SHARE

คัดลอกแล้ว

ไล่เรียงประเด็นร้อนการเมือง โครงการบริหารและดำเนินกิจการระบบส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก หรือ “โครงการท่อส่งน้ำ EEC” กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ได้เลี่อนการลงนามในสัญญา  โครงการบริหารและดำเนินกิจการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออกกับ บริษัทวงศ์สยามก่อสร้าง จำกัด วงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งชนะการประมูลเหนือ บริษัทบริหารจัดการทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก หรืออีสต์วอเตอร์ ผู้รับสัมปทานเดิม ไปเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2565

ซึ่งประเด็นการเซ็นสัญญา “โครงการท่อส่งน้ำ EEC” ถูกฝ่ายค้านตั้งข้อสังเกตถึงความผิดปกติ และจะร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือป.ป.ช. ให้ตรวจสอบ

เริ่มต้นเมื่อวันที่ 28 เม.ย. ที่ผ่านมา นายยุทธพงษ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม และรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ออกมาแถลงข่าวถึงการเตรียมความพร้อมอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดย 1 ใน 3 เรื่องใหญ่ ที่นายยุทธพงษ์โฟกัส คือ การเซ็นสัญญาโครงการท่อส่งน้ำ EEC มูลค่ากว่า 25,000 ล้านบาท ที่จะเกิดขึ้นเดือน พ.ค.นี้

วันรุ่งขึ้น 3 พ.ค. 2565 นายยุทธพงษ์ ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์รัฐบาล เพื่อขอให้ตรวจสอบเรื่องการประมูลโครงการ และขอให้ยับยั้งการลงนามสัญญากับบริษัทเอกชนรายหนึ่งที่ได้รับคัดเลือก ซึ่งมีกำหนดเซ็นต์สัญญา และยังไปยื่นเรื่องต่อนายไชยา พรหมา ส.ส.หนองบัวลำภู พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานกรรมาธิการ (กมธ.) ศึกษาและติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร ให้ตรวจสอบ 8 ความโปร่งใสในการดำเนินโครงการดังกล่าว

ซึ่งในวันนั้นเอง การเซ็นสัญญาระหว่างกรมธนารักษ์ กับ บริษัทวงศ์สยามก่อสร้าง จำกัด ถูกเบรก !!!

วันเดียวกัน นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า นายกฯ รับทราบข้อสังเกตและข้อสงสัยว่าอาจมีความไม่โปร่งใส โดยได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังไปตั้งกรรมการตรวจสอบทุกขั้นตอนให้เกิดความโปร่งใส ส่วนจะมีการลงนามในสัญญาได้เมื่อใด “ต้องดูว่าข้อเท็จจริงจะออกมาเมื่อไหร่ ต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน”

ขณะที่ วันนี้ (5 พ.ค. 2565) พล.อ.ประยุทธ์ ได้ตอบคำถามประเด็นโครงการท่อส่งน้ำ EEC ว่า “เรื่องดังกล่าวสั่งการไปแล้ว” และพร้อมจะให้เข้าสู่กระบวนการตรวจสอบ โดยผู้สื่อข่าวถามย้ำถึงการกล่าวที่ระบุว่าจะให้เข้าสู่กระบวนการตรวจสอบหมายถึงเรื่องโครงการท่อส่งน้ำ EEC ใช่หรือไม่ ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ ตอบกลับว่า “ทุกเรื่องๆ”

(ประภาส คงเอียด อธิบดีกรมธนารักษ์)

นายประภาศ คงเอียด อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยผ่านรายการเจาะลึกทั่วไทยเช้าวันนี้ กรณีแชทหลุดของผู้บริหารบริษัท บมจ.จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก (EASTW) หรืออีสต์วอเตอร์ ประเด็นโครงการท่อส่งน้ำ EEC ว่าต้องมีการพิสูจน์ต่อไปว่าแชทดังกล่าวเป็นของจริงหรือไม่ โดยต้องให้พนักงานสอบสวนหรือตำรวจที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งถ้าแชทดังกล่าวเป็นของจริง ก็ต้องดำเนินการตามกฏหมายต่อไป โดยต้องดูว่า เข้าลักษณะเป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฎิบัติหน้าที่ทางอาญาหรือไม่ และต้องดูว่าการกระทำดังกล่าวมีเจตนาหรือไม่ ซึ่งต้องดูพฤติกรรมอื่นๆ ประกอบนอกจากข้อความในแชทด้วย

“การที่จะดำเนินการดังกล่าวนั้นต้องมีข้อเท็จจริงที่เป็นทางการมาที่ผม หรือผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง เช่น นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการที่ราชพัสดุ หลังจากนั้นท่านก็ต้องสั่งการให้ดำเนินการตามหน้าที่นั่นคือกระบวนการตามกฏหมาย” อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม นายประภาศ ไม่ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับแชทดังกล่าว โดยระบุว่า “ผมเห็นข้อความในแชทไลน์ ก็ต้องดำเนินการตามหน้าที่ขอความอนุเคราะห์ไปเพื่อตรวจสอบ เพื่อประโยชน์ในการส่งมอบทรัพย์สิน ไม่ได้มีเจตนาอย่างอื่น”

ส่วนกรณีบริษัทอีสต์วอเตอร์มีหนังสือตอบกลับเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2565 ที่ระบุว่า หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลาย และบริษัทฯ จัดเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับสถานที่และข้อมูลที่เกี่ยวข้องแล้ว บริษัทฯ ยินดีจะให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ของกรมธนารักษ์ โดยบริษัทฯ จะมีหนังสือแจ้งกำหนดวันและเวลาให้ทราบต่อไปนั้น นายประภาศ กล่าวว่า ขณะนั้นที่บริษัทมีหนังสือตอบกลับมามาตรการโควิด-19 ยังเข้มงวดอยู่ ยังยอมรับได้ระดับหนึ่ง ในวันนั้นเจ้าหน้าที่ของกรมธนารักษ์ได้เดินทางไปตรวจสอบ ไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ ดูได้บริเวณรอบนอกเท่านั้น และหลังจากวันนั้นแล้วก็ยังไม่มีการเข้าพื้นที่อีก

อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวว่า ณ ขณะนี้ยังไม่มีการลงนามในสัญญา ได้เตรียมการว่าเมื่อมีการลงนามในสัญญาแล้ว คู่สัญญารายใหม่ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ดังนั้นจะให้กรมธนารักษ์ และบริษัทอีสต์วอเตอร์ รวมทั้งคู่สัญญารายใหม่ลงพื้นที่พร้อมกัน เพื่อทำการตรวจสอบทรัพย์สิน และดูว่าทรัพย์สินรายการไหนที่จะต้องมีการดำเนินการ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงกับผู้บริโภค คู่สัญญารายใหม่จะต้องดำเนินกร ยืนยันว่า จะไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้ใช้น้ำ

“สำหรับท่อส่งน้ำทั้ง 3 ท่อ จะต้องส่งมอบ 2 ท่อที่ไม่มีสัญญาก่อน ส่วนท่อหลักส่งมอบเมื่อสิ้นสัญญาปีหน้า เพราะฉะนั้นต้องไม่ให้เกิดความเสี่ยงกับผู้บริโภค โดยให้คู่สัญญารายใหม่เข้าไปดูและเตรียมการให้พร้อม ซึ่งไม่สามารถที่จะระบุได้ว่าเป็นวันไหน แต่ต้องทำให้เร็วที่สุด” อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวและย้ำว่า จะต้องมีการลงนามในสัญญาก่อน โดยให้เจ้าหน้าที่ของกรมธนารักษ์ พร้อมด้วยบริษัทคู่สัญญารายใหม่ และบริษัทอีสต์วอเตอร์ เข้าไปตรวจสอบพร้อมกันเพื่อดำเนินการส่งมอบ โดยหลังจากลงนามก็สามารถเข้าไปตรวจสอบในพื้นที่จริงได้ทันที แต่โดยหลักการกรมธนารักษ์ต้องแจ้งบริษัทอีสต์วอเตอร์ให้รับทราบก่อน ซึ่งต้องใช้อำนาจหน้าที่ทางกฏหมาย

นายประภาศ กล่าวถึงกรณีนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อตรวจสอบความโปร่งใสของการประมูลสัมปทานดังกล่าวว่า วันนี้ตนจะเสนอไปยังกระทรวงการคลัง เพื่อขอตั้งคณะกรรมการ โดยจะเสนอไปยังนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลังเพื่อความโปร่งใส เนื่องจากนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคลัง เป็นคณะกรรมการที่ราชพัสดุ คาดว่าจะทราบผลการตรวจสอบภายใน 7 วัน

ส่วนของการตรวจสอบการส่งรายได้เข้ารัฐย้อนหลัง 30 ปีนั้น นายประภาส ระบุว่า เป็นหน้าที่โดยตรงของกรมธนารักษ์ ซึ่งก็เหมือนการตรวจสอบภาษีของกรมจัดเก็บภาษี เป็นการตรวจสอบวคามถูกต้องว่าที่ผ่านมามีการส่งรายได้ถูกต้องหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ยังไม่ต้องดำเนินการทันที แต่หากมีข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้อง ก็เป็นหน้าที่ทางกฏหมายไม่ใช่เรื่องที่จะเอาคืน

ฝ่ายค้านจะร้องต่อ ป.ป.ช. หลังศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ

ขณะเดียวกัน นายยุทธพงษ์ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ระบุถึงการยื่นเอาผิดต่อ ป.ป.ช.นั้นว่า ต้องรอหลังจากเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี ที่จะยื่นเอาผิดต่อ ป.ป.ช. เพราะมีผู้อยู่ในข่าย 5 ราย ได้แก่

1. พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล

2. นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง

3. นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง

4. คณะกรรมการที่ราชพัสดุ 6 คน ที่ลงมติรับรองให้บริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง เป็นผู้ชนะประมูล

5. นายยุทธนา หยิมการุณ อดีตอธิบดีกรมธนารักษ์ ที่เร่งรีบให้เปิดซองประกวดราคาในวันที่เกษียณอายุราชการ 30 ก.ย. 2564 ถ้าจะทำให้โปร่งใสจริง ต้องเปิดให้มีการประมูลใหม่ โดยเรียกบริษัทใหญ่อื่นๆ ทุกบริษัทมาร่วมประมูลด้วย

แต่เช้านี้มีความเคลื่อนไหวที่ สำนักงาน ป.ป.ช. โดยทางด้านนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทยนั้น ก็เข้ายื่นข้อมูลเพิ่มให้กับ ป.ป.ช. เพื่อสอบสวนเอาผิด คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนเอกชนในการจัดให้เช่า/บริหารระบบท่อส่งน้ำน้ำสายหลักในภาคตะวันออก, อธิบดีกรมธนารักษ์ และคณะกรรมการที่ราชพัสดุ ที่มีนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคลัง เป็นประธาน กรณีมีข้อพิรุธการเปลี่ยนแปลงทีโออาร์ (TOR) โครงการประมูลท่อส่งน้ำ EEC ซึ่งนายศรีสุวรรณ ระบุว่าได้เคยร้องเรียนไว้ก่อนหน้านี้แล้วตั้งแต่เมื่อปลายปี 2564

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ สั่งคลังสอบโครงการท่อส่งน้ำอีอีซี ย้อนหลังก่อนเซ็นสัญญา

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า