SHARE

คัดลอกแล้ว

แพทย์จุฬาฯ เผยสมรรถนะโอไมครอน สายพันธุ์ย่อย BA.5 แพร่ไว ดื้อยา ย้ำประมาทไม่ได้ ขณะที่ล่าสุดพบเคสหญิงวัย 52 ปี ติดโควิด-19 ซ้ำ 3 ครั้ง 3 สายพันธุ์

โอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 อาจทำให้สถานการณ์โควิด-19 ของไทยเปลี่ยน ทำให้แนวโน้มผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจาก BA.4 และ BA.5 เป็นเชื้อสายพันธุ์ใหม่สามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการติดเชื้อตามธรรมชาติจากสายพันธุ์เดิมได้ดี

ล่าสุดนพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียูเฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ ประจำโรงพยาบาลวิชัยยุทธ เปิดเผยข้อมูลพบ ผู้ป่วยหญิงอายุ 52 ปี แข็งแรงดี มีโรคประจำตัว ปวดข้อ และมีผื่น แต่ไม่รุนแรง สงสัยเป็นโรคภูมิแพ้ตนเอง SLE กินยาสเตียรอยด์ เพรดนิโซโลน ขนาดต่ำ 5 มิลลิกรัมวันละครั้ง

วันที่ 18 เมษายน 2564 ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ครั้งแรก มีอาการแสบคอ ครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ ไอ เอกซเรย์สงสัยปอดอักเสบ ยืนยันด้วยการตรวจ RT-PCR SARS-CoV-2 ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ อาการดีขึ้น คาดเป็นเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตา

หลังจากติดเชื้อครั้งแรก ผู้ป่วยได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสโควิดทั้งหมด 3 เข็ม ซิโนแวค แอสตร้าเซเนกา และไฟเซอร์ เข็มสุดท้ายเดือนมกราคม 2565

วันที่ 31 มีนาคม 2565 ติดเชื้อไวรัสโควิดครั้งที่ 2 มีอาการแสบคอ ปวดเมื่อยตัว ไม่มีไข้ ไม่ไอ ยืนยันด้วยการตรวจ RT-PCR SARS-CoV-2 ไม่ได้กินยาต้านไวรัส หายเอง เป็นเชื้อไวรัสโควิดโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2

ต้นเดือนกรกฎาคม 2565 ติดเชื้อไวรัสโควิดครั้งที่ 3 มีอาการเจ็บคอ ปวดเมื่อยตัว มีน้ำมูกเล็กน้อย ไม่ไอ ไม่มีไข้ ยืนยันด้วยการตรวจ RT-PCR SARS-CoV-2 ไม่ได้กินยาต้านไวรัส กำลังดีขึ้น ครั้งนี้คงเป็นเชื้อไวรัสโควิดโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.5

นพ.มนูญ ระบุว่า ผู้ป่วยรายนี้เป็นผู้ช่วยพยาบาลทำงานที่ห้องฉุกเฉิน ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคโควิด-19 ตลอดเวลา และเนื่องจากกินยาสเตียรอยด์ ภูมิคุ้มกันไม่ดีเหมือนคนทั่วไป ทำให้ติดเชื้อแล้วติดเชื้ออีกถึง 3 ครั้ง แม้จะได้รับวัคซีนครบโดสและเข็มกระตุ้นแล้วก็ตาม หลังจากหายครั้งนี้ต้องให้วัคซีนเข็มกระตุ้นชนิด mRNA อีก 1 เข็ม

  • สมรรถนะโอไมครอน สายพันธุ์ย่อย BA.5

ด้าน นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยข้อมูลวิชาการแพทย์ถึงสมรรถนะของ Omicron (โอไมครอน) สายพันธุ์ย่อย BA.5 สรุปได้ดังนี้

1. BA.5 แพร่ไวกว่าโอไมครอนสายพันธุ์ก่อนหน้าอย่าง BA.1 และ BA.2 อย่างชัดเจน

2. แม้จะยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะบอกได้ว่า BA.5 จะมีความรุนแรงกว่าสายพันธุ์ก่อนหรือไม่ แต่ข้อมูลจากหลายประเทศทั่วโลกที่มีการระบาดมาก ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ในไอซียู และจำนวนการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น จึงต้องไม่ประมาท

3. BA.5 ดื้อต่อภูมิคุ้มกันมากกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมอย่าง BA.1 ถึง 7.5 เท่า

4. BA.5 ดื้อต่อยาแอนติบอดีที่ใช้ในการรักษา ทั้ง Cilgavimab, Casirivimab, และ Imdevimab

เมื่อทราบข้อมูลวิชาการ และหลักฐานเชิงประจักษ์เช่นนี้ ก็ย่อมทราบได้ว่า ที่เรากำลังเผชิญอยู่นั้นไม่ใช่ระลอกเล็กๆ มองรอบตัวจะเห็นคนจำนวนมากติดเชื้อกันรัวๆ ทั้งแบบเดี่ยว แบบกลุ่ม แบบครอบครัว และยกแผนกในที่ทำงาน มีทั้งที่รอดมาทุกซีซันแต่สุดท้ายมาโดนรอบนี้ หรือแม้แต่คนที่เคยติดเชื้อมาก่อนก็ติดเชื้อซ้ำ

การฉีดวัคซีนนั้น จำเป็นต้องฉีดเข็มกระตุ้นให้ครบอย่างน้อย 3 เข็ม ผู้ที่ฉีดเข็ม 3 ไปแล้วนานกว่า 4 – 5 เดือน หากต้องใช้ชีวิตพบปะคนอื่นในสังคม ต้องดูแล/รักษา/บริการ หรือเป็นผู้สูงอายุ หรือมีโรคประจำตัว ก็ควรพิจารณาฉีดเข็มกระตุ้นอีกครั้งเป็นเข็มที่ 4

การฉีดวัคซีนนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อลดโอกาสป่วยรุนแรงและเสียชีวิต แต่ไม่การันตี 100% แม้ฉีดวัคซีนไปแล้วก็ยังติดเชื้อได้ หากไม่ป้องกันตัวให้ดี และการติดเชื้อแต่ละครั้งย่อมเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรง เสียชีวิต และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะผิดปกติระยะยาวอย่าง Long COVID ซึ่งจะบั่นทอนคุณภาพชีวิต สมรรถนะในการดำเนินชีวิตประจำวันและการทำงาน รวมถึงเป็นภาระค่าใช้จ่ายทั้งต่อผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม

ที่มา

https://www.facebook.com/thiraw

https://www.facebook.com/profile.php?id=100066692243273

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า