SHARE

คัดลอกแล้ว

ลูกคนรวย เป็นคำที่พูดถึงกันมาก และพวกเราก็เจอพวกเขาในชีวิตมาตลอด

TOMORROW ชวนถอดบทเรียน The One Percent เรื่องราวความทุกช์ของชีวิต ผ่านสายตาคนใกล้ชิดลูกคนรวย

โดยทั่วไปแล้ว ลูกคนรวยเกิดมาโชคดีกว่าคนยากคนจน หรือชนชั้นกลาง แต่ในบางครั้งชีวิตของพวกเขาก็แสนลำบาก จะลำบากเพราะทำตัวเอง สังคม หรือเพราะถูกพ่อแม่รังแก เราจะมาคุยเรื่องนี้กัน

คำว่า ‘รวย’ มีหลายระดับ บางครั้งคนที่เรามองว่ารวย ก็อาจจะอยู่แค่ระดับกลางๆ เมื่อเทียบกับระดับโลก ส่วนคนที่รวยจริงๆ จะถูกเรียกว่า ‘The One Percent’ คือกลุ่มคนร้อยละ 1 ในโลกที่แสนจะรวย

ประสบการณ์ จากคนใกล้ชิดลูกคนรวย

หนังสือ I Left My Homework in The Hamptons: What I Learned Teaching the Children of The One Percent เขียนโดย Blythe Grossberg ซึ่งมีโอกาสไปเป็นติวเตอร์ให้กับลูกหลานกลุ่มคน The One Percent ในนิวยอร์ก ต้องบอกก่อนว่า กลุ่มคน The One Percent ที่ว่านี้นอกจากจะมีเงินมหาศาล ยังมีอำนาจ มีตำแหน่งใหญ่โต และเป็นที่นับหน้าถือตาของคนในสังคมด้วย

 

หลังอ่านหนังสือเล่มนี้ เราได้ 5 บทเรียนออกมา สรุปได้คือ

  1. ทุกข์ของลูกคนรวย : Blythe เล่าว่า ลูกคนรวยต้องเผชิญกับความทุกข์ยากในชีวิตอย่างมาก พวกเขาอาจจะดูเหมือนกับว่าจะมีทุกอย่าง มีรถสปอร์ต มีเสื้อผ้าดีๆ ใส่ตลอดเวลา แต่หลายคนต้องแบกรับความกดดันจากพ่อแม่ เป็นความกดดันแบบไม่มีที่สิ้นสุด

    เด็กกลุ่มนี้ต้องการในสิ่งเดียวกัน คือ การได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยชื่อดัง พวกเขาต้องตื่นตั้งแต่ตี 4 ไปซ้อมสควอช ซ้อมเทนนิส เพื่ออัปโปรไฟล์ตัวเอง พอกลับจากโรงเรียนก็ต้องมาเรียนพิเศษ ซึ่งตารางชีวิตของพวกเขาในแต่ละวันยาวเหยียด ถ้าใครรับมือได้ก็ถือว่าดีไป แต่ก็มีไม่น้อยเลย ที่รับมือไม่ไหว จนต้องหาทางออกด้วยการใช้สารเสพติดบ้าง ขณะที่บางคนก็จบลงที่เป็นโรคซึมเศร้า

Blythe พูดในหนังสือว่า “เด็กกลุ่มนี้ มีทุกอย่างที่พวกเราอยากจะมี เงิน รถ บ้าน อาหาร แม่บ้าน เครื่องบินส่วนตัว แต่พวกเขา ไม่มีความสุขเลย พวกเขาดูกังวลตลอดเวลา”

2. พ่อแม่รังแกฉัน : Blythe อธิบายว่า ลูกไม่มีความสุข ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพราะได้รับความรักผิดๆ ของพ่อแม่

ที่บอกว่ารักแบบผิดๆ คือ พ่อแม่ของเด็ก 1% เหล่านี้ อยากให้ลูกได้ทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนกับที่พวกเขาได้ พวกเขากลัวว่าลูกจะไม่ได้มีชีวิตร่ำรวยสุขสบายแบบที่พวกเขามี สำหรับพ่อแม่ที่ร่ำรวยแล้ว การที่จะต้องมาเห็นลูกใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก สุขสบายน้อยกว่าพวกเขา มันเป็นภาพที่ทนเห็นไม่ได้เลย

และในโลกของกลุ่มคนรวยมาก การที่จะมีชีวิตที่ดีได้ ต้องเริ่มที่ได้ไปโรงเรียนดีๆ รายล้อมด้วยสังคมที่ดี พ่อแม่จึงพยายามทำทุกอย่าง เพื่อให้ลูกๆ ได้เรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำ ส่งผลให้พ่อแม่หลายคนเลี้ยงลูกราวกับว่าเป็น ‘บริษัท’ ของตัวเอง ถ้าไม่ได้ตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ ก็ดุด่าลูก ทำให้เห็นว่าผิดหวัง เหมือนกับวิจารณ์ ‘สินค้า’ แต่พวกเขาลืมคิดไปว่าบริษัทหรือสินค้าไม่ได้มีความรู้สึก มีหัวใจ แต่ลูกมีความรู้สึกนึกคิด พอถูกดุด่าแรงๆ ก็เจ็บปวดได้

 

3. ปัญหาลูกคนรวยในสหรัฐฯ เป็นปัญหาระดับโครงสร้าง : ที่สหรัฐฯ จะมีมหาวิทยาลัยอยู่ 8 แห่งที่เรียกว่า Ivy League เป็นมหาวิทยาลัยที่ใครก็อยากเข้าไปเรียน เพราะมันคือเครื่องการันตีการงานและสังคมที่ดี

สำหรับมหาวิทยาลัย 8 แห่งที่ว่านี้ ได้แก่
– มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
– มหาวิทยาลัยเยล
– มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย
– มหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน
– มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
– มหาวิทยาลัยบราวน์
– วิทยาลัยดาร์ตมัธ
– มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์

พ่อแม่ 1% จะพยายามทุกวิถีทาง เพื่อส่งลูกไปเรียนมหาวิทยาลัยเหล่านี้ให้ได้ จนขนาดที่บางคนถึงกับขวนขวายด้วยวิธีผิดๆ เช่น เอาเงินไปให้โค้ชกีฬาในมหาวิทยาลัยชั้นนำ เพื่อรับลูกของตัวเองเข้าทีม หรือจ่ายเป็นล้านๆ จ้างเด็กเก่งมาทำข้อสอบแทนลูกตัวเอง หรือบางคนใช้วิธี บริจาคเงินเป็นพันๆ ล้านเพื่อสร้างตึก ทำมูลนิธิให้กับมหาวิทยาลัย ทำให้มหาวิทยาลัยต้องรับลูกคนรวยเข้าเรียน จนเคยเกิดเรื่องแดงขึ้นมา และกลายเป็นข่าวใหญ่ ที่เรียกว่า ‘Operation Varsity Blues’

ไม่ใช่แค่พ่อแม่คนรวยอเมริกันเท่านั้น ที่จีนก็ไม่แพ้กัน อ้างอิงจากบทความของมติชน มีรายงานว่า เจ้าของกิจการ ‘ชานตง ปู้ฉาง’ ใช้วิธีทุ่มเงินให้โค้ชกีฬาในมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด จนลูกสาวได้เข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัย

 

4. กลับมาที่เมืองไทย ในสังคมเราก็จะเห็นหลายข่าวลูกคนรวย มีอำนาจล้นเหลือ แต่กลับใช้อำนาจในทางที่ผิด หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า ‘Wrong on so many levels’ คือ ความผิดระดับไม่น่าเคารพ ไม่น่ารัก แม้ว่าเรื่องพวกนี้จะเกิดขึ้นทั่วไปและไม่ได้มาเกี่ยวข้องอะไรกับชีวิตเรา แต่ก็มีคนที่ผิด ขนาดผิดกฎหมายชัดๆ ก็ยังเอาตัวรอดได้

ในไทยยังไม่เคยมีหนังสือตีแผ่สังคมคนรวย โดยเฉพาะกลุ่ม 1% แต่ก่อนหน้านี้มีคลิปไวรัลชิ้นหนึ่ง ที่อาจจะพอสะท้อนความรู้สึกของคนไทยต่อรวยได้ คลิปดังกล่าวคือ The Good Human ของ ‘เบนซ์-ธนชาติ ศิริภัทราชัย’ ที่เป็นคลิปสัมภาษณ์นักธุรกิจรุ่นใหม่ผู้ประสบความสำเร็จชื่อ ‘แวน ธิติพงษ์’ เนื้อหาพูดถึงคนหนุ่มสาวผู้ร่ำรวยและประสบความสำเร็จ เห็นปรากฎอยู่ตามบทสัมภาษณ์ต่างๆ ล้วนมีต้นทุนทางเศรษฐกิจอันสูงลิ่ว มีคอนเน็กชั่น – เครือข่ายอำนาจแวดล้อมที่เพียบพร้อม มีระบบกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ให้ตนเองเสร็จสรรพ และต่อให้พวกเขาอาจล้มเหลวในการริเริ่มบุกเบิกอะไรใหม่ๆ นั่นก็จะเป็นเพียงการ ‘ล้มบนฟูก’

ขณะเดียวกัน วิดีโอยอดยังวิพากษ์วิจารณ์ ‘สื่อ’ ซึ่งคอยทำหน้าที่สร้างเสริมภาพลักษณ์ด้านบวก ให้แก่ชนชั้นนำ ผ่านกลยุทธ์ ‘ปากว่าตาขยิบ’ คือพยายามปกปิดความเป็นจริงที่ไม่สวยงาม แล้วสร้างภาพฟุ้งฝันอันกลวงเปล่าไร้แก่นสารหน้ากล้อง

 

5. สำหรับบทเรียนส่งท้ายที่ได้รับจาก Blythe Grossberg คือคำแนะนำถึงพ่อแม่ทั้งที่เป็นคนรวยและไม่รวย จงพึงระลึกเสมอว่าลูกของคุณเป็นมนุษย์คนหนึ่ง เขามีความรู้สึก มีจิตใจ เขามีสิทธิ์ที่จะเลือกเส้นทางชีวิตของเขาเอง เขาอาจจะแตกต่างจากคุณก็ได้ เขาอาจจะไม่ได้ร่ำรวย หรือประสบความสำเร็จเท่าคุณ แต่เขาอาจจะอยากเลือกเส้นทางชีวิตที่เขามีความสุขก็ได้

 

อ้างอิง

https://www.matichon.co.th/foreign/news_1475796

https://www.youtube.com/watch?v=qmT8f0X0JQs

https://www.matichonweekly.com/column/article_510860

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า