SHARE

คัดลอกแล้ว

กทม. ตั้งคณะกรรมการยกร่าง ข้อบัญญัติกทม. เพิ่มค่าตอบแทน ‘พนักงานกวาด’ 28,122 ราย 

นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 11/2565 ซึ่งมีคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร คณะผู้บริหารสำนักสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย สำนักการแพทย์ สำนักงานเขตพระนคร และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมและวางแผน (WAR ROOM) ชั้น 35 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง ว่า วันนี้ที่ประชุมได้มีการรายงานในเรื่องต่าง ๆ อาทิ ความคืบหน้าการพิจารณาเพิ่มเงินค่าตอบแทนสำหรับพนักงานกวาด และแนวทางการเตรียมความพร้อมสำหรับสถานการณ์การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายหลังการผ่อนคลายมาตรการ

สำหรับความคืบหน้าการพิจารณาเพิ่มเงินค่าตอบแทนสำหรับพนักงานกวาด กทม.ได้จัดตั้งคณะกรรมการยกร่าง ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าตอบแทนบุคลากรที่ปฏิบัติงานเก็บและขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย และเงินพิเศษรายเดือนสำหรับพนักงานกวาด พ.ศ. …. เพื่อยกเลิกข้อบัญญัติฉบับเดิม คือ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่เก็บขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยและเอกชนที่รับชำระค่าธรรมเนียมเก็บขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยแทนกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2546 ที่ให้ค่าตอบแทนแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการเก็บขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยเท่านั้น โดยสาระสำคัญของ (ร่าง) ข้อบัญญัติกทม. เรื่อง ค่าตอบแทนฯ พ.ศ …. คือ เพื่อให้ค่าตอบแทนแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการเก็บขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย และพนักงานกวาด โดยจะมีการปรับสัดส่วนการจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการเก็บขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้สอดคล้องกับค่าธรรมเนียมเก็บและขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยอัตราใหม่ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าธรรมเนียมการให้บริการในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข พ.ศ. 2562 รวมถึงจะมีการกำหนดเงินพิเศษรายเดือนสำหรับพนักงานกวาด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาสัดส่วนที่เหมาะสม แล้วจึงเสนอร่างเพื่อพิจารณาตามลำดับต่อไป

ปัจจุบัน กทม.มีลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวทั้งสิ้น 28,122 ราย โดยเป็นลูกจ้างประจำ รวม 17,901 ราย แบ่งเป็นด้านเก็บขนมูลฝอย 7,489 ราย กวาด 6,029 ราย สวนสาธารณะ 3,492 ราย และสิ่งปฏิกูล 891 ราย และลูกจ้างชั่วคราว รวม 10,221 ราย แบ่งเป็นด้านเก็บขนมูลฝอย 3,710 ราย กวาด 3,811 ราย สวนสาธารณะ 2,096 ราย และสิ่งปฏิกูล 604 ราย

ทั้งนี้ ‘พนักงานกวาด’ จะมีบทบาทมากขึ้น โดยมีหน้าที่เป็น 1 ใน 5 มาตรการ ดูแลความปลอดภัยให้เด็กนักเรียนในพื้นที่กรุงเทพฯ ดังนี้

1. สำนักการจราจรและขนส่ง ดำเนินการตรวจสอบสภาพการใช้งานของกล้อง CCTV หากตรวจพบว่า มีสภาพชำรุด ภาพไม่ชัดเจน ให้เปลี่ยนกล้องให้มีความคมชัดและประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มจำนวนและตรวจสอบการติดตั้งไม่ให้ทิศทางของมุมกล้องเกิดช่องว่างของระยะมุมกล้อง เพิ่มประสิทธิภาพในการเฝ้าระวัง

2. ตรวจสอบไฟฟ้าส่องสว่าง ดำเนินการแก้ไขกรณีกิ่งก้านของต้นไม้ใหญ่โดยรอบรั้วโรงเรียนยื่นบดบังแสงสว่างจากโคมไฟฟ้าส่องสว่างและมุมกล้อง เพื่อให้แสงสว่างสามารถส่องถึงพื้นเบื้องล่างได้และไม่บดบังทิศทางของกล้อง CCTV

3. ฝ่ายเทศกิจจัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจตราบริเวณทางเดินรอบโรงเรียนรวมถึงบริเวณใกล้เคียง เวลา 05.00 – 06.00 น. ประสานงานตรวจตราร่วมกับ สน.ท้องที่

4. เจ้าหน้าที่รักษาความสะอาด ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ภายในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการช่วยดูแลด้านความปลอดภัยในพื้นที่นั้นๆ ให้ทางสำนักงานเขตจัดอบรมเจ้าหน้าที่เทศกิจและเจ้าหน้าที่งานรักษาความสะอาด โดยขอความร่วมมือจากสถานีตำรวจจัดส่งวิทยากรมาให้ความรู้ คำแนะนำ รวมไปถึงซักซ้อมแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครสามารถปฏิบัติงานภายในพื้นที่ได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ

5. เน้นย้ำการทำงานร่วมกันของทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยชี้ให้เห็นว่าการปราบปรามที่ดีที่สุดคือการป้องกัน รวมไปถึงการปรับสภาพแวดล้อมให้ไม่เป็นสถานที่เปลี่ยว ซึ่งผู้อำนวยการเขตเป็นแกนหลักในการสร้างความปลอดภัยให้เกิดขึ้นภายในพื้นที่

สำหรับจุดเสี่ยงภัยในพื้นที่กรุงเทพฯ มีจำนวน 463 จุด แบ่งเป็น 7 ประเภท ดังนี้ 1. บริเวณพื้นที่รกร้าง 12 แห่ง 2. อาคารร้าง 6 แห่ง 3. สะพานลอยคนข้าม 66 แห่ง 4. สวนสาธารณะ/สวนหย่อม 46 แห่ง 5. จุดอับ จุดมืด จุดอับสายตา 88 แห่ง 6. โรงเรียน – สถานศึกษา 64 แห่ง และ 7. อื่นๆ เช่น ถนน ตรอก ซอย เปลี่ยว ช่วงกลางคืน ฯลฯ 181 แห่ง โดยเจ้าหน้าที่เทศกิจจะตรวจจุดเสี่ยงและจุดตู้เขียว เพื่อป้องปรามไม่ให้เกิดอาชญากรรม สร้างความมั่นใจในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชน ตรวจสิ่งสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้าส่องสว่าง กล้องวงจรปิด (CCTV) ป้ายสัญญาณจราจรต่างๆ เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้สามารถใช้งานได้ ดูสภาพแวดล้อม เช่น ไม่ให้ต้นไม้บดบังแสงไฟ บดบังกล้องวงจรปิด (CCTV) และดูความสะอาดของพื้นที่ รวมถึงกำหนดให้มีตู้เขียวประจำจุดเสี่ยง และติดตั้งป่ายประชาสัมพันธ์เพื่อป้องกันอาชญากรรม

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า