SHARE

คัดลอกแล้ว

ปลัดมหาดไทย สั่งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ ช่วยเหลือผู้ปกครองฐานะยากจนหาชุดลูกเสือ-เนตรนารีให้บุตรหลาน

จากกรณี เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 65 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะรองประธานกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ เปิดเผยถึงการประชุมคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. ที่ผ่านมา ที่กระทรวงศึกษาธิการ จัดโดยสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ได้พิจารณาเรื่องภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองในช่วงสภาพการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันที่อาจส่งผลต่อการจัดหาชุดเครื่องแบบให้กับบุตร เพื่อใช้ในการเรียนลูกเสือ-เนตรนารี

“การแต่งกายด้วยชุดลูกเสือและเนตรนารี เป็นการปลูกฝังความรัก ความภาคภูมิใจในความเป็นลูกเสือและเนตรนารีอีกทั้งชุดลูกเสือเป็น “เครื่องแบบพระราชทาน” จากพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดาแห่งกิจการลูกเสือไทย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการปลูกฝังอุดมการณ์ลูกเสือและเนตรนารี จึงได้สั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดในฐานะประธานกรรมการศึกษาธิการจังหวัด ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และสถานศึกษา หากพบว่าผู้ปกครองรายใดมีฐานะยากจนขัดสน ไม่สามารถดำเนินการจัดหาชุดลูกเสือและเนตรนารีให้แก่บุตรได้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ร่วมกับประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด ระดมสรรพกำลังภาคีเครือข่ายในพื้นที่จังหวัด ให้การสนับสนุนช่วยเหลือ จัดหาชุดเครื่องแบบลูกเสือ-เนตรนารีให้กับนักเรียนรายนั้นๆ โดยหากเกินความสามารถของจังหวัด ขอให้ได้แจ้งมาที่ปลัดกระทรวงมหาดไทยทราบ เพื่อระดมสรรพกำลังในส่วนกลางพิจารณาให้การสนับสนุนต่อไป” นายสุทธิพงษ์ ระบุ

ปลัดกระทรวงมหาดไทย ระบุด้วยว่า วิชาลูกเสือ-เนตรนารี เป็นวิชาพื้นฐานที่สำคัญในการปลูกฝังอุดมการณ์ความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ อันเป็นสถาบันหลักของชาติที่หลอมรวมความเป็นชาติไทย ความสมัครสมานสามัคคี ซึ่งเป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานที่สำคัญในการหล่อหลอมให้คนในชาติมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และทำให้บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรือง รอดพ้นจากเภทภัยทั้งปวง ทั้งยังก่อให้เกิดพลังในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ และเมื่อสังคมปราศจากความขัดแย้ง ก็จะเกิดความสงบสุข มีความสามัคคี รักใคร่ กลมเกลียว อันนำไปสู่ความผาสุกในสังคมไทยอย่างยั่งยืน

ด้าน สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา ส.ส.จังหวัดนครปฐม และรองโฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวว่า การอ้างเหตุผลดังกล่าวเพื่อนำไปสู่สภาพบังคับในระบบการศึกษาไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง เพราะเราอยู่ในยุคสมัยที่แตกต่างกัน โรงเรียนในเวลานั้นส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนหลวง หรือต่อมาแม้มีการศึกษาภาคบังคับแล้ว แต่ยังเป็นสิ่งใหม่ของสังคมไทยและในความเป็นจริงก็ยังเข้าถึงในวงจำกัดจึงสามารถจัดการศึกษาที่ฟรีตามกำลังได้

แตกต่างจากปัจจุบัน ที่ถึงแม้จะมีนโยบายเรียนฟรี 15 ปี แต่ผู้ปกครองทุกคนล้วนรับรู้ดีว่ามันไม่เคยเป็นจริงและยังมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มรวมเบ็ดเสร็จแล้วยังมากกว่าที่ได้รับยกเว้นเป็นเท่าตัว และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังวิกฤตโควิดและวิกฤตค่าครองชีพในปัจจุบันยิ่งทำให้เกิดภาวะยากจนเฉียบพลัน มีเด็กกำลังจะหลุดออกจากระบบการศึกษาจำนวนมากซึ่งควรเป็นเรื่องเร่งด่วนในการแก้ปัญหา แต่ภาครัฐกลับยังยึดติดอยู่กับเครื่องแบบที่ต้องใช้งบจัดหาและเป็นภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มให้ประชาชน

“หลักสูตรต่างๆควรปรับหรือเปลี่ยนให้สอดคล้องกับยุคสมัย คัดกรองในส่วนที่จำเป็นพื้นฐานให้เด็กๆได้เรียนรู้ เช่น การปฐมพยาบาล การรู้จักตัวเอง การเอาตัวรอดในสถานการณ์ฉุกเฉิน ส่วนวิชาลูกเสือซึ่งเป็นการนำกฎระเบียบและวินัยต่างๆเข้ามารวมถึงต้องมีเครื่องแบบเฉพาะด้วยนั้น ไม่ควรเป็นวิชาบังคับ ถ้าใครอยากเรียนก็ควรอยู่ในรูปแบบของวิชาเลือกก็เพียงพอแล้ว” รองโฆษกพรรคก้าวไกล กล่าว

สุทธวรรณ ยังย้ำด้วยว่า กรณีดังกล่าว ขัดแย้งกับที่นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวไว้ตอนต้นเดือนมิถุนายน 2565 ว่าได้มีหนังสือไปยังโรงเรียนต่างๆ ตั้งแต่ปี 2564 ให้ยืดหยุ่น หรืออนุโลมให้นักเรียนที่ไม่มีความพร้อม ไม่ต้องแต่งชุดลูกเสือ-เนตรนารี เต็มรูปแบบ แค่มีสัญลักษณ์ที่บ่งบอกได้ เช่น ผ้าพันคอ

หากยืดหยุ่นจริงดังที่รัฐมนตรีกล่าว เหตุใดจึงต้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด จัดหาชุดลูกเสือ-เนตรนารีด้วย นี่เป็นการใช้งบประมาณอย่างสิ้นเปลืองและไม่เกิดประโยชน์ จริงอยู่ว่าการจัดหาชุดให้เป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง แต่ด้วยสภาพการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน กระทบกันไปทุกหย่อมหญ้า จำนวนครอบครัวที่ไม่มีกำลังจ่ายค่าชุด ย่อมมีเป็นจำนวนมาก ตรงส่วนนี้จะใช้อะไรเป็นเกณฑ์ตัดสินว่าใครควรได้รับชุด ใครไม่ควรได้รับชุด ทำไมต้องให้มาคัดกรองความจนกันอีก บางคนชีวิตลำบาก แต่อาจไม่ผ่านเกณฑ์ ก็เป็นภาระเช่นเดิม ทางออกที่ดีคือ ไม่ต้องแต่งชุดลูกเสือ-เนตรนารีเต็มรูปแบบไปเลยจะดีกว่า เพราะความสำคัญของวิชาลูกเสือ-เนตรนารี อยู่ที่เนื้อหาวิชา ไม่ได้อยู่ที่เครื่องแบบ

“ขอเรียกร้องให้กระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ พิจารณาเรื่องนี้อีกครั้ง และขอคำตอบที่ชัดเจนจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ว่าตกลงยืดหยุ่นให้ใส่แค่ผ้าพันคอตามที่เคยพูดไว้จริงหรือไม่ ถ้าจริง ทำไมต้องมีให้ทุกจังหวัดจัดหาชุดให้นักเรียนที่ขาดแคลนอีก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นถึงเจ้ากระทรวงและเป็นหัวโต๊ะคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ควรมีความชัดเจนกว่านี้ ไม่ใช่ ศธ.พูดอย่าง มหาดไทยพูดอย่าง หรือเกียร์ว่างให้ผลาญงบกันเล่นๆ อย่าแกว่งไปแกว่งมา ควรคำนึงถึงหัวจิตหัวใจประชาชนที่กำลังลำบาก มากกว่าการยึดติดอยู่กับเครื่องแบบ” สุทธวรรณ ระบุ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า