SHARE

คัดลอกแล้ว

 

เครือข่ายแรงงานข้ามชาติ-คนไร้สัญชาติ ฟ้อง 5 องค์กรภาครัฐต่อศาลปกครอง กรณีมาตรการเยียวยาโควิด-19 โครงการ “ม.33 เรารักกัน” จำกัดสัญชาติผู้ได้รับสิทธิไว้เพียงสัญชาติไทย แม้แท้จริงแรงงานข้ามชาติขึ้นทะเบียนและหักเงินประกันสังคมเข้ากองทุนกว่าล้านราย 

วันที่ 27 พฤษภาคม 2565 เครือข่ายแรงงานข้ามชาติและแรงงานไร้สัญชาติซึ่งเป็นผู้ประกันตน นำโดย มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา เดินทางไปยังศาลปกครอง เพื่อยื่นฟ้องต่อ 5 หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กระทรวงการคลัง คณะกรรมการกลั่นกรองเงินกู้ และคณะรัฐมนตรี

โครงการ ม.33 เรารักกัน เป็นโครงการภายใต้แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา ชดเชย ให้แก่ภาคประชาชนฯ ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) พ.ศ.2563โดยการเสนอของกระทรวงแรงงาน ได้รับการอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 มีข้อกำหนดให้ผู้มีสิทธิตามโครงการฯเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่มี “สัญชาติไทย” เท่านั้น 

“ความจริงแล้วเรามีผู้ประกันตนซึ่งเป็นคนที่ไม่มีสัญชาติไทยด้วยประมาณ 1 ล้านคนและไม่ได้รับเงินเยียวยาช่วงโควิดที่ผ่านมา”  ปสุตา ชื้นขจร ทนายความประจำมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาระบุ

ก่อนหน้านี้กลุ่มแรงงานข้ามชาติซึ่งเป็นผู้ประกันตนได้ร้องเรียนความไม่เป็นธรรมกรณีโครงการ ม.33 เรารักกัน เลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติขัดต่อกฎหมายและขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยต่อผู้ตรวจการแผ่นดินผู้ตรวจการแผ่นดินมีคำวินิจฉัยว่าโครงการ “ม.33 เรารักกัน” มิได้ขัดต่อ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 27 วรรคสาม ได้บัญญัติห้ามมิให้เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะความแตกต่างในเรื่อง “เชื้อชาติ” เท่านั้น มิได้หมายรวมถึง “สัญชาติ” ดังนั้น การที่โครงการฯ กำหนดคุณสมบัติผู้ได้รับสิทธิไว้ว่าต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้นจึงมิได้มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพราะความแตกต่างในเชื้อชาติ ตัวแทนผู้ประกันตนฯ ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยดังกล่าว

9 ธันวาคม 2564 เครือข่ายแรงงานข้ามชาติ ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยว่าโครงการ ม.33 เรารักกัน ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ จนกระทั่งศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งในวันที่ 10 มกราคม 2565 ไม่รับคำร้องไว้พิจารณา โดยแจ้งว่าโครงการ “ม.33 เรารักกัน” เป็นโครงการตามมติคณะรัฐมนตรี กรณีความรับผิดของหน่วยงานทางปกครองอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลอื่น ก่อนจะตัดสินใจฟ้องศาลปกครองในวันที่ 27 พฤษภาคม 2565 

“เป้าหมายสูงสุดของเราก็คือเราอยากเห็นคนที่เป็นผู้ประกันตนทั้ง 1 ล้านคนได้รับการเยียวยา แต่เราก็ไม่สามารถกำหนดศาลท่านได้ว่าจะวินิจฉัยอย่างไร แต่ขั้นพื้นฐานที่สุด เราต้องการให้คนไทยรู้ด้วยว่าโควิด-19 ไม่ได้เกิดผลกระทบแค่คนไทย แต่ระหว่างการฟ้องเราก็ได้ทำแคมเปญรวบรวมคนที่เห็นด้วยที่ควรให้คนที่ไม่ใช่คนไทยได้รับเงินเยียวยา เปิดโอกาสให้ลงชื่อสนับสนุนทำให้มีรายชื่อสนับสนุกว่า 2,198 ชื่อ ทำให้คาดหวังว่าเราจะเห็นสังคมไทยตระหนักเห็นคนที่ไมใช่คนไทยและมีส่วนพัฒนาระบบเศรษกิจของประเทศเราด้วย” ปสุตากล่าว

เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2564 หลังการนื่นตรวจสอบครั้งแรกของเครือข่ายฯ ต่อประเด็นมาตรการเยียวยาผู้ประกันตนที่ไม่ครอบคลุมถึงแรงงานข้ามชาติ รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน นายสุชาติ ชมกลิ่น โพสต์เพจเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุ “ถ้านำเงินกู้ของรัฐบาลไทย ไปจ่ายให้กับคนทุกเชื้อชาติ ถึงเวลาเป็นหนี้เขาไม่ได้เป็นกับเรา” และ “ ไม่ได้ใช้เงินในส่วนของกองทุนประกันสังคม และเงินในกองทุนประกันสังคม พ.ร.บ.นั้นได้ดูแลคนทุกเชื้อชาติที่อยู่ในกองทุนสมาชิกกองทุน แต่การเยียวยา ม.33 ใช้เงินกู้ของรัฐบาลไทย ซึ่งนำมาช่วยเหลือดูแลในส่วนของแรงงานไทย มันจึงเป็นคนละเรื่องกับเงินกองทุนประกันสังคม” 

ตัวแทนมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ชี้ว่าแรงงานข้ามชาติจ่ายค่าธรรมเนียมในการอยู่ในประเทศ ผ่านการทำงาน การซื้อประกันสุขภาพ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตลอดจนการจับจ่ายใช้สอย “เขาไม่ได้มาอยู่ฟรีแต่มาช่วยพัฒนาระบบเศรษฐกิจบ้านเรา ไม่อยากให้ทอดทิ้งใครคนใดคนหนึ่งไว้ข้างหลัง”

นายเตอร์ แรงงานคนไร้สัญชาติ ระบุว่า “ผมคิดว่คนมันน่าจะเท่าเทียมกัน สัญชาติที่มันไม่ได้เหมือนกันแต่เมื่อจ่ายเงินก็ควรจะได้รับการเยียวยาเหมือนกัน อย่างเช่นผู้ประกันตนตามม.33 ที่จ่ายเงินสมทบทุกเดือน แต่พอมีโ๕รงการเรารักกัน ทำไมถึงขอแค่ให้คนไทย ตัวผมเองก็จ่ายเงินทุกเดือนแล้วทำไมผมไม่ได้ เวลาเราหิวข้าวเอาเงินไปซื้อกับข้าวก็ได้กับข้าวกลับมา แต่นี่เราจ่ายไปแล้วไม่ได้เงิน ความรู้สึกของพวกเราเรารู้สึกว่าไม่ควรทิ้งพวกเราหรือบอกพวกเราว่าไม่ต้องมีการดูแลในส่วนนี้เพราะไม่ได้มีสัญชาติไทย”

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า