SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาโรคซึมเศร้าจนนำไปสู่การฆ่าตัวตายในระดับที่น่ากังวล ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าในปี 2564 มีคนไทยอย่างน้อย 1.5 ล้านคนป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และมีผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาเพียง 28 คน จากจำนวน 100 คน ที่น่ากังวลคือมีสถิติผู้พยายามฆ่าตัวตายอยู่ที่ 6 คนต่อชั่วโมง และ 70% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

จากข้อมูลนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงร่วมกับกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ในการพัฒนานวัตกรรม เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการรักษาได้ง่ายขึ้น โดย รศ.พญ.โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะแสดงลักษณะอาการของโรคออกมาผ่านทั้งน้ำเสียง คำพูด และการแสดงออกทางสีหน้า จึงเป็นที่มาของการพัฒนาDetection and Monitoring Intelligence Network for Depression (DMIND) เพื่อคัดกรองผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า

แอปพลิเคชัน DMIND นับเป็นมิติใหม่การให้คำปรึกษาผู้ประสบปัญหาโรคซึมเศร้าที่จะสามารถคัดกรองผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าได้อย่างแม่นยำและเข้าถึงง่าย ใช้สะดวก ช่วยลดภาระแพทย์และนักจิตวิทยาในการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากความร่วมมือของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และบริษัท Agnos Health

วิธีใช้ ‘DMIND’ ตรวจสุขภาพใจ

  1. ดาวน์โหลดสามารถเข้าถึง DMIND ได้ทาง https://bit.ly/DMIND_3
    DMIND จะเชื่อมต่อกับช่องทางการสื่อสารของ ‘หมอพร้อม’
  2. เข้าแอปพลิเคชัน Line ‘หมอพร้อม’ กดลิงก์เพื่อเพิ่มเพื่อน https://bit.ly/2Pl42qo
  3. เลือกเมนู คุยกับหมอพร้อม (Chatbot)
  4. เลือกเมนู ตรวจสุขภาพใจ
  5. เริ่มทำแบบทดสอบ การแสดงออกทางหน้าตา, น้ำเสียง และตอบคำถามจากข้อความคุณลักษณะเฉพาะ (Text feature)

ระบบปัญญาประดิษฐ์จะทำการประเมินลักษณะภาวะซึมเศร้าออกมาเป็นคะแนน 3 ระดับ ได้แก่

  1. ระดับปกติ สีเขียว หมายถึง ยังอยู่ในภาวะปกติ
  2. ระดับกลาง สีเหลือง หมายถึง มีภาวะซึมเศร้า นักจิตวิทยาจะติดต่อกลับเพื่อให้คำปรึกษาภายใน 7 วัน
  3. ระดับรุนแรง สีแดง หมายถึง ภาวะซึมเศร้ารุนแรง นักจิตวิทยาจะติดต่อกลับภายใน 1-24 ชั่วโมง

รศ.พญ.โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงข้อดีของแอปพลิเคชัน DMIND ว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดข้อแรกคือ ประชาชนต้องเข้าถึงได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ คนที่ไม่คุ้นเคยกับการใช้งานแอปพลิเคชัน ข้อสองคือ ต้องให้ความรู้สึกสบายใจกับผู้ใช้งาน มีอิสระที่จะพูด จากที่เคยทดลองนำไปใช้ บางครั้งคนไข้ที่ดูเหมือนจะปกติแล้วหรือมีอาการซึมเศร้าเล็กน้อยเมื่อมาพบแพทย์ พอให้มานั่งคุยกับแอปพลิเคชัน DMIND ซึ่งเป็นลักษณะอวตาร์ (คุณหมอพอดี) คนไข้จะมีอาการพรั่งพรู และเผยความในใจออกมาโดยไม่รู้ตัวและไม่มีกำแพง จนทำให้เราได้ข้อมูลที่มันลึกจริงๆ มาเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์ในการรักษา ซึ่งตอนแรกเราก็กลัวว่าคนไข้จะยอมเปิดใจกับเทคโนโลยีหรือเปล่า แต่พอมาลองใช้จริงแล้ว ผลลัพธ์ออกมาดีมากๆ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า