SHARE

คัดลอกแล้ว

แม้กัญชาจะถูกปลดล็อกจากบัญชียาเสพติดให้โทษแล้ว แต่ยังมีการควบคุมสารสกัดที่มี THC เกินกว่าร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก เนื่องจากสาร THC ในกัญชาเป็นสารออกฤทธิ์ต่อสมองซึ่งหลังการใช้ 1-3 ชม. จะทำให้ร่างกาย อารมณ์ และจิตใจเปลี่ยนแปลงไป โดยอาการผิดปกติที่พบบ่อย คือ ง่วงนอนมากกว่าปกติ, ปากแห้ง, คอแห้ง, วิงเวียนศีรษะ และคลื่นไส้อาเจียน

กระทรวงสาธารณสุขได้เทียบปริมาณสาร THC จากกัญชา เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะส่งผลต่อระบบจิตประสาท โดยสาร THC ปริมาณ 2-5 mg เทียบเท่ากับกัญชา 6 ใบ จะมีอาการดังนี้

อาการกดประสาท :
• <1mg รู้สึกสบาย สงบสุขคนเดียวได้
• 2-5 mg ง่วง อยากนอน ไม่มีแรงจูงใจทำอะไร
• 5mg ขึ้นไป หลับลึกไม่ค่อยรู้ตัว

อาการกระตุ้นประสาท :
• <1mg กระชุ่มกระชวย สมาธิดี ไม่หิวไม่เหนื่อย
• 2-5 mg กระสับกระส่าย กลัว ตื่นตระหนก
• 5mg ขึ้นไป หัวใจเต้นเร็วมาก อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นมาก

อาการหลอนประสาท :
• <1mg เคลิ้ม ฝันกลางวัน
• 2-5 mg วิตกกังวล กลัว ไม่ออกไปไหน
• 5mg ขึ้นไป ยิ้ม พูดคนเดียว หูแว่ว ระแวง

6 กลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังการใช้ ‘กัญชา’ คือ
• เด็ก อายุต่ำกว่า 20 ปี อาจเกิดภาวะเสพติดได้
• ผู้สูงอายุ
• หญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร ผู้วางแผนจะมีบุตร
• มีโรคประจำตัว เช่น ตับ, ไตบกพร่อง, โรคหัวใจและหลอดเลือด
• ผู้ที่ใช้ยาวาร์ฟาริน-ยาละลายลิ่มเลือดเป็นประจำ
• ผู้ป่วยจิตเวช ผู้ใช้ยาที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา) พ.ศ.2565

โดยที่พิจารณาเห็นว่า กัญชา เป็นสมุนไพรที่มีค่าต่อการศึกษาหรือวิจัย มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองและส่งเสริมการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 44 มาตรา 45 (3) และ (5) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำของคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้กัญชา หรือสารสกัดจากกัญชา ซึ่งเป็นพืชในสกุล Cannabis เป็นสมุนไพรควบคุม

ข้อ 2. อนุญาตให้ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปสามารถครอบครอง ใช้ประโยชน์ ดูแล เก็บรักษา ขนย้าย จำหน่ายสมุนไพรควบคุมตามข้อ 1 ได้ ยกเว้นการกระทำดังต่อไปนี้

(1) การใช้ประโยชน์ในที่สาธารณะโดยการสูบ

(2) การใช้ประโยชน์กับสตรีมีครรภ์หรือสตรีให้นมบุตร

(3) การจำหน่ายให้กับผู้ที่มีอายุต่ำกว่ายี่สิบปี สตรีมีครรภ์หรือสตรีให้นมบุตร

ข้อ 3 อนุญาตให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนจีน และหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย สามารถใช้ประโยชน์จากสมุนไพรควบคุมตามข้อ 1 ให้กับผู้ป่วยของตน

ข้อ 4 อนุญาตให้ผู้ป่วยตามข้อ 3 สามารถครอบครอง ขนย้าย ดูแล เก็บรักษา ใช้ประโยชน์ในปริมาณที่จ่ายให้สำหรับการใช้ประโยชน์เป็นเวลา 30 วัน

ข้อ 5 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า