SHARE

คัดลอกแล้ว

จากผู้สมัครที่เคยมีความเห็นปรามาสว่าเขาได้กระแสแค่บนโลกออนไลน์และกลุ่มวัยรุ่น

แต่คะแนน 1.4 ล้านเสียงที่เลือกให้ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ เป็นผู้ว่าฯ กทม. ทุบสถิติการเลือกตั้งพ่อเมืองกรุงเทพฯ ก็เป็นที่ชัดเจนว่าความนิยม ‘ชัชชาติ’ ไม่ได้เป็นดังคำปรามาสที่ว่า

ชัยชนะของ ‘ชัชชาติ’ ครั้งนี้มาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น การลงพื้นที่จริงมาตลอด 2-3 ปี เพื่อพูดคุยกับผู้คนและสำรวจปัญหามาพัฒนาเป็นนโยบาย หรือจะเป็นบุคลิกของชัชชาติ ที่เข้าถึงง่าย เป็นกันเอง

แต่ถึงอย่างนั้น สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้ผู้สมัครอิสระ ไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองไหนแบบเขาคว้าชัยชนะมาได้ ก็คือ ‘ทีมงานชัชชาติ’

ทีมงานชัชชาติที่ไม่ได้มีจำนวนมากมายอะไรเมื่อเทียบกับพรรคการเมืองใหญ่ๆ ในทีมหลักราว 30 คน ส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ แต่ละคนไม่เคยผ่านงานการเมืองมาก่อน

พวกเขาทำงานกันอย่างไร มีวิธีคิดแบบไหน TODAY Bizview มีโอกาสได้พูดคุยกับ ‘พัฒน์-เอื้อย-แหวน’ ตัวแทนทีมงานชัชชาติ และขอสรุปมาเป็น 5 ข้อให้ทุกคนได้อ่านกัน

1.เอ๊ะ

แนวคิดแรกที่ทีมงานชัชชาติทุกคนมี นั่นคือการ “เอ๊ะ” หรือการฉุกคิด ตั้งคำถามถึงสิ่งต่างๆ ที่กำลังทำอยู่ว่าจะนำไปสู่อะไร และทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นกว่าเดิมได้หรือไม่

ทุกคนน่าจะได้รับแนวคิดนี้มาจากการทำงานร่วมกับชัชชาติ เพราะเขามักจะ “เอ๊ะ” ซึ่งชวนให้ทีมงาน Rethink หรือคิดต่อไปด้วยกันเสมอ จนหล่อหลอมทักษะนี้เข้าไปในตัวทีมงานทุกคนก็ว่าได้

พัฒน์ – พัฒน์ จันทะโชติ

ยกตัวอย่างคือเรื่องนโยบาย 9 ดี 9 ด้าน ที่ทำออกมาเป็นการ์ตูนและได้รับกระแสดีมากจากคนรุ่นใหม่

ทีมชัชชาติบอกว่าในตอนแรกไม่ได้ตั้งใจจะสื่อสารกับคนรุ่นใหม่ซะทีเดียว แต่เกิดจากการคิดว่าจะถ่ายทอดนโยบาย 200 กว่าข้อออกมายังไง

ที่สุดก็ออกมาเป็น 9 ดี 9 ด้าน แต่ก็เกิดการ “เอ๊ะ” ว่าแล้วจะสื่อสารกับคนรุ่นใหม่ยังไง ท้ายที่สุดก็เลยทำออกมาเป็นการ์ตูน

2.ฟัง

เมื่อเกิดการ “เอ๊ะ” ขึ้นมา แน่นอนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือการระดมสมอง ถกเถียงมากมายเพื่อหาข้อสรุปว่าจะทำ-ไม่ทำ ถ้าทำ จะทำแบบไหน

แต่ในระหว่างการถกเถียง บรรยากาศของทีมชัชชาติ คือบรรยากาศของ ‘การรับฟัง’ ด้วย

จุดเริ่มต้นของบรรยากาศนี้ส่วนหนึ่งก็มาจาก ‘ชัชชาติ’ เองที่เป็นคนเปิดกว้างและเปิดใจรับฟัง แม้หลายครั้งผลของข้อสรุปจะไม่ตรงใจเขา แต่ถ้าผ่านการถกเถียงมาแล้ว ชัชชาติก็ยอมรับ

ในทีมเองเวลาถกเถียงกัน แสดงความเห็น ทุกคนก็รับฟังคนอื่นแบบที่ไม่มีการโกรธหรือดราม่าตามหลัง เพราะทุกคนรู้ดีว่านี่เป็นเรื่องงาน และทุกความเห็นจากทุกคนก็ออกมาจากความตั้งใจทั้งนั้น

เอื้อย – พรพรรณ ปุณณกะศิริกุล

น่าสนใจอย่างหนึ่งคือทีมชัชชาติต่างก็เป็นคนที่ไม่มีอีโก้ ทุกคนไม่มีใครมา ‘ขิง’ หรือเบ่งใส่กันว่าฉันเก่งเรื่องนี้ รู้เรื่องนี้ พวกเขาพร้อมรับฟังผู้อื่น ด้วยพื้นฐานมายด์เซ็ตที่ว่ามาทำเพื่อกรุงเทพฯ

3.จุดประสงค์-ผลลัพธ์

อีกแนวคิดที่ทำให้แคมเปญหลายอย่างสำเร็จ ไปจนถึงชัยชนะของชัชชาติ เป็นเพราะทีมงานมีจุดประสงค์และวางเป้าหมายผลลัพธ์ไว้อย่างชัดเจน

ทีมชัชชาติเข้ามาทำงานด้วยจุดประสงค์และเป้าหมายเดียวกันที่ว่า “ต้องการจะพัฒนากรุงเทพฯ ให้ได้” “อยากเห็นกรุงเทพฯ เปลี่ยนแปลง” และชัชชาติก็เป็นความหวังของพวกเขาที่จะทำให้ไปถึงเป้าหมายนั้น

การกำหนดจุดประสงค์และผลลัพธ์ ยังเป็นแนวคิดที่ถูกนำมาใช้ในหลายๆ สิ่งที่ทีมชัชชาติทำ

คือเวลาจะทำแคมเปญอะไรสักอย่าง พวกเขาจะคิดก่อนว่าอยากเห็นผลลัพธ์ออกมาเป็นยังไง หรือจะทำสิ่งนี้เพื่ออะไร จากนั้นถึงจะเข้าสู่ขั้นตอนการหาวิธีทำเพื่อให้เกิดผลลัพธ์นั้นขึ้น

4.Trust

แนวคิดอีกข้อที่เราเห็นจากทีมชัชชาติ ก็คือ Trust หรือการเชื่อมั่นในตัวกันและกัน

สิ่งนี้เริ่มตั้งแต่ชัชชาติเอง ตั้งแต่การรับคนเข้าทีม ชัชชาติเลือกคนกลุ่มแรกเข้าทีมจากการเชื่อมั่น เชื่อใจ ว่านี่คือคนที่จะร่วมทางไปกับเขา

ทีมชัชชาติกลุ่มแรกๆ 4-5 คน ก็เติมคนอื่นๆ เข้าทีมโดยเลือกจากคนที่ตัวเองรู้จักและเห็นแล้วว่านอกจากจะมีความสามารถ ก็ยังเชื่อว่ามีเคมีการทำงานที่เข้ากันได้

คนรุ่นใหม่ที่เข้ามาทำงานในทีมชัชชาติเอง ก็เชื่อในตัวชัชชาติ ซึ่งพวกเขาบอกว่าสิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ แต่เกิดจากการเห็นในสิ่งที่ชัชชาติทำในทุกๆ วัน เช่น เรื่องวิ่ง

พวกเขาบอกว่า การวิ่งของชัชชาติ เขาไม่ได้คิดแค่ว่าวิ่งเพื่อให้ตัวเองแข็งแรง สุขภาพดี แล้วจบ แต่ชัชชาติวิ่งบนหลักคิดที่ว่าจะได้สุขภาพแข็งแรงเพื่อให้ดูแลลูกได้ ดูแลเมืองได้ นั่นทำให้พวกเขาเชื่อในตัวชัชชาติ

แหวน – นริศรา สื่อไพศาล

และชัชชาติเองก็เชื่อในตัวทีมงานเช่นกัน แม้ทีมงานแต่ละคนจะไม่เคยทำงานการเมืองกันมาก่อน แต่เขาก็ปล่อยให้คิดอย่างอิสระ ไม่ตีกรอบ แต่ก็จะมีการถามว่าเป็นยังไง ทำแล้วดีมั้ย ถ้าทำแล้วดี ทำแล้วไป เขาก็จะปล่อยให้ทำชนิดที่เชื่อแล้วเชื่อเลย

5.ไฮบริด

ข้อสุดท้ายของการทำงานแบบทีมชัชชาติก็คือ ‘ไฮบริด’

ด้วยความที่คนน้อย ทำให้ทีมชัชชาติอาศัยการเทิร์นคนให้ไปทำงานอื่นๆ เจอหน้างานใหม่ๆ ที่ต่างไปจากเดิม และนั่นทำให้คนในทีมชัชชาติแต่ละคน ‘ไม่มีชื่อตำแหน่ง’

อย่างพัฒน์ที่หลักๆ ดูเรื่องนโยบาย งานแรกของเขาคือการติดโปสเตอร์ที่กระจก

เอื้อย เข้ามาในตำแหน่งแอดมินดูแลกลุ่มไลน์อาสาเพื่อนชัชชาติ ต่อมามีหน้าที่ดูแลโซเชียลมีเดีย และแปลงข้อความนโยบายเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย

แหวนที่ตอนแรกเข้ามาทำงานโปรดักชั่น แต่ด้วยความที่เคยอยู่วงการสื่อ ทำให้ได้มาดูแลสื่อ เขียนข่าวประชาสัมพันธ์ ไปจนถึงจับงานอีเวนต์

แน่นอนว่าการทำงานแบบนี้ทำให้พวกเขาเหนื่อย เพราะทำงานกัน 7 วัน และบางครั้งไม่มั่นใจในหน้าที่ใหม่ๆ ที่ได้รับ

แต่เพราะแพสชั่นที่อยากจะพัฒนากรุงเทพฯ ความเชื่อในตัวผู้นำ และมายด์เซ็ตของการพร้อมรับฟัง ไม่ถือว่าตัวเองเก่ง ทำให้ไม่ว่าจะไฮบริดไปทำหน้าที่อะไร พวกเขาก็ตั้งใจทำมันออกมาให้ดีที่สุด

และท้ายที่สุดก็ออกมาเป็นผลลัพธ์อย่างที่เราเห็นกันนั่นเอง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า