SHARE

คัดลอกแล้ว

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. ร่วมวงพูดคุยกับสมาคมไทยสตาร์ทอัพ เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. ที่ผ่านมา แชร์มุมมองที่น่าสนใจต่อสตาร์ทอัพ ซึ่งถือเป็นขาสำคัญนอกเหนือจากภาครัฐ ที่จะช่วยพัฒนาเมือง พัฒนาคุณภาพชีวิต และยังพูดคุยเรื่องแง่คิดการทำงาน การพัฒนาคน พัฒนาเมือง 

[ สตาร์ทอัพ ช่วยเปลี่ยนกรุงเทพฯได้ ]

ในมุมมองของคุณชัชชาติมองว่า สตาร์ทอัพ จะต้องมีการ disrupt หรือเปลี่ยนวิธีการทำงานเดิมๆ ยกตัวอย่าง ทราฟฟี่ฟองดูว์ (Traffy Fondue) โครงการทีมชัชชาติ ที่เปลี่ยนการร้องเรียนแบบเดิม ให้มาร้องเรียนผ่านแพลตฟอร์มที่เป็นตัวกลางระหว่างประชาชน กับรัฐ

ทราฟฟี่ฟองดูว์ ยังแสดงให้เห็นพลังของ Open Data ว่าถ้าเรามองเห็นความคืบหน้าของการทำงาน มันจะช่วยให้หน่วยงานมี productivity เพิ่มขึ้นได้จริง ติดตามได้ ตรวจสอบได้ 

สตาร์ทอัพก็ใช้แนวคิดคล้ายๆ กัน การ disrupt เป็นพลังของสตาร์ทอัพที่จะมอบให้ได้ ดังนั้นจึงเชื่อว่า สตาร์ทอัพ จะใช้พลังนี้ ช่วยเปลี่ยนกรุงเทพได้ 

[ รัฐต้องให้อิสระสตาร์ทอัพในการคิดต่อยอด ]

แต่ในขณะเดียวกัน ภาครัฐก็ไม่ควรไปยุ่งกับสตาร์ทอัพมาก เพราะรัฐกับสตาร์ทอัพ อยู่กันคนละ culture รัฐต้องทำตามกฎ แต่สตาร์ทอัพ ห้ามทำตามกฎ 

เพราะการ disrupt อะไรบางอย่างเราทำตามกฎไม่ได้ ดังนั้นจึงมีจุดที่ต้องระวัง ถ้าภาครัฐลงมาโปโมทสตาร์ทอัพแบบจริงๆ จังๆ

หน้าที่ของรัฐ หรือในที่นี้คือ กทม. ก็จะมีแค่ ให้โจทย์สตาร์ทอัพนำไปคิดต่อเท่านั้น  

แต่ถ้าสตาร์ทอัพต้องทำงานกับ กทม. เข้าจริงๆ ก็ต้องทำความเข้าใจเงื่อนไขของทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะฝั่งรัฐอย่าง กทม. ที่มีระเบียบในการใช้งบประมาณ และเป็นระเบียบที่ฝ่าฝืนไม่ได้ 

สตาร์ทอัพ จึงอาจต้องเริ่มจากการศึกษากฎระเบียบก่อนว่า เราจะผลิตโซลูชั่นอะไร แก้ปัญหาให้ประชาชนได้อย่างไร และจะเข้าระบบจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐอย่างไรให้ถูกกฎหมาย 

สตาร์ทอัพในระบบปกติ ล้มเหลวได้ ลุกใหม่ได้ แต่ถ้าเป็นสตาร์ทอัพที่ทำงานกับรัฐนั้นจะต่างออกไป เพราะการใช้งบประมาณของรัฐ ล้มเหลวไม่ได้

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น รัฐต้องให้ความไว้ใจเอกชนและสตาร์ทอัพ เพราะมีวัฒนธรรมต่างกัน  รัฐจึงต้องเพิ่มความเชื่อใจให้มากขึ้นด้วย 

เมื่อถามว่า ธุรกิจไหนที่จะถูก disrupt ได้ง่าย คุณชัชชาติมองว่าเป็นธุรกิจที่มี margin สูงแต่คุณภาพยังไม่ดี เช่น เฮลท์แคร์ การศึกษา การจัดการขยะ เป็นสามส่วนที่ใช้งบประมาณรวมกันกว่า 18,000 ล้านบาท แต่คุณภาพยังไม่ดีเท่าที่ควร พวกนี้แหละ จะถูก disrupt ได้ง่ายมาก

[ คุณภาพชีวิตที่ดี = อีโคซิสเต็มสตาร์ทอัพที่ดี ]

ส่วนวิสัยทัศน์ต่อการพัฒนาเมือง ใครที่ติดตามคุณชัชชาติ มาตลอดจะรู้ว่า เขาให้ความสำคัญกับพื้นที่สาธารณะ และคุณภาพชีวิตที่ดี 

แต่คุณภาพชีวิตที่ดีในเมือง เกี่ยวข้องกับอีโคซิสเต็มของสตาร์ทอัพยังไง

คุณชัชชาติย้ำวิสัยทัศน์นี้ว่า ถ้าเราทำ กทม. ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ก็จะดึงให้คนเก่งยังอยู่กับเรา เพราะคนเก่งเลือกได้ ว่าจะไปอยู่ที่ไหน ถ้าเมืองดี สมองก็ไม่ไหล ซึ่งจะช่วยให้อีโคซิสเต็มของสตาร์ทอัพดีขึ้นไปด้วย 

[ ประชาธิปไตยในองค์กรสำคัญมาก ]

อีกคำถามน่าสนใจในวงเสวนา คือการปรับวัฒนธรรมองค์กร ภาวะผู้นำองค์กรที่ดีควรเป็นอย่างไร 

ซึ่งคำแนะนำของคุณชัชชาติ ก็เรียบง่าย และน่าจะเป็นเรื่องที่ทุกคนรู้แก่ใจแล้ว 

 “ถ้าคุณเป็นผู้นำ อยากให้ลูกน้องขยัน คุณก็ต้องขยันมากกว่า คุณอยากให้ลูกน้องฉลาด คุณก็อ่านหนังสือ แสดงความเป็นผู้นำด้วยการแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่าง (Lead by Example)”

คุณชัชชาติแชร์ให้ฟังด้วยว่า ส่วนตัวชอบปรัชญาของ Ray Dalio ผู้เขียนหนังสือ  Principles บอกว่า มีอะไรห้ามเก็บไว้ในใจ ให้พูดออกมา และรับฟังกัน ซึ่งปรับใช้ในองค์กรได้ และเป็นกุญแจสำคัญของสตาร์ทอัพได้เลย

เพราะถึงที่สุดแล้ว ต่อให้การเมืองข้างนอกเป็นประชาธิปไตยมากแค่ไหน ก็อาจไม่สำคัญเท่าประชาธิปไตยในบริษัท ถ้าคุณไม่เคยฟังลูกน้องเลย ก็ไม่เกิดผลอะไร

หรือต่อให้การเมืองข้างนอกเผด็จการ แต่ถ้าข้างในองค์กร คุณฟังลูกน้องมากพอ ก็น่าจะช่วยให้สร้างโปรดักต์ดีๆ ตอบโจทย์ลูกค้าออกมาได้ดีกว่า

สุดท้าย คุณชัชชาติ ฝากฝังถึงสตาร์ทอัพว่า ถ้าอยากช่วยเปลี่ยน กทม. เรื่องอะไรบ้าง ติดต่อเข้ามาได้เลย คิดนอกกรอบให้มากๆ แล้วคำตอบที่ดีจะออกมาเอง

ที่มา : https://www.facebook.com/chadchartofficial/videos/559977592335602 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า