SHARE

คัดลอกแล้ว

อาหารจากพืช หรือ plant based food อุตสาหกรรมอาหารรูปแบบใหม่ เจาะกลุ่มคนที่อยากกินเพื่อเปลี่ยนตัวเอง และกินเพื่อเปลี่ยนโลก 

ช่วงแรกๆ ของโรคระบาด อาหาร plant based มาแรงมาก หลักๆ คือ คนอยู่บ้านมากขึ้น กลับมาโฟกัสสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของตัวเอง

ทำให้พวกเขามองหาทางเลือกใหม่ๆ ในการทำอาหาร ซึ่งนอกจากมังสวิรัติ และเมนูเน้นผักผลไม้แล้ว ยังมีอาหาร plant based นี่แหละ ที่คนนิยมทำกินกันที่บ้าน 

Plant-Based Food คืออาหารในกลุ่มโปรตีนทางเลือก ทำจากพืชที่ให้โปรตีนสูง เช่น ถั่ว, เห็ด, สาหร่าย, ข้าวโอ๊ต, อัลมอนด์, ธัญพืช, แครอท, ฟักทอง, บีทรูด 

โดยเป็นการนำวัตถุดิบเหล่านี้ มาผสมผสานกับเทคโนโลยี สร้างเป็นอาหารเลียนแบบเนื้อสัตว์ อย่างเนื้อวัว เนื้อหมูจากพืช ไข่จากพืช ที่ให้รส รูป กลิ่น ใกล้เคียงเนื้อสัตว์มากที่สุด 

ซึ่งหลายคนได้ลองกินเนื้อวัว ไก่ ไข่ หรือไส้กรอกจากพืชเป็นครั้งแรก ก็พบว่า รสชาติมันไม่เลวเลย ซึ่งจุดนี้ช่วยดึงดูดคนที่ไม่ชอบกินมังสวิรัติ และกลุ่ม Flexitarian Diet (กินมังบ้าง ไม่กินบ้าง) ให้หันมาสนใจ plant based ได้เป็นอย่างดี 

เมื่อคนเริ่มเปิดใจ วัตถุดิบ plant based ก็ขายดี คนซื้อมาทำอาหารเรื่อยๆ ทำให้ธุรกิจ plant based ในต่างประเทศเติบโตสูงมาก

มูลค่าตลาด Plant-Based Food ทั่วโลกในปี 2019 ที่อยู่ที่ 1.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 4.98 แสนล้านบาท และมีอัตราเติบโต 10% ต่อปี 

นอกจากนี้ยังมีการลงทุนในกลุ่มนี้สูง ด้วยความเชื่อว่า มันคืออุตสาหกรรมแห่งอนาคต เพราะอาหารจากพืช เรียกว่าเป็นการวินวินทั้งสองฝ่าย 

ทั้งฝ่ายคนกิน ที่จะลดความเสี่ยงจากโรคที่มาพร้อมอาหารฟาสต์ฟู้ด และสัตว์เนื้อแดง รวมถึงวินต่อโลก เพราะกระบวนการผลิตอาหารจากพืชนั้น ทำร้ายสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์

[ plant based ทางเลือกของการกินช่วยโลก ]

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในเว็บไซต์ Nature Food บอกว่า อุตสาหกรรมการผลิตอาหารทั่วโลกตอนนี้ มีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สู่ชั้นบรรยากาศถึง 1 ใน 3 ของการปล่อยก๊าซจากกิจกรรมมนุษย์ทั่วโลก 

งานวิจัยยังบอกด้วยว่า ระบบการผลิตอาหาร ตั้งแต่การใช้เครื่องจักรการเกษตร การฉีดพ่นปุ๋ย และการขนส่งผลิตภัณฑ์ ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก 17.3 พันล้านเมตริกตันต่อปี 

การเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหาร ยิ่งส่งผลเสียต่อสภาพอากาศ มากกว่าการปลูกและแปรรูปผักผลไม้  

การใช้วัว สุกร และสัตว์อื่นๆ เป็นอาหาร มีส่วนทำให้เกิดการปล่อยมลพิษทั้งหมด 57% โดย 29% มาจากการเพาะปลูกอาหารจากพืช 

ซึ่งลำพังเนื้อวัวเพียงอย่างเดียว ก็คิดเป็น 1 ใน 4 ของการปล่อยมลพิษที่เกิดจากการผลิตอาหารแล้ว

จึงสามารถสรุปได้ว่า ถ้าคนหันมากินพืชมากขึ้น ก็ถือว่าเป็นการช่วยโลกไปในตัวนั่นเอง   

[ ตลาด plant based คึกคัก มองไปทางไหนก็เจอ ] 

ตอนแรก plant based ดูเหมือนจะเป็นแค่อาหารทางเลือกเท่านั้น แต่ในอนาคต มันอาจกลายเป็นเมกะเทรนด์ในไม่ช้า

ตรงนี้มีข้อมูลมาเสริมเล็กน้อย ในออสเตรเลียตอนนี้กำลังฮิตนมจากพืชมาก ในปี 2021 มี ผลสำรวจจากคาเฟ่ 900 แห่ง พบว่า 1 ใน 4 ของชาวออสเตรเลีย เลือกกินนมจากพืช และนมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือนมอัลมอนด์ ตามด้วยนมถั่วเหลืองและนมข้าวโอ๊ต 

Sean Edwards ฌอน เอ็ดเวิร์ดส์ นักวิเคราะห์ตลาดร้านกาแฟกล่าวว่า นมจากพืช น่าจะครองตลาดเครื่องดื่มคาเฟ่ครึ่งหนึ่งในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า 

ตัวอย่างแบรนด์ plant based ของโลก ที่มีชื่อเสียงติดตลาดไปแล้วคือ Beyond Meat และ Impossible Food 

ใครที่เดินซูเปอร์มาร์เก็ตบ่อยๆ อาจคุ้นเคยเนื้อสัตว์แพ็กเกจจิ้งสีดำน้ำตาลของ Beyond Meat เพราะมีขายซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วโลกรวมถึงในไทยด้วย 

เนื้อของ Beyond Meat ยังถูกใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับเมนู Plant-Based Meal ในร้านเชนใหญ่อย่าง สตาร์บัคส์, แมคโดนัลด์, ทาโก้เบลล์, พิซซ่าฮัท รวมถึงเคเอฟซี 

ข้ามมาฝั่งไทยบ้าง ไทยถือเป็นตลาดที่คึกคักสำหรับ plant based ทั้งสตาร์ทอัพ แบรนด์รายใหญ่ รายย่อย ต่างออกอาหาร plant based บุกตลาด ตัวอย่างเช่น

  • Meat Avatar หรือ มีท อวตาร บริษัทเล็กๆ ที่มีสินค้าเด็ดคือ หมูสับจำแลง
  • Let’s Plant Meat เบอร์เกอร์เนื้อจากพืช ผลิตโดยสตาร์ทอัพเชียงใหม่ วางขายทั้งทางออนไลน์ เทสโก้ โลตัส, ฟู้ดแลนด์ และกูร์เมต์ มาร์เก็ต
  • More Meat สตาร์ทอัพไทย ที่มีสินค้าเป็นหมูสับที่ทำมาจากเห็ดแครง สตาร์ทอัพเจ้านี้ยังมี วี ฟู้ดส์บริษัทของ ‘อภิรักษ์ โกษะโยธิน’ มาร่วมลงทุนด้วย 
  • เชนใหญ่ๆ ก็ไม่น้อยหน้า ซีพีเอฟ (CPF) เปิดตัวแบรนด์ MEAT ZERO โดยมีทั้งกลุ่มอาหารสำเร็จรูปพร้อมปรุง และอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน
  • alt. Eatery (อัลท์ อีเทอรี่) ที่มาเป็นเครือร้านอาหารเลย โดย alt. Eatery มาจากบริษัท NRPT บริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด (อินโนบิก) และบริษัท โนฟ ฟู้ดส์ จำกัด จับมือกันสร้าง alt. Eatery ที่ตั้งเป้าหมายให้ไปไกลกว่าร้านอาหาร แต่เป็นคอมมิวนิตี้อาหาร Plant-based กลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 

ซึ่งล่าสุด แสนสิริ ก็มองเห็นเทรนด์นี้ ปล่อยที่ดินปากซอยสุขุมวิท 51 ติด BTS ทองหล่อให้ทำร้าน alt.Eatery แบบไม่คิดค่าเช่าด้วย 

แต่สิ่งที่ต้องคิดคือ ยังไม่มีงานวิจัยไหนที่บอกว่า plant based จะช่วยโลกได้จริงในระยะยาว เพราะการปลูกพืชก็ใช้ยาฆ่าแมลงที่ทำลายระบบนิเวศน้ำและดินได้ 

ที่สำคัญคืออาหาร plant based นั้น มันผ่านการแปรรูปอย่างหนัก ซึ่งอาจไม่ได้ดีต่อสุขภาพอย่างที่เราคิด  เพราะปริมาณโซเดียม และส่วนประกอบอื่นๆ ที่เรายังไม่รู้จัก 

[ สรุปส่งท้าย ]

ธุรกิจ plant based food แม้จะรุ่งเรืองช่วงโควิด แต่ก็ซบเซาลงไปจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน และเงินเฟ้อ ค่าสินค้า อาหารขึ้นราคา ทำให้คนชะลอการกิน plant based food ลงไป เพราะต้องยอมรับว่า plant based food ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และมีราคาสูงกว่าอาหารปกติอยู่แล้ว 

ราคาหุ้นในบริษัท plant based หลายรายก็หดตัวลงไปด้วย ซึ่งไม่ใช่แค่  plant based แต่ยังรวมถึงหุ้นเทคโนโลยี หุ้นต่างประเทศ หุ้นไทย คริปโต คือร่วงกันหมด 

แต่ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม และเทรนด์ดูแลสุขภาพ จะยังคงอยู่ต่อไป ดังนั้น  plant based food จึงน่าจะยังไปต่อในอนาคตได้อีกยาวๆ 

ที่มา : ABC, CNBC, The Guardian, Workpoint TODAY, เศรษฐา ทวีสิน, Greenpeace

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า