SHARE

คัดลอกแล้ว

ผู้จัดงานแจ้งเปลี่ยนสถานที่จัดเวลาดีเบต ผู้สมัคร ผู้ว่าฯ กทม. หลัง ผอ.เขตปทุมวันไม่อนุญาตให้พื้นที่ลานหน้าหอศิลป์ อ้างเสี่ยงแพร่ระบาดโควิด-19

วันที่ 3 พ.ค. 2565 เครือข่ายร่วมจัดงาน “กรุงเทพฯ เมืองที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” เวทีเปิดแนวคิดผู้สมัคร ผู้ว่าฯ กทม. ร่วมกันแถลงชี้แจงเหตุในการเปลี่ยนแปลงสถานที่จัดงาน จากเดิมกำหนดจัดงานเป็นเวทีสาธารณะบริเวณลานหน้าหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ แยกปทุมวัน แต่ไม่สามารถจัดงานได้ เนื่องจากทางผู้อำนวยการเขตปทุมวันทำหนังสือแจ้ง ไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องขยายเสียงในการทำกิจกรรม เนื่องจากเป็นสถานที่ใกล้แยกมีจราจรคับคั่ง และช่วงเวลาดั่งกล่าวมีผู้สัญจรจำนวนมากทำให้มีความเสี่ยงการระบาดโรคโควิด-19

คณะผู้จัดงาน ชี้แจงว่า แรกเริ่มผู้จัดตั้งใจขอเช่าสถานที่จากหอศิลป์ กทม. เนื่องจากเป็นการจัดงานเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. จึงตั้งใจให้สาธารณะรับฟังประเด็นสิทธิมนุษยชนในเรื่องนี้ ยืนยันว่า ได้ขออนุญาตตามขั้นตอนที่กำหนดไว้แล้ว ทั้งการขอเช่าพื้นที่บริเวณลานหน้าหอศิลป์ฯ การขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียง จาก สน.ปทุมวัน และเมื่อได้รับใบอนุญาตจากตำรวจมาแล้วจึงนำไปยื่นกับสำนักงานเขตปทุมวัน ประกอบกับมาตรการโควิด-19

แต่สำนักงานเขตปทุมวันว่า ให้ผู้จัดมีการกั้นฉากความสูง 2 เมตรรอบบริเวณงานเพื่อป้องกันไม่ให้มีคนมุงดูบนทางเชื่อมรถไฟฟ้า BTS และทางหอศิลป์ฯ โดยหนังสือตอบรับกลับจากสำนักงานเขตส่งมาเมื่อเวลา 18:00 น.ของวันที่ 2 พ.ค. จึงจัดงานในลักษณะที่ร้องขอไม่ทัน เมื่อไม่ได้รับอนุญาตจากทางเขตปทุมวัน จึงหาสถานที่เปิดไม่ทัน จึงจำเป็นต้องจัดสถานที่ปิด

นางปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) กล่าวว่า มีความตั้งใจร่วมจัดงานนี้เพราะอยากเห็นวิสัยทัศน์ของผู้สมัครผ่านเลนส์ของสิทธิมนุษยชน เพราะมีความเกี่ยวข้องกับทุกคน ตั้งแต่ เกิด อยู่ และเสียชีวิต อยากเห็นปรากฏการณ์ที่กรุงเทพไม่มีความเหลื่อมล้ำและความเท่าเทียม ในสภาวะวิกฤติ อยากเห็นทุกที่มีสิทธิในการจัดเวทีสาธารณะได้อย่างเสรี

“เรารู้สึกทั้งตกใจและตั้งคำถามด้วยว่าในเขตเดียวกันแต่ยังมีพื้นที่ที่จัดเวทีสาธารณะได้เหมือนกัน อย่างหน้าลานห้างสรรพสินค้า จริง ๆ เป็นเรื่องที่ดี ทำไมสิ่งที่เราพยายามทำตามกระบวนการทุกอย่าง แต่กลับได้รับการปฏิบัติแบบนี้ อยากจะขอตั้งคำถามต่อสื่อ ผู้สมัครทุกท่าน และสังคมว่า ในบ้านเมืองนี้ไม่มีพื้นที่ให้กับสิทธิมนุษยชนหรอคะ เราจะช่วยกันสร้างความหวังและสนับสนุนให้ กทม. เป็นเมืองที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังได้อย่างไร” ปิยนุช กล่าว

นางอัจฉรา สรวารี เลขาธิการมูลนิธิอิสรชน กล่าวว่า มูลนิธิฯทำงานกับคนที่อยู่ในพื้นที่สาธารณะ เริ่มตั้งแต่เกิดจนตาย และเป็นประเด็นที่มักถูกมองข้าม ที่ผ่านมา ยังไม่เห็นวิสัยทัศน์จากตัวว่าที่ผู้สมัครเกี่ยวกับการถูกละเมิดสิทธิของคนที่ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ จึงคาดหวังว่าจะได้เห็นมุมมองจากเวทีในวันนี้

นายบดินทร์ สายแสง นักปฏิบัติการวิจัย สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวความเห็นใน 2 ประเด็นด้วยกัน คือ กระบวนการเลือกตั้งนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเสรีและเป็นธรรม ซึ่งจะขาดการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ อย่างภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และภาคสื่อมวลชน ไม่ได้เลย จึงน่าเสียดายมากที่เราไม่สามารถจัดพื้นที่สาธารณะให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งและผู้สนใจเข้าฟังประเด็นที่น่าสนใจอย่างสิทธิมนุษยชนได้ และอีกประเด็นคือเราได้รับเกียรติจากผู้สมัครถึง 24 ท่านมาแสดงวิสัยทัศน์กับคนกรุงเทพฯ

“วันนี้เป็นวันที่ 3 พ.ค. เป็นวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก กระบวนการปิดกั้นการนำเสนอของสื่อมวลชนเพื่อนำเสนอต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งจึงไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง หวังว่าเวทีต่อจากนี้จะไม่เผชิญปัญหาอย่างที่พวกเราเผชิญอยู่” บดินทร์ กล่าว

นายกฤตภาส เชษฐเจริญรัตน์ อุปนายกฝ่ายกิจการภายใน สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เสียใจและเสียดายเป็นอย่างยิ่งที่เพื่อนนิสิตนักศึกษาหลายคนที่ตั้งใจร่วมงานในวันนี้ต้องชมผ่านออนไลน์แทน ไม่มีโอกาสถามถึงผู้สมัครผู้ว่าฯ ของเรา ทั้งปัญหาไล่รื้อพื้นที่ในชุมชนสามย่านและสะพานเหลือง ปัญหาคนไร้บ้าน เราอยากนำปัญหานี้มาถามผู้สมัครทุกคน

“เวทีนี้เดิมที่เราจะได้จัดในพื้นที่สาธารณะกลับถูกปิดกั้นในพื้นที่ที่ถ่ายทอดออนไลน์แทน มันสะท้อนให้เห็นว่าพื้นที่สาธารณะเรากำลังลดหายลงไป พื้นที่ที่เราจะเชิญชวนเพื่อนที่เดินผ่านร่วมฟังผู้สมัครว่ามีความคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนอย่างไร พื้นที่สาธารณะที่เราจะจัดในด้านอื่นจะมีโอกาสอีกไหมในอนาคต น่ากังวลมากที่เราจะสูญเสียพื้นที่สาธารณะไป” กฤตภาส กล่าว

คณะผู้จัดได้ตั้งข้อสงสัยว่าที่ผ่านมาในพื้นที่ใกล้เคียงสามารถจัดงานได้ เช่น

1. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดกิจกรรม “Gender fair สานพลังเครือข่ายร่วมขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ” เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 65 มีเวทีและเครื่องขยายเสียง สามารถมองเห็นได้จากสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ

2. เทศกาลศิลปะแสงกลางแจ้ง “จรัสแสง Light Fest @BACC” เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 62 – 2 ก.พ. 63 มีเวทีและเครื่องขยายเสียง สามารถมองเห็นได้จากสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ

3. ผู้อำนวยการเขตปทุมวันเป็นประธานเปิดกิจกรรม “ปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนพญาไทและถนนพระราม 1” เมื่อวันที่ 23 ก.ค. 62 มีการใช้เครื่องขยายเสียง สามารถมองเห็นได้จากสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ เป็นต้น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า