือ ถูกไหม หนึ่ง

ผู้ว่าฯ จะต้องกล้าที่จะออกข้อบัญญัติเสียใหม่ พื้นที่พาณิชยกรรม พื้นที่การค้าการขาย พื้นที่ธุรกิจ เราไม่ควรยอมรับการปลูกแบบนั้นน่ะถูกไหม แต่ถามว่าเรามีทางออกจริงปะ ถ้าเกิดเขามอบสิทธิ์ชั่วคราวในระยะยาวให้กับกรุงเทพมหานครเอาไว้ทำสวนสาธารณะ เขาก็จะไม่ต้องเสียภาษีที่ดิน ถูกไหมฮะ ในขณะที่ประชาชนคนอื่นๆ ก็จะได้ใช้พื้นที่จากสวนสาธารณะนั้นด้วย ถูกไหม

2.เราต้องสนับสนุน เขาเรียกว่าเป็น Privately owned public space (พื้นที่สาธารณะที่ครอบครองโดยเอกชน) ใช่ไหม เช่น หลายโครงการที่เป็นโครงการบ้านจัดสรรถูกไหมฮะ สามารถที่จะเชิญชวนเขาได้ว่าเอาพื้นที่เฟสสองเฟสสามที่ยังไม่พัฒนา เอามาทำเป็นพื้นที่สวนสาธารณะได้ไหมอะ มันอยู่ในบรรยากาศชนะ-ชนะ หรือเรียกว่า win-win ไง สังคมก็ได้ประโยชน์ แล้วได้ประโยชน์ทางภาษี เรื่องนี้คิดว่าก็ต้องใช้เกมนี้แหละในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวอย่างเป็นรูปธรรม พอกันทีกับการไปนับเล็กนับน้อยที่คนใช้ประโยชน์ไม่ได้แล้วก็มาหลอกตัวเองว่าพื้นที่สีเขียวเราเต็มไปหมด

หมายเลข 3 นายสกลธี ภัททิยกุล ผู้สมัครอิสระ

กรุงเทพมหานครเรามีสวนสาธารณะขนาดใหญ่ 38 สวน เช่น สวนจตุจักรหรือว่าสวนลุมฯ
ถ้าได้เป็นผู้ว่าฯ กทม. มีอันหนึ่งที่เคยทํา จะใช้คําเรียกว่าสวนทุกเขตดีกว่า 50 เขต 50 สวน สมมติบ้านผมอยู่จตุจักรเนี่ย อยากไปออกกําลังกายอะ แต่ว่าไม่เห็นจําเป็นจะต้องถ่อไปถึงสวนลุมฯ ถูกไหม ทำอย่างไรเราถึงจะทําให้ใกล้บ้านเรามีสวนขนาดเล็กให้เยอะที่สุด คือสวนไม่จําเป็นต้อง 100-200 ไร่ สวนแค่ 10 ไร่ก็โอเค

ที่ลาดพร้าวเรียกว่าสวนอยู่เย็น ตอนนั้นเราได้ที่ที่เป็นที่รกร้างว่างเปล่า มีชาวบ้านบุกรุกมา 13 ไร่ ถึงเวลาเอาคนออกไป คือเอาให้เขาไปอยู่ที่บ้านมั่นคงแล้วก็เคลียร์ตรงนั้น ทําเป็นสวนสาธารณะ ถ้าเกิดทําอย่างนี้ ถ้าทําได้ทุกเขตนี้ จะ 5-10 ไร่จะเพิ่มจํานวนเยอะเยอะ ก็เป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวแล้วก็ทํามันทําได้ด้วยโดยที่ไม่ต้องใช้งบประมาณมากเลยเพราะว่ามันเป็นที่เปล่า เราก็เอาแค่เอาวัสดุที่เป็นถนนมามาลากให้เป็นลู่วิ่ง หรือว่าเอาต้นไม้จากที่อื่นเวลาเราย้ายเข้ามาปลูกได้อยู่แล้ว

กทม. เขาจะมีลิสต์อยู่แล้วว่าที่อันไหนนี้ เป็นที่รกร้างว่างเปล่า หรือว่าที่อันไหนเป็นที่ของ กทม. ที่ยังไม่ใช้ประโยชน์เรานั้นมาปรับให้มันเป็นสวนได้โดยที่ไม่จําเป็นจะต้องเป็นสวนขนาด 300-400 ร้อยไร่เอาแค่แบบห้าไร่สิบไร่ให้คนที่เขาอยู่นี่เขาเดินไปถึง แล้วก็มีสวนอยู่ใกล้ๆ ตลอดมีหลายที่อย่างนี้

หมายเลข 4 นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ พรรคประชาธิปัตย์

อันดับแรก อยากให้ที่มีอยู่เนี่ยไปปรับปรุงให้ดี ต้นไม้ที่เป็นตุ่มๆ ที่เสียเวลา เอาออกให้หมด ทำเป็นพื้นที่สีเขียวจริงๆ ให้คนเข้ามาเดินเล่น ปิกนิกได้ อย่าไปเสียเวลาไปตัดซอย แล้วก็ปรับปรุงทางวิ่งทางเดิน อันเนี้ยชีวิตเขาดีขึ้นทันที ส่วนสวนสาธารณะที่เคยทำที่คลองเตย เราเรียกว่าสวนฉบับกระเป๋า หรือ Pocket Park แบบโตเกียวแหละครับ เพราะคนอยู่เยอะ ก็อยากจะทำตรงนี้เป็นขนาดเล็กๆ แล้วก็ไม่จำเป็นต้องมีต้นไม้วิเศษวิโสอะไร มีต้นไม้สักหนึ่งต้นสูงๆ ก็พอ แล้วก็เป็นลานกิจกรรม ตรงนี้สามารถทำได้ทุกพื้นที่ และอีกครั้งนึง

ผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ มีไม้เด็ด คือถ้าเกิดเปลี่ยนพื้นที่ว่างเปล่า จะไปปลูกกล้วย ปลูกมะนาวเนี่ย ไปลดภาษี ไม่ต้อง ถ้าเกิดมาเปิดให้คนเข้าถึง ผมลดภาษีให้เลย จะให้ถูกกว่าการเกษตรผมก็ทำได้ ขึ้นอยู่กับท่านช่วย กทม. หรือเปล่า ตรงนี้แหละครับจะทำให้พื้นที่เล็กๆ หรือพื้นที่ว่างเปล่าเป็นสวนมากขึ้น เพราะเขาไม่ต้องไปทำอะไรเลย แล้วยังได้ช่วยลดภาษีด้วย ตรงเนี้ย ตั้งใจจะให้เกิดขึ้นในทุกพื้นที่ครับ และปิดท้าย วันเนี้ย พื้นที่ในเมืองให้สูงไปเลยแบบต่างประเทศ จะได้ดูแลสาธารณูปโภค ดูแลความเรียบร้อยได้ สูงไปเลย แต่พื้นที่รอบๆ เนี่ย วันนี้ถึงเวลาต้องเก็บไว้แล้ว ไม่เช่นนั้นแล้ว มันจะไม่มีพื้นที่เก็บน้ำ รับน้ำ เวลาฝนตก หรือพื้นที่สีเขียวได้เลย ตรงเนี้ย มันอยู่ที่ mindset ของผู้ว่าฯ แล้วครับ และผมตั้งใจว่าผมจะทำให้เมืองกรุงเทพฯ มันเป็นแบบสากล ทำแบบนี้แหละครับ รักษาพื้นที่สีเขียวไว้ ดูแลที่มีอยู่ให้ดีที่สุด และทำพื้นที่สาธารณะเพิ่มเติมให้ประชาชนเข้าไปใช้ ในระยะเวลาที่เดินไปใกล้ที่สุด

หมายเลข 6 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้สมัครอิสระ

สวนสาธารณะชุมชนเมื่อก่อนนี้ สมมุติว่าออกกําลังกายอยู่กับบ้านวิ่งอยู่ทางวิ่งสายพาน วิ่งบ่อยๆ มันอาจจะเบื่อเราก็พยามจะให้เดินไปออกกําลังกายสวนสาธารณะ แต่ว่าบางทีมันไกล เราก็พยามจะเอาตรงนี้ เอามาให้มาทําในที่สาธารณะ ยกตัวอย่างง่ายๆ เราทําไปแล้ว 6 แห่ง ที่ตรงใกล้ใกล้กับหัวลําโพง มีที่แค่ครึ่งไร่เอง เจ้าของเขาก็บอกให้มาทําสวนให้เราก็ไปทําสวนให้เราก็เอามาออกกําลังกายนั่งพักผ่อนหย่อนใจนี้ เราเอาสวน ไปสู่ชุมชน
แล้วก็พอเพิ่มสวนสาธารณะขึ้นมาสวนใหญ่7แห่ง ไม่ต้องมากอ่ะดูสวนเบญจสิริ วันหนึ่งมีคนไปเดินเล่นไปออกกําลังกายต่างๆ อย่างน้อยต่อวัน 4,000 คน แล้วก็มีการเชื่อมกับสวนลุมต้นไม้

เราก็เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้เยอะขึ้นเยอะมากเลยตามมาตรฐานของ WHO 9 ตารางเมตร/คน เก้าตารางเมตรต่อคน เพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยทําสวนสาธารณะขนาดใหญ่ๆ 7แห่งแล้ว เพิ่มไป 7 แห่ง แล้วก็ในจํานวน7 แห่ง มีทํา Dog Park ด้วย มาเป็นผู้ว่าเมื่อปลายปี 2559 มี 5.7 ตารางเมตร/คน พื้นที่สีเขียว แต่ปลายปี 64 นี้ มันเป็น 7.4 ตารางเมตร/คน แล้ว ปลูกต้นไม้ไปประมาณ 1.5 ล้านต้น ทําโครงการจากล้านกล้าสู่ล้านต้นจากล้านคนสู่สังคมเมือง ตอนนี้เราทําไปเมื่อปี 2563 ปลูกต้นไม้ไป แจกต้นไม้ไปอะไรไป

จริงๆ แล้วเราแจกต้นไม้ให้ประชาชนไปประมาณล้านต้น แต่เราคาดหวังว่าปลูกขึ้นบ้างไม่ขึ้นบ้าง ถ้าได้ห้าสิบเปอร์เซ็นต์ก็คือ 500,000 ต้น แล้วเราก็ลงมือทําเองไปประมาณล้านต้น มากกว่านั้นก็คือพื้นที่ที่ติดทะเล 4,700 เมตร ไปทําปลูกป่าชายเลน เพราะว่าน้ำมันกัดเซาะป่าชายเลนเข้ามา เริ่มตั้งแต่ปี 60 เลย พื้นที่หายไปประมาณ 3,300 ไร่ น้ำมันกัดเซาะเข้ามา ทํากินอะไรไม่ได้เลยนี้ เป็นพื้นที่น้ำท่วมไปแล้ว เลยไปตั้งมูลนิธิปลูกป่าในใจคนตามศาสตร์ของพระราชา ตั้งแต่ปี 60 เลย ที่กรุงเทพฯ มันแพง ที่เอกชนนี้ เข้าใจที่เขามาปลูกกล้วยปลูกอะไรมามันหลบเรื่องภาษีอะ เราก็เคยไปขอความร่วมมือต่างๆ สั่งให้สํารวจเมื่อปี 62 พื้นที่ของ กทม. ที่ยังรกร้างว่างเปล่า มี 4,000 กว่าไร่ เหลือเชื่อไหมอย่างน้อยไปปรับพื้นที่ปลูกป่าขึ้นมาก่อน ปลูกต้นไม้อะไรก็ได้ ไม่จําเป็นจะต้องปลูกให้มันจัดสวนให้สวยไม่จําเป็น ทําอะไรก็ได้ให้มันเป็นไม้ใหญ่ไม้ใหญ่ยืนต้นเนี่ย เพื่อลดภาวะโลกร้อนตรงนี้ เราก็ทำไปเยอะแล้วนะตรงนี้

หมายเลข 7 น.ส.รสนา โตสิตระกูล ผู้สมัครอิสระ

พื้นที่สวนสาธารณะอะไรพวกนี้ควรที่จะต้องเป็นพื้นที่ไม่จำเป็นจะต้องเป็นสวนใหญ่ๆ เรามีสวนใหญ่ๆ อยู่พอสมควร แต่ถ้าเรามีสวนสาธารณะที่อยู่ในชุมชน ให้ชุมชนเนี่ย คนสูงวัย ออกมาออกกำลังกาย มาเดิน แล้วก็มีพื้นที่ที่เป็นสนามกีฬาให้เด็กในชุมชนเนี่ยมาเล่น จะได้ไม่ติดเกมมากเกินไปนะฮะ เพราะว่าจริงๆ แล้วเนี่ย ตามหลักมาตรฐานโลก เขาก็อยากจะให้มีสวนที่คนเดินได้ภายในระยะ 15 นาที เพราะฉะนั้นเนี่ย คิดว่าเราก็จะสำรวจ เพราะฉะนั้นถ้าเราเนี่ยแบ่งแต่ละเขต 50 เขต แต่ละเขตสำรวจมาเลย มีพื้นที่ว่างตรงนั้นเท่าไหร่ พื้นที่ว่างนั้นจะทำเป็นสวนสาธารณะ เป็นพื้นที่กีฬา เป็นพื้นที่ที่อาจจะอเนกประสงค์ อาจจะเป็นพื้นที่ขี่จักรยาน ทำเส้นทางเชื่อมต่อเช่นไอ้ใต้ทางด่วน ทำให้มันเป็นพื้นที่ที่แบบแทนที่จะทิ้งไว้ว่างเปล่า

เราเจรจากับเจ้าของพื้นที่ว่ามาทำให้เป็นพื้นที่ อาจจะเป็นสวน เป็นกีฬา สนามกีฬา แล้วก็อาจจะเป็นพื้นที่ให้หาบเร่แผงลอยมาขายของด้วยยังได้ ทำพื้นที่ให้มันสวยๆ แล้วก็ให้แยกขยงขยะ ไม่ทำเลอะเทอะ อะไรแบบนี้นะฮะ มันก็จะได้ประโยชน์หลายอย่าง อาจจะขึ่จักรยานไปเพื่อไปต่อไอ้รถสาธารณะในแต่ละจุด ซึ่งพวกนี้เนี่ย มันจะดูได้เนี่ย คิดว่าชุมชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมไง ชุมชนจะต้องเป็นคนเข้ามาดู ไม่ใช่ว่า เอ้ย เราอยู่ตรงไหนก็ไม่รู้แล้วเราก็เป็นคนมาชี้ๆๆ ว่าทำตรงนี้ๆ ไม่ใช่ เราต้องการให้มีการมีส่วนร่วม ให้มันใช้ได้จริงนะ จะช่วยทำให้คุณเนี่ยมีความสะดวกสบายมากขึ้น เป็นสิ่งที่เราต้องการทำตรงนี้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว อย่างน้อยที่สุดคิดว่าเราควรจะทำให้ได้ 9 ตารางเมตรต่อคน

หมายเลข 8 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครอิสระ

พื้นที่สีเขียวเป็นตัวที่แสดงถึงความน่าอยู่ของเมือง เป็นเรื่องจำเป็น ทั้งเรื่องฝุ่น ทั้งเรื่องอะไรอย่างนี้ นโยบายเรื่องพื้นที่สีเขียวสำคัญ ต้องเพิ่มให้ได้อย่างต่อเนื่อง อย่างกรุงเทพฯ ถามว่าเราไปไหน ก็ไปสวนลุมฯ สวนเบญจกิติ สวนใหม่ไปยัง สวยมากเลย ต้นไม้เขียวมากเลย แต่ถามว่าจะมีกี่คนที่ไปได้ถูกปะ เพราะว่ามันอยู่ไกลบ้านไง งั้นจริงๆ แล้วเรามีสวนใหญ่ดี ไม่เป็นไร เส้นเลือดใหญ่เรามีดี แต่ว่าอย่าลืมสวนเส้นเลือดฝอยที่อยู่ตามบ้าน เพราะแนวคิดเราคือทำกรุงเทพฯ 15 นาที พยายามทำให้คนเดินถึงสวน พื้นที่สีเขียว พื้นที่สาธารณะได้ภายใน 15 นาที จากบ้านอาจจะ 800 เมตร

ถามว่าเราจะทำจากไหน ส่วนหนึ่งก็เป็นพื้นที่รัฐถูกไหม เราไปดูพื้นที่ทางด่วน พื้นที่อะไรอย่างนี้ที่เรามาปรับเป็นพื้นที่สีเขียวได้ พื้นที่ของราชการเปิดประตูได้ไหม ให้คนเข้าไปใช้ได้ พื้นที่สีเขียวมันมีประโยชน์ต่อเมื่อคนเข้าไปใช้ได้ ไม่ใช่ว่าปิดรั้วเอาไว้ แล้วอาจจะไม่ต้องเป็นพื้นที่ใหญ่ก็ได้ เป็น strip เหมือนที่เราดูริมคลองประปา ก็จะมีสวนสีเขียวที่เป็นแนวยาวอย่างนี้ สวยเลย อาจจะเป็น strip park ก็ได้ เป็น pocket park อีกอันนึงคือเอาพื้นที่เอกชน อาศัย พ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่เป็นภาษีอะ ประชาชนที่ยังไม่อยากขายที่ แต่ก็ต้องเสียภาษีเยอะ เพราะมันตามภาษีที่ดินใช่ไหม เอาตรงนี้มาให้ กทม. เช่าบาทนึงอย่างนี้ ถูกๆ แล้วก็ไม่ต้องเสียภาษี แล้วเอาพื้นที่นี้มาทำเป็นที่สาธารณะ แล้วก็ปลูกต้นไม้ อาจจะให้เช่า 10 ปี คือเราอยากปลูกต้นไม้

แต่เราอยากปลูกต้นไม้ในใจคนเหมือนกันอะ เราอยากจะให้คนกรุงเทพรักต้นไม้ไง รู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่ง คือปลูกต้นไม้ให้ได้ 1 ล้านต้นใน 4 ปี 4 ปี ก็คือปีละ 250,000 ต้น เด็กนักเรียน กทม. เรามี 270,000 คนนะครับ เราให้ทุกคนปลูกต้นไม้คนละต้นได้ไหม แล้วก็ให้เขาดูแลไป เพราะงั้นเราจะเห็นต้นไม้ที่มีชื่อ ด.ช.สมชาย ปลูก ไม่ต้องมีแต่ผู้ใหญ่ รัฐมนตรี นายกฯ ปลูก มีป้ายที่ ด.ช.สมชาย ปลูกแล้วก็ให้ต้นไม้โตไปกับเขาอะ เหมือนกับเป็นส่วนหนึ่งของเมือง นี่คือหัวใจของพื้นที่สีเขียว มันคือการลงทุนสำหรับคนในอนาคตอะ แล้วขณะเดียวกันผมว่าต้องมีรุกขกร รุกขกรคือคนที่เข้าใจเรื่องการดูแลต้นไม้อะ ประจำเขตเลย งั้นแต่ละเขตไปอบรมมา ต้องมี 1 คนที่เข้าใจเลย ไม่ใช่ตัดแบบหัวด้วน ตัดเล็ม ตัดแต่ง เลือกต้นไม้ที่เหมาะสม โซนนี้จะเอาดอกไม้อะไรลง ให้สะพรั่งทั้งถนนได้ไหม งั้นพื้นที่สีเขียวต้องมีฮะ แล้วก็ต้องเป็นพื้นที่สีเขียวที่อยู่ใกล้บ้าน มีคุณภาพ แล้วก็สร้างความสวยงามสร้างความสุขให้เมืองได้

หมายเลข 11 น.ต.ศิธา ทิวารี พรรคไทยสร้างไทย

เคยทำสนามจักรยานสุวรรณภูมิ ตอนอยู่การท่าฯ ทำสนามจักรยานให้คนไทยไปปั่น ผมสรุปง่ายๆ ตอนนี้ ทุกวันนนี้มีเอกชนคือ SCB เห็นความสำคัญ ไม่ได้ใช้เงินขององค์กรแม้แต่บาทเดียวนะครับ ใช้เงินงบประมาณในการซ่อมบำรุง ได้สนาม car free 23.5 กิโลเมตรที่สุวรรณภูมิ ถ้าใครเคยไปปั่นจะทราบว่า โอ้โห มันดีมาก แล้วก็ปั่นฟรี ผมทำให้คนไทยปั่นจักรยานทั้งๆ ที่ผมคุมสนามบิน ผมคิดนอกกรอบ ทำสนามจักรยาน มีคนใช้ SNAP (สายข้อมือ) เข้าไปปั่นเนี่ยไม่ต่ำกว่า 1 ล้านครั้ง/ปี ครั้งนึงเนี่ยอย่างต่ำคือ 23.5 กิโลเมตร บางคนปั่น 2 รอบ บางคน 3 รอบ เพราะฉะนั้นเนี่ย 30-40 ล้านกิโลเมตร/ปีนะครับ เป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องประชาชน เป็นสนามจักรยานที่ดีอันดับ 1 ใน 3 ของโลก จะทำแบบนี้กับทุกพื้นที่ใน กทม. ทั้งในเรื่องของการเอาที่ดินของหน่วยราชการทั้งหมด

ผู้ว่าฯ กทม. จะประสานงานกับทุกส่วนราชการในการเอาที่มาใช้ ไม่เท่านั้นเอกชน ทุกวันนี้เนี่ยเราไปออกกฎเกณฑ์ให้เขาต้องมาจ่ายภาษีที่ดินรกร้าง เขาก็แก้ปัญหาด้วยการไปปลูกต้นกล้วยอัดๆ กันแล้วก็เก็บเกี่ยวกินไม่ได้ แต่ว่ามีคนมาติ๊กว่า ใช่ แล้วอาจจะจ่ายเงินจ่ายทอง โอเค อันนี้ถือว่าเอามาทำ ไม่ต้องเสียภาษีหรือเสียในอัตราถูกลง อะไรอย่างนี้ บอกไม่ต้องไปทำแบบนั้น เจ้าสัวทั้งหลายแหล่ คนมีตังค์ทั้งหลายแหล่ จะไปคุยกับคุณแล้วบอกว่า เฮ้ย ขอตรงที่คุณไม่ใช้ คุณเอามาทำเป็นสวนเป็นนู่นเป็นนี่ไหม แล้วคุณก็พัฒนาให้ดี ติดชื่อคุณ คุณก็ได้ชื่อ เอา CSR ของบริษัทคุณมาทำก็ได้ แล้วเรื่องภาษีเรื่องอะไรต่างๆ มาดูแล้วจะได้ privilege จาก กทม. ในการดำเนินการ จริงๆ เดี๋ยวนี้สามารถเก็บเงินจากคาร์บอนเครดิตได้ มีพื้นที่ที่ปลูกป่าปลูกต้นไม้ เอาไปเขาจ่ายเงินให้เป็นรายปีอาจจะไม่ได้เยอะ แต่ว่าเราเอามาชดเชยกับเรื่องภาษีที่คุณจะต้องเสียต้องทำนู่นทำนี่เนี่ย เราเอามาดู แล้วเราก็จะมี privilege ตัว Bangkok Coin ที่บอกเนี่ย เอามาช่วยในกระบวนการนี้ จะทำตรงนี้ เพราะฉะนั้นแคมเปญที่บอกจะทำในสิ่งที่ผู้ว่าฯ กทม. ไม่เคยทำในเรื่องเหล่าๆ นี้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า