SHARE

คัดลอกแล้ว

สธ.แถลงความคืบหน้าเฝ้าระวังโอไมครอนพันธุ์ย่อย BA.4 – BA.5 ยอดติดเชื้อในไทย 181 ราย พบเชื้อหลบภูมิเก่งขึ้น แนวโน้มติดได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้

วันนี้ (24 มิ.ย. 2565) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แถลงความคืบหน้าการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 พบโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 – BA.5 ว่า โอมิครอนมีสายพันธุ์ย่อยที่น่ากังกวล คือ BA.2.12.1 , BA.2.9.1 , BA.2.11 , BA.2.13 และ BA.4 – BA.5 แต่ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษสายพันธุ์ย่อย BA.4 – BA.5 เพราะมีการกลายพันธุ์ในตำแหน่ง L452R ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับสายพันธุ์เดลตา เชื้อจะทำให้เกิดอันตรายกับปอดมากขึ้น และมีความกังวลว่าโอมิครอน BA.4 – BA.5 จะแพร่เร็ว และมีความรุนแรงเหมือนกับสายพันธุ์เดลตา

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกจัดกลุ่มโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่ต้องจับตาว่าเป็น VOC lineages under monitoring ที่มีแนวโน้มทำให้มีการแพร่เป็นคลัสเตอร์ใหญ่ สามารถติดเชื้อได้แม้ว่าฉีดวัคซีนหรือเคยติดเชื้อมาแล้ว จากการวิเคราะห์ในช่วง 2 สัปดาห์ โอมิครอนสายพันธุ์อื่นๆ มีการติดเชื้อลดลง แต่  BA.5 มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นจาก 16% เป็น 25%

  • ไทยติดโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 – BA.5 เพิ่มขึ้น 50%

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า สำหรับประเทศไทยพบสายพันธุ์ BA.4 – BA.5 ตั้งแต่เดือน เม.ย.ที่ผ่านมา มีการเฝ้าระวังมาอย่างต่อเนื่องจนถึงขณะนี้มีการตรวจแบบเร็ว มีผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ย่อยแล้วจำนวน 181 ราย ส่งรายงานเข้าไปยัง GISAID แล้ว สรุปคร่าวๆ สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย คือ มีการพบสายพันธุ์ย่อย BA.4 – BA.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ 72.7% เป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ อีก 27.3% เป็นการติดเชื้อในประเทศ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ถึงจะเห็นว่า แนวโน้มการระบาดของสายพันธุ์นี้ในประเทศไทยรุนแรงแค่ไหน ขณะนี้ยังไม่มีใครฟันธงได้ว่าจะรุนแรงกว่าเดิมหรือไม่

“คนที่เคยติดเชื้อโอมิครอน BA.1 – BA.2 มาก่อน สามารถติดเชื้อ BA.4 – BA.5 ซ้ำได้ ผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนเมื่อติดโอไมครอน BA.5 ภูมิคุ้มกันที่จะสู้กับเชื้อลดลงไปมาก 6-7 เท่า ส่วนผู้ที่ฉีดวัคซีน ภูมิคุ้มกันที่จะสู้กับเชื้อลด 1-2 เท่า ถ้าฉีดวัคซีนและภูมิคุ้มกันในร่างกายสูงมากพอจะสู้ได้มากกว่าคนไม่ฉีดวัคซีน การรับวัคซีนเข็มกระตุ้นยังจำเป็น เพราะช่วยให้มีภูมิคุ้มกันมากพอ ช่วยลดความรุนแรงและอาการต่างๆ และมีมาตรการป้องกันตัวเองอย่างเหมาะสม” อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า