SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมการแพทย์แผนไทยฯ ยืนยัน “กัญชา”ทางการแพทย์แผนไทยมีความปลอดภัย มีการควบคุมทั้งการผลิตและการรักษาคนไข้ ตามหลักวิชาการและภายใต้จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หลังพ้นยาเสพติด ยาเหล่านี้ยังอยู่ภายใต้มาตรการเพื่อความปลอดภัยแก่ประชาชนอย่างแท้จริง

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข เดินหน้าใช้กัญชาทางการแพทย์แผนไทย ชี้ต้องมีมาตรฐานทั้งการปลูก การผลิต และการรักษาผู้ป่วยยังมีแพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ตรวจวินิจฉัย และสั่งจ่ายยา ในคลินิกกัญชาทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ กว่า 1,200 แห่ง ผลักดัน ยากัญชาแผนไทยเข้าบัญชียาหลักกว่า 44 รายการ บรรจุในบัญชียาหลักแล้ว 5 รายการ มีการใช้ยาอย่างปลอดภัยแก่ผู้ป่วย ซึ่งมีแนวโน้มสร้างประโยชน์ด้านสุขภาพให้กับประชาชนได้

นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า หลังปลดล็อกกัญชา อาจทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าจะเกิดการใช้กัญชาทางการแพทย์แผนไทยแบบไม่ปลอดภัย ทุกขั้นตอนของการรักษาคนไข้ด้วยกัญชาทางการแพทย์แผนไทยเรายังให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของพืชสมุนไพร ผลิตภัณฑ์ยา และต้องคำนึงถึงความปลอดภัยแก่คนไข้เป็นอันดับแรก โดยเริ่มจากการปลูกกัญชาที่ต้องนำมาผลิตยานั้นต้องเป็นไปตามกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานมีคุณภาพปลอดภัยตามมาตรฐานสินค้า GAP กระทรวงสาธารณสุขเองไม่ได้ละเลยหรือย่นย่อต่อมาตรฐานนี้

ส่วนบุคลากรแพทย์แผนไทย หรือแพทย์แผนไทยประยุกต์ที่ต้องตรวจ วินิจฉัย และสั่งจ่ายยากัญชา ถึงแม้แพทย์แผนไทยเหล่านี้จะมีองค์ความรู้ในเรื่องยา เรื่องสมุนไพรดีแล้ว แต่ทางกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ยังมีการจัดอบรมแก่บุคลากรเหล่านี้ และมีการทดสอบความรู้เพื่อให้มั่นใจได้ว่าหมอแผนไทยจะสามารถตรวจวินิจฉัย และจ่ายยาได้อย่างปลอดภัย และตรงกับอาการโรคของผู้ป่วย ส่วนความกังวลในกรณีใช้เพื่อการสันทนาการโดยอ้างข้อบ่งใช้ทางการแพทย์นั้น พบว่าตำรับยากัญชาทางการแพทย์แผนไทยที่นำมาใช้ในการรักษา มีสัดส่วนของน้ำหนักช่อดอกกัญชาในตำรายาส่วนใหญ่ไม่เกินร้อยละ 5 คือตั้งแต่ร้อยละ 1.35 ถึงร้อยละ 24.69 และในตำรับที่มีน้ำหนักกัญชามากที่สุดคือร้อยละ 24.69 ก็มีพริกไทยเป็นส่วนประกอบอยู่ถึงร้อยละ 50 จึงไม่สามารถนำมาไปใช้เพื่อการสันทนาการโดยอ้างข้อบ่งใช้ทางการแพทย์แผนไทยได้แน่นอน

อีกอย่างที่ต้องยืนยันให้ทุกฝ่ายเข้าใจคือ กัญชาเป็นมรดกทางภูมิปัญญา ของไทย ทุกส่วนของกัญชาทั้ง ราก ใบ กิ่ง ก้าน ลำต้น ช่อดอกและเมล็ด นำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งเป็นยา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ซึ่งมีบันทึกในตำราตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ว่าช่วยให้นอนหลับ เจริญอาหาร ลดอาการปวดและเมื่อเข้าตำรายาร่วมกับสมุนไพรอื่นจะช่วยทำให้มีสรรพคุณอีกหลากหลายกลุ่มอาการที่ใช้ตามองค์ความรู้ทางการแพทย์แผนไทย เช่น กลุ่มอาการ นอนไม่หลับ ช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงร่างกาย แก้ไข้ แก้ปวดกล้ามเนื้อ แก้ปวดท้อง แก้ไอ ฯลฯ และการรักษาผู้ป่วยโดย แพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ บุคลากรเหล่านี้ดำเนินการโดยมีข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทยว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2557 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบำบัดโรคและรักษาสุขภาพให้กับคนไข้อยู่แล้ว ดังนั้นจึงมั่นใจได้ทั้งหลักวิชาการและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ

ตำรับยากัญชาทางการแพทย์แผนไทยได้นำมาพัฒนาต่อยอดเพื่อให้เกิดประโยชน์กับปัญหาสาธารณสุขในปัจจุบัน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้กลั่นกรองตำรับยากัญชาตามภูมิปัญญาทั้งจากตำรายาชาติและตำรับของ หมอพื้นบ้านมีการประกาศให้ใช้ได้ตามกฎหมายแล้ว 44 ตำรับ เป็นตำรับที่มีข้อบ่งชี้ชัดเจน ผ่านกระบวนการศึกษาวิจัย

การผลิตตำรับยาโดยแหล่งผลิตยาโรงพยาบาลมาตรฐาน WHO-GMP 7 แห่ง ที่ต้องควบคุมคุณภาพการผลิต ตรวจการปนเปื้อนโลหะหนักและยาฆ่าแมลง ตรวจปริมาณสารออกฤทธิ์ที่สำคัญ ผลิตตามมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา นำมาจ่ายให้กับผู้ป่วยโดยผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยที่ผ่านการอบรมความรู้การใช้ยากัญชาทางการแพทย์กว่า 8,000 ราย ทั่วประเทศกระจาย ในคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทยของหน่วยบริการสาธารณสุขสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกระดับ รวมกว่า 1,200 แห่ง มีการติดตามการใช้และรายงานในระบบรายงานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พบว่ามีประสิทธิผลและความปลอดภัยสูง จนได้รับการบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพรแล้ว 5 รายการ คือ ตำรับยาศุขไสยาสน์ ตำรับยาทำลายพระสุเมรุ ตำรับยาแก้ลมแก้เส้น ยาน้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา ) และน้ำมันกัญชาทั้ง 5

นพ.ยงยศ กล่าวว่า นอกจากยากัญชา 44 ตำรับแล้ว ยังมีตำรับอื่นๆ อีกหลายตำรับทั้งที่เป็นตำรับยาของชาติ ยาปรุงเฉพาะรายซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพปรุงให้กับผู้ป่วยแต่ละราย ต้องมีความรู้ในด้านโครงสร้างตำรับยาไทย ต้องมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของกัญชา เช่น เมื่อผ่านความร้อน หรือผสมกับยาตัวอื่นสารสำคัญจะเปลี่ยนไปหรือไม่อย่างไร ต้องมีแหล่งความรู้อ้างอิง หรือมีความสอดคล้องกับเกณฑ์การตั้งสูตรตำรับตามองค์ความรู้การแพทย์แผนไทย มีการตรวจวินิจฉัยคนไข้ตามหลักวิชาการ และสอบถามอาการคนไข้จึงจะปรุงยาเฉพาะรายได้ตรงกับโรคของผู้ป่วยจึงมั่นใจได้ถึงความปลอดภัยและที่เรายังจะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง คือการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพผ่านเครือข่ายสุขภาพในระดับชุมชน ส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก ในหน่วยบริการสาธารณสุขทุกระดับ โดยในวันที่ 15 มิถุนายน 2565 เวลา 10.00 -16.00 น. ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ (ติดกับโรงแรมมิราเคิล) มีการจัดงานเดินหน้ากัญชาเสรี แก้เจ็บแก้จน และ การอบรมเรื่องการเพาะปลูก และการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และการส่งออก เพื่อให้ความรู้ประชาชนเรื่องกฎหมาย เรื่องการปลูก การใช้กัญชาเพื่อสุขภาพ ซึ่งรับชมได้ทาง เฟซบุ๊กไลฟ์กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า